ทางเลือกท้องไม่พร้อม

สิทธิทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม คือ หนึ่งในสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ที่กล่าวไว้ว่า

“สิทธิในการเลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่ ตามความพร้อมของร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ โดยไม่มีเงื่อนไขอุปสรรคจากศาสนา ประเพณี และกฏหมาย”

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคน มีสิทธิที่จะได้รับบริการดูแลทั้งด้านสุขภาพกายและใจ เช่น การตรวจตั้งครรภ์ การรับคำปรึกษา และการดูแลรักษาจากแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักสาธารณสุข โดยไม่มีการเลือกปฎิบัติ ไม่ว่าการตั้งครรภ์นั้นจะมีความพร้อมหรือไม่
โดยทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม มีสองแนวทางหลัก
คือ ตั้งครรภ์ต่อ และยุติการตั้งครรภ์

ทางเลือกของคนท้องไม่พร้อม ไม่ได้มีแค่ยุติฯ

0
ทางเลือกของคนท้องไม่พร้อม : ไม่ได้มีแค่ยุติการตั้งครรภ์แล้วมีทางเลือกอะไรบ้าง? มี 3 ทางเลือกหลักที่คุณสามารถพิจารณาได้ 1. ตั้งครรภ์ต่อและเลี้ยงดูบุตรเอง ขอรับการสนับสนุนจากครอบครัวหรือคนใกล้ตัว วางแผนเรื่องการเรียน การทำงาน ใช้สิทธิจากภาครัฐ เช่น ฝากครรภ์ฟรี สิทธิเรียนต่อ 2. ยกบุตรให้ผู้อื่นอุปการะ ดำเนินการได้ถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านกรมกิจการเด็กและเยาวชน เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่พร้อมเลี้ยงดูเอง แต่ไม่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ คุณสามารถเลือกได้ว่าจะติดต่อกับเด็กในอนาคตหรือไม่ 3. ยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน และสามารถปรึกษาฟรี ปลอดภัยกว่าการซื้อยาหรือใช้บริการที่ไม่มีมาตรฐาน ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online : https://abortion.rsathai.orgLine Official : @rsathaiInbox Facebook...

เพื่อนของฉันท้อง ฉันจะช่วยเขายังไงดี

0
บางครั้ง คนที่เรารู้จักไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พี่น้อง ลูกทีม หรือเพื่อนร่วมงาน  อาจมาบอกเราว่าเขากำลังท้องโดยไม่ตั้งใจ  คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือให้คำตอบที่สมบูรณ์แบบ  แค่ "อยู่ตรงนั้น" อย่างไม่ตัดสิน ก็มีค่ามากแล้ว จะช่วยเขาได้ยังไงบ้าง ฟังเขาให้จบก่อน อย่าพยายามสรุปแทน  สิ่งแรกที่เขาต้องการคือ “คนฟัง” ไม่ใช่ “คนตัดสิน” ถามเขาว่าต้องการความช่วยเหลือแบบไหน  บางคนแค่อยากเล่า  บางคนอยากรู้ข้อมูล  บางคนอยากให้พาไปหาที่ปรึกษา สนับสนุนเขาโดยไม่กดดัน  ไม่บอกว่า “ต้องเก็บไว้” หรือ “ต้องเอาออก”  เพราะสิ่งที่เขาต้องการ...

อยากปรึกษาแต่ไม่อยากให้ใครรู้ เริ่มจากตรงไหน

0
หลายคนรู้ตัวว่าท้องไม่พร้อมแต่ยังไม่พร้อมให้ใครรู้ หรือรู้สึกไม่ปลอดภัยพอจะพูดกับคนรอบตัวคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการ “เริ่มขอคำปรึกษาแบบไม่เปิดเผยตัวตน” มีดังนี้ Q: ไม่อยากให้ใครรู้เลย จะเริ่มปรึกษาได้ยังไง? A: เริ่มต้นง่ายที่สุดคือทักแชตไปที่ RSA Online คุณไม่ต้องใช้ชื่อจริง ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน และไม่มีค่าใช้จ่าย จะพิมพ์แค่ “คิดว่าท้องค่ะ” หรือ “ยังไม่แน่ใจ แต่กังวล” ก็ได้ Q: ถ้าไม่ใช้ชื่อจริง จะได้รับคำแนะนำจริง ๆ ไหม? A: ได้แน่นอน ทีมปรึกษาของ...

