ส่วนใหญ่เด็กเขาจะมาถาม เด็กจะไม่ได้ถามเจ้าหน้าที่นะ ทำให้ทุกคนต้องรับรู้หมดว่าคลินิกวัยรุ่น อยู่ตรงไหนและมีหน้าที่อะไร จุดเริ่มต้นตอนแรกมารับงานวัยรุ่นตั้งแต่ปี 53 ถูกมอบหมายให้รับผิดชอบงาน โดยไม่เข้าใจคำว่าคลินิกวัยรุ่นคืออะไร เราก็เข้าหาแพทย์ เข้าหาพี่ ๆ เขาก็เอ็นดู เราก็ทำงานมาเป็นทีมเรื่อยๆ จากแบบลักษณะของพี่กับน้อง
มีเด็กท้องขึ้นมา ที่จะต้องมีเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นงานฝากครรภ์ วางแผนครอบครัว งานสุขภาพจิต ตึกเด็ก ตึกหญิง ห้องคลอด รวมถึงระบบไอทีสารสนเทศ เรื่องสิทธิ งานประกันก็ต้องเกี่ยวข้อง พี่ยาม เวรเปล ก็คือเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญ เพราะว่าส่วนใหญ่เด็กเขาจะมาถาม เด็กจะไม่ได้ถามเจ้าหน้าที่นะ ทำให้ทุกคนต้องรับรู้หมดว่าคลินิกวัยรุ่นอยู่ตรงไหนและมีหน้าที่อะไร
เรื่องที่ยากที่สุด คือการสื่อสารในองค์กร เพราะว่ามีหลายลำดับชั้นมาก พอเครือข่ายข้างในเราได้แล้ว เริ่มตั้งคลินิกวัยรุ่นได้แล้ว เราถึงจะเริ่มออกข้างนอก อันนี้คือประเด็นในการไปสร้างเครือข่ายข้างนอก เราใช้เวลาในการฟอร์มทีมเครือข่ายภายในอยู่ประมาณ 2 ปี ถึงจะสำเร็จผลเป็นรูปเป็นร่าง
ปัญหาวัยรุ่นไม่ได้เป็นตัวปัญหาของสังคม แต่วัยรุ่นกำลังเผชิญปัญหาของสังคม เพราะฉะนั้นเรามีหน้าที่ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้เขา บุคลากรทางการแพทย์ของเราพร้อมนะในบางส่วน แต่สังคมต่างหากที่มีอิทธิพล ไม่ยอมรับหรือแอนตี้เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์จากกลุ่มคนข้างนอก แต่โชคดีที่เรามีเครือข่าย RSA มีเครือข่ายจากคุณหมอศรีสมัย ที่เราเคยส่งเคสออกไปข้างนอก ใจจริงหมออยากทำนะ มันก็อย่างที่พูดไปเพราะเราเคยมีบาดแผลอยู่ ในการที่จะทำอะไรมันก็ต้องระวังในส่วนของเรื่องตรงนี้
ที่มา : การสัมภาษณ์ คุณกฤตยา แดงขวัญทอง นักวิชาการสาธารณสุข คลินิกวัยรุ่นโรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพ ฯ