นโยบายกระทรวงสาธารณสุขกับการป้องกันและแก้ไขท้องไม่พร้อม และการยุติตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
นโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และสตรีวัยเจริญพันธุ์และการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยในประเทศไทย
ด้วยปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย นับวันจะทวีความรุนแรงสิ่งที่นำไปสู่ปัญหาสังคมและเป็นสาเหตุหลักของการป่วยและตายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อปัญหานี้ โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ ดังต่อไปนี้
ส่งเสริมค่านิยมทางวัฒนธรรม สังคม ทัศนคติ และบทบาททางเพศที่เหมาะสมของวัยรุ่นและประชากรวัยเจริญพันธุ์
ให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีแก่สังคมทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันให้ความช่วยเหลือสตรีที่ตั้งครรภ์
ไม่พร้อมทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งวัยรุ่นและเยาวชน
จัดให้มีระบบบริการสุขภาพทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ วางแผนครอบครัว และการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
มีคุณภาพ เป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่ายแก่วัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีแก่ผู้ให้บริการสุขภาพ พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน...
การขึ้นทะเบียนสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา
โรงพยาบาล สถานบริการ ที่ต้องการสมัครรับยา Medabon® ทางสปสช. กำหนดการขึ้นทะเบียนทุก 3 เดือน เพื่อรับยาผ่านระบบ Smart VMI รอบขึ้นทะเบียนต่อไปคือ มกราคม 2564
โรงพยาบาล สถานบริการต่างๆ ที่มีความพร้อมในการให้บริการยุติตั้งครรภ์โดยการใช้ยา สามารถแสดงความจำนงมายังกรมอนามัย โดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ตามแบบรายงานที่กรมอนามัยกำหนด
สนใจสมัครรับยา ให้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการกับกรมอนามัย โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขึ้นทะเบียน MTP-1 และ MTP-2 ได้ที่ http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=safe_abortion
ขั้นตอนการเข้าร่วมขึ้นทะเบียนของสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา
สถานพยาบาลต่างๆ...
เครือข่ายท้องไม่พร้อมและภาคี ยื่นหนังสือต่อ รมต.กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดจัดทำประกาศกระทรวงฯ เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกตาม ม.305 (5) พร้อม 4 ข้อเสนอ
วันนี้ (26 พฤษภาคม 2565) ที่สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม นำโดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ร่วมกับภาคีเครือข่าย องค์กรที่ทำงานกับผู้หญิง เด็ก เยาวชน และบุคคลหลากหลายทางเพศ ในด้านสิทธิ สุขภาพ ความเสมอภาคและความเป็นธรรม รวม 36 องค์กร ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง “การเร่งรัดจัดทำประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (5)...
การเบิกจ่ายยายุติการตั้งครรภ์ Medabon®
หลังจากได้รับการอนุมัติขึ้นทะเบียนรับยากับกรมอนามัยแล้ว จึงจะมีการจัดส่งยาให้ตามเอกสารแบบฟอร์ม MTP 3 ที่สถานบริการแจ้งมา เมื่อสถานพยาบาลใช้ยาใกล้จะหมดก็สามารถเบิกยาครั้งใหม่ได้เพื่อไม่ให้ยาขาดสต๊อก และกรมอนามัยได้กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาลและผู้ให้บริการในการจ่ายยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกันไว้ดังนี้คือ
การจ่ายยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอล จะทำเฉพาะในสถานพยาบาลที่มีความพร้อม คือมีแพทย์ปฏิบัติงานเป็นประจำ และสามารถให้การดูดหรือขูดมดลูกได้หากการยุติตั้งครรภ์ด้วยยาล้มเหลว และสามารถให้เลือดหรือทำการช่วยชีวิตผู้รับบริการอย่างเร่งด่วนได้ หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยาการใช้และการสั่งจ่ายยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอล ต้องกระทำโดยแพทย์ผู้ได้รับอนุญาต ซึ่งสามารถคำนวณอายุครรภ์และวินิจฉัยการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่การยุติตั้งครรภ์ไม่สมบูรณ์ หรือหากผู้รับบริการมีเลือดออกมากเกินไป แพทย์นั้นจะต้องสามารถทำการดูดหรือขูดมดลูก หรือส่งต่อผู้รับบริการไปรับการดูดหรือขูดมดลูกในสถานพยาบาลอื่นที่มีความพร้อมได้ ในกรณีที่ผู้รับบริการอาจมีความจำเป็นต้องรับการให้เลือดหรือรับการช่วยชีวิตอย่างเร่งด่วน แพทย์ผู้ใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอลต้องแน่ใจว่า ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงสถานพยาบาลที่ให้บริการฉุกเฉินดังกล่าวได้ในระหว่างที่อยู่ในกระบวนการยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยาแพทย์ผู้ใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซพรอสตอล หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จะต้องอธิบายขั้นตอนและวิธีการใช้ยาโดยละเอียดแก่ผู้รับบริการที่เลือกยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยา และต้องแน่ใจว่าผู้รับบริการมีความเข้าใจอย่างดีกรณีที่ผู้รับบริการไม่สามารถเข้าใจขั้นตอนและวิธีการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ให้นัดมาใช้ยาไมโซพรอสตอลที่สถานพยาบาล...
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา ๓๐๕ (๕) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๖๕
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305(5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 โดยกำหนดให้หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ที่ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ก่อนตัดสินใจยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้การตัดสินใจของหญิงนั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน และรอบด้าน
ที่มา : เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/228/T_0001.PDF
ราชกิจจานุเบกษา : ประกาศกฎกระทรวง ห้ามสถานศึกษา ไล่นักเรียน นักศึกษา ที่ตั้งครรภ์ เว้นแต่เป็นการย้ายตามความประสงค์ของนักเรียน นักศึกษา
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 ประกาศเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ...
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 เผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2561
โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้สถานศึกษาแต่ละประเภท คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา (ปวช., ปวส.,ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ) และระดับอุดมศึกษา ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนนักศึกษา โดยมีเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องเพศที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พฤติกรรมทางเพศ สุขภาวะทางเพศ และมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องเพศ รวมทั้งสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งจัดให้มีการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิผลของการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และให้เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลการศึกษา
ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาจัดหาและพัฒนาผู้สอน ให้มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะการสอนที่เหมาะสม รวมทั้งเข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้ของนักเรียนหรือนักศึกษาแต่ละระดับที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษา ทักษะชีวิต และให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา...
พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 มาตรา 5 วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง
สาระสำคัญในมาตรา 5 พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 คือ วัยรุ่นมีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง ได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ที่รักษาความลับและความเป็นส่วนตัว รวมทั้งสวัสดิการสังคม อย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ..
“บริการอนามัยเจริญพันธ์ุ” ครอบคลุมการคุมกำเนิด การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ และการดูแลระหว่างตั้งครรภ์-คลอด-หลังคลอด
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบหลักในยุทธศาสตร์นี้ โดยร่วมกับ สปสช. สนับสนุนการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ด้วยการใช้ยา และ กระบอกดูดสุญญากาศ...
9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าตัวเองยังไม่มีความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพื่อให้ปลอดภัยกับผู้หญิงมากที่สุด ควรเลือกยุติเมื่อตั้งท้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ เพราะสามารถทำได้ที่คลินิก หากเกินกว่านั้นต้องรับบริการที่โรงพยาบาล และสามารถยุติได้จนถึงอายุครรภ์ที่ 24 สัปดาห์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันสามารถช่วยให้การยุติการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัย ที่สำคัญการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา หรือเครื่องดูดสุญญากาศ จะต้องให้บริการโดยแพทย์
9 ข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ข้อมูลที่ 1 การยุติการตั้งครรภ์มีความปลอดภัยมีผลข้างเคียง และเสี่ยงต่อชีวิตน้อยกว่าการคลอดบุตร แต่ความเสี่ยงจะมากหากไปทำแท้งไม่ปลอดภัย เช่น การซื้อยาทางอินเทอร์เน็ต การรับบริการกับผู้ให้บริการไม่ใช่แพทย์ด้วยวิธีการที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
ข้อมูลที่ 2 การยุติการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ยิ่งน้อย...