เจอแบบนี้ต้องเริ่มจากไหน? คู่มือเบื้องต้นของคนท้องไม่พร้อม

0
เมื่อรู้ตัวว่าท้องไม่พร้อม หลายคนรู้สึกตกใจ สับสน หรือไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน การเริ่มต้น “พูดกับใครสักคน” คือก้าวแรกที่สำคัญมากเพราะคุณไม่จำเป็นต้องแบกรับเรื่องทั้งหมดไว้คนเดียว 1. พูดคุยกับคู่ของคุณ หากคุณมีแฟนหรือคู่ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ครั้งนี้ การเริ่มคุยกันตรง ๆ คือจุดเริ่มต้นสำคัญ บอกเขาว่าคุณกำลังรู้สึกอย่างไร ฟังว่าเขารู้สึกอย่างไร เปิดโอกาสให้ทั้งสองคนมีส่วนร่วมในทางเลือกที่จะเกิดขึ้น การพูดคุยแบบไม่ตัดสินกัน จะช่วยให้คุณไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และช่วยให้การตัดสินใจเกิดขึ้นร่วมกัน 2. ปรึกษาคนที่คุณไว้ใจได้ หากคุณยังไม่พร้อมคุยกับคู่ ลองนึกถึงใครบางคนที่คุณไว้ใจได้ เช่น เพื่อนสนิท พี่สาว น้องชาย ครูแนะแนว หรือคนใกล้ตัวที่ฟังอย่างไม่ตัดสิน บางครั้งแค่ได้เล่าให้ใครสักคนฟัง ก็ช่วยให้คุณจัดการความรู้สึกของตัวเองได้ดีขึ้น และมองเห็นทางเลือกชัดขึ้น 3. ช่องทางปรึกษาที่ปลอดภัย ถ้ายังไม่กล้าคุยกับคนใกล้ตัว คุณสามารถเริ่มต้นปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ทันที โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนRSA Online...

ท้องไม่พร้อม ทำไงดี

0
เมื่อรู้ว่าท้องโดยไม่ตั้งใจ ความรู้สึกตกใจ สับสน หรือกลัว เป็นเรื่องปกติ และคุณ ไม่จำเป็นต้องเผชิญสิ่งนี้คนเดียว สิ่งสำคัญคือ ค่อย ๆ ประเมินสถานการณ์ของตัวเอง และหาข้อมูลที่ถูกต้อง ปลอดภัย เพื่อประกอบการตัดสินใจ ขั้นตอนแรกที่ควรทำ ตรวจให้แน่ใจว่า “ท้องจริงหรือไม่”  ใช้ชุดตรวจครรภ์หลังเมนส์ขาด 7 วันขึ้นไป  หากผลยังไม่ชัดเจน ตรวจซ้ำ หรือพบแพทย์เพื่อยืนยัน หาข้อมูลอย่างรอบด้าน  ท้องไม่พร้อมมีทางเลือกหลายทาง ข้อมูลที่รอบด้านจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ ขอคำปรึกษาจากแหล่งที่ไว้ใจได้ เช่น...

ทางเลือกของคนที่ท้องไม่พร้อมแต่ไม่อยากยุติการตั้งครรภ์

0
ไม่ใช่ทุกคนที่ท้องไม่พร้อมจะเลือกยุติการตั้งครรภ์ หากคุณต้องการเก็บลูกไว้หรือยังลังเล นี่คือทางเลือกที่สามารถพิจารณาได้ 1. เลี้ยงดูลูกด้วยตัวเอง ขอความช่วยเหลือจากครอบครัว คนใกล้ชิด หรือองค์กรสนับสนุนแม่วัยรุ่น วางแผนชีวิตใหม่ เช่น เรียนทางไกล ทำงานพาร์ทไทม์ เข้ารับบริการฝากครรภ์และตรวจสุขภาพทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ หาข้อมูลสวัสดิการ การช่วยเหลือจากภาครัฐ ทั้งการฝากครรภ์ และการเลี้ยงบุตร 2. ยกให้ผู้อื่นอุปการะ สามารถดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย เช่น สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนทั้งภาครัฐและเอกชน มีทั้งแบบเปิดเผยตัวตนและไม่เปิดเผย เหมาะกับคนที่ไม่พร้อมเลี้ยงดูแต่ไม่ต้องการทำแท้ง การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้คุณประเมินทางเลือกต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online : https://abortion.rsathai.orgหรือ Line Official...

ท้องไม่พร้อม…ในฐานะคนใกล้ชิด เราควรอยู่ข้างเขายังไง

0
เมื่อคนที่เรารักหรือห่วงใยกำลังเผชิญกับภาวะ “ท้องไม่พร้อม” หลายครั้งเรารู้สึกอยากช่วย อยากให้เขาตัดสินใจ “ถูก” แต่สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดอาจไม่ใช่คำแนะนำ แต่คือ พื้นที่ปลอดภัยและความเข้าใจ สิ่งที่ควรทำ ฟังโดยไม่ตัดสิน  ฟังเขาอย่างตั้งใจ ไม่เร่ง ไม่บังคับให้ตัดสินใจเร็ว ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง  แนะนำให้เขาเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือบริการที่ปลอดภัย เช่น RSA Online ถามว่าเขาต้องการความช่วยเหลือแบบไหน  บางคนต้องการแค่คนอยู่ข้าง ๆ ไม่ได้ต้องการคำตอบ ให้กำลังใจ และย้ำว่าเขาไม่จำเป็นต้องเผชิญคนเดียว  แสดงออกว่าเราจะอยู่ตรงนี้ ไม่ว่าทางเลือกของเขาคืออะไร สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง อย่าพูดว่า “ไม่ควรท้องตั้งแต่แรก” หรือ “บอกแล้วใช่ไหม” อย่าบีบบังคับให้เขาทำในสิ่งที่คุณคิดว่าดี อย่าคิดแทนว่าเขาควรยุติหรือควรเก็บไว้ การเป็น...

ท้องไม่พร้อม ทำไงดี

0
เมื่อรู้ว่าท้องโดยไม่ตั้งใจ ความรู้สึกสับสน วิตกกังวล หรือกลัว เป็นเรื่องปกติแต่สิ่งสำคัญคือ “คุณไม่จำเป็นต้องเผชิญสิ่งนี้เพียงลำพัง”ยังมีทางเลือกและหน่วยงานที่พร้อมช่วยเหลือคุณอย่างปลอดภัย 1. ตรวจให้ชัดเจนก่อนว่า "ท้องจริงหรือไม่" ใช้ชุดตรวจปัสสาวะแบบบ้าน หรือตรวจเลือดที่สถานพยาบาล หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที 2. ประเมินตัวเอง และขอคำปรึกษา คุณมีความพร้อมจะตั้งครรภ์ต่อหรือไม่ หากไม่พร้อม ควรพูดคุยกับบุคลากรที่เข้าใจ เช่น นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา หรือทีมแพทย์ 3. ทางเลือกหากท้องไม่พร้อม ตั้งครรภ์ต่อและเลี้ยงดูด้วยตนเอง ยกเด็กให้ครอบครัวอื่นอุปการะ ยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ภายใต้การดูแลของแพทย์และตามกฎหมาย สิ่งสำคัญคือ อย่าด่วนตัดสินใจเพียงลำพัง คุณมีสิทธิเลือกสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง และคุณมีสิทธิรับข้อมูลที่ถูกต้อง ปลอดภัย และไม่ถูกตัดสิน ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA...

แม่วัยรุ่นมีสิทธิ์เรียนต่อหรือไม่?

0
ใช่ แม่วัยรุ่น มีสิทธิ์เรียนต่อ ตามกฎหมาย โดยสถานศึกษาต้องไม่ปฏิเสธการให้โอกาสทางการศึกษากับนักเรียนที่ตั้งครรภ์ โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งต้องคุ้มครองสิทธิของแม่วัยรุ่นให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม กฎหมายและนโยบายที่คุ้มครองแม่วัยรุ่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้สิทธิทุกคนในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จัดให้มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษา ซึ่งตั้งครรภ์ ให้ได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีระบบ การส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ และการจัดสวัสดิการสังคม อย่างเหมาะสม   นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนนักศึกษาที่ตั้งครรภ์สามารถเรียนต่อในสถานศึกษาเดิมได้อย่างปกติ โดยไม่ถูกกดดันให้ออกจากสถานศึกษาเดิม เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของนักเรียนนักศึกษา ต้องจัดการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นสำหรับแม่วัยรุ่น สิทธิของแม่วัยรุ่นในระบบการศึกษา มีสิทธิ์กลับไปเรียนต่อในโรงเรียนเดิม หรือย้ายไปโรงเรียนได้ตามความสมัครใจ มีสิทธิ์เข้าร่วมการสอบและได้รับวุฒิการศึกษา มีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนจากสถานศึกษา เช่น หลักสูตรเรียนทางไกลหรือหลักสูตรเร่งรัด สถานศึกษาต้อง...

จะเลี้ยงลูกคนเดียวได้อย่างไร หากไม่มีคนช่วยเหลือ

0
ปรับตัวและวางแผนชีวิตหลังคลอด การเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวอาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่การวางแผนที่ดีจะช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น เช่น การจัดสรรเวลา ดูแลสุขภาพ และเตรียมแผนการเงิน ขอความช่วยเหลือจากแหล่งสนับสนุน แม้ว่าคุณอาจไม่มีคู่หรือครอบครัวช่วยเหลือโดยตรง แต่ยังมีองค์กรหรือหน่วยงานที่สามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือ เช่น กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว  ศูนย์ประสานงานแม่เลี้ยงเดี่ยวและครอบครัว  บริหารการเงินให้มั่นคง การมีลูกต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม การวางแผนการเงินล่วงหน้าจะช่วยลดความเครียด ควรตั้งงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายของลูกและหาทางเลือกที่ประหยัด เช่น การขอรับสิทธิประโยชน์จากรัฐ ดูแลสุขภาพจิตของตัวเอง การเลี้ยงลูกคนเดียวอาจทำให้รู้สึกเครียดและโดดเดี่ยว ควรหาเวลาพักผ่อน และมองหากลุ่มสนับสนุนที่ช่วยให้คุณไม่รู้สึกโดดเดี่ยว วางแผนอนาคตของลูก ควรเตรียมแผนด้านการศึกษาของลูก และหาทางเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณ เช่น การศึกษาฟรีหรือทุนการศึกษา คุณสามารถเลี้ยงลูกคนเดียวได้ แต่คุณจะไม่โดดเดี่ยว แม้จะเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่คุณสามารถสร้างเส้นทางของตัวเองได้โดยการวางแผน จัดการทรัพยากร และขอรับการสนับสนุนจากแหล่งช่วยเหลือที่มีอยู่ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
ฉันต้องการทำแท้ง
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย