การรณรงค์เนื่องในวันยุติตั้งครรภ์สากล 28 กันยายน 2561
International Safe Abortion Day

การทำแท้งเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ไม่ผิดที่จะเริ่มพูดคุย
“ถ้าสังคมยังคงมีความฝันถึงความเสมอภาคและความเท่าเทียม สังคมและผู้คนควรมองเรื่องของการท้องไม่พร้อม เสมือนหนึ่งการเจ็บป่วยปกติเหมือนเป็นไข้หวัด เหมือนการเป็นเนื้องอกการเปิดโอกาสให้เขาได้พูดคุย หารือ ร่วมหาทางออก มันคือ สังคมแห่งความเสมอภาคที่เราฝันถึง” โดย นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ
“การทำแท้งเป็นสิ่งที่ปกติ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เกิดได้ตลอดเวลา เหมือนเรื่องการกิน การใส่เสื้อผ้า การนอน ของมันต้องมี” โดย นพ.เรืองกิตติ์ ศิริกาญจนกูล
“แท้งปลอดภัย เพื่อหญิงไทยทุกคน” โดย นพ.นิรันดร์ ชัยศรีสุขอำพร
“หากการมี SEX  เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตมนุษย์ การท้องและการแท้งก็เกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติแต่เมื่อไหร่ที่เราปกปิดเรื่องเหล่านี้แสดงว่ามันมีปัญหา และน่าเสียดายที่ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้ ผู้หญิงตายได้ ถ้าเราไม่พูดคุยกัน” โดย นพ.นิธิวัชร์ แสงเรือง
โดย นพ.อมร แก้วใส “ไม่เห็นด้วยก็ไม่ควรขัดขวาง การทำแท้งเพื่อสุขภาพและตามกฎหมาย โดยแพทย์อมร แก้วใส
“เราจะรับฟัง ผู้เผชิญปัญหาท้องไม่พร้อมอย่างเข้าใจ ไม่มีอคติและยินดีให้บริการ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ” โดย เอมอร คงศรี และทีมสายด่วน1663 ปรึกษาทางเอดส์และท้องไม่พร้อม
“ทำให้เรื่องทำแท้ง เป็นเรื่องปรกติในสังคมไทย เพื่อช่วยหาทางออกให้กับสุภาพสตรี แค่นี้ก็ถือว่า ชาตินี้ได้ทำบุญ มากพอแล้ว” โดย นพ.โสภณ มุธุสิทธิ
“การปรึกษาทางเลือก ช่วยให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม มีพื้นที่ยืนในสังคมปลอดภัยจากการทำแท้งเถื่อน” โดย สุทธาพร ขุขันธิน นักสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ
“เมื่อคนมีทุกข์ แล้วถึงทางตันของชีวิต เราจะช่วยให้เขาได้เลือกทางของเขาเอง ถ้าเราไม่ช่วยก็ถือว่าบาป” โดย วิจิตรา วาลีประโคน พยาบาล โรงพยาบาลห้วยราช
“หน้าที่ของเราคือลดการตายจากการทำแท้งเถื่อน เพราะ…ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิ์โดยชอบธรรม ที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง” โดย พญ.อรวี ฉินทกานันท์
“หญิงทุกคนมี…สิทธิ…ในการเลือกการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย แพทย์ทุกคนมี…หน้าที่…ในการให้บริการแก่หญิงเหล่านั้น” โดย นพ.วรชาติ มีวาสนา
“กรมอนามัย สนับสนุนการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับแพทยสภา” โดย นพ.บุญฤทธิ์ สุขรัตน์
“โรงพยาบาลควรมีระบบที่ดีในการให้บริการผู้หญิงท้องไม่พร้อม เมื่อผู้หญิงเดินเข้าไปควรรู้ว่าเขาจะได้ปรึกษากับใคร ทางเลือกของเขามีอะไรบ้างและหากตัดสินใจเลือกแล้วจะมีขั้นตอนกระบวนการในการจัดการปัญหาอย่างไร เหมือนเรื่องเบาหวาน ผู้ป่วยไปตรวจน้ำตาลในเลือด รพ.ก็จะมีป้ายระบุขั้นตอนและผลกระทบต่อสุขภาพ หากมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงให้ผู้ป่วยได้ทราบ เรื่องท้องไม่พร้อมก็ควรทำแบบนี้ได้เช่นกัน” โดย นพ.สมชาย พีระปกรณ์
“ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ควรมีทางเลือกในการจัดการแก้ไขปัญหา เพราะการมีทางเลือกดีกว่าไม่มีทางเลือกยิ่งมีหลาย ๆทางเลือกจะยิ่งดี เพราะคนจะเลือกทางที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง แต่ในปัจจุบันสำหรับผู้หญิงทีท้องไม่พร้อม แทบจะไม่มีทางเลือกอะไรเลย” โดย สมวงศ์ อุไรวัฒนา ผู้รับผิดชอบ 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม
“อยากสื่อสารกับสังคมว่าการทำแท้งไม่ใช่ความผิดทางอาญา แต่เป็นการดูแลรักษาทางการแพทย์โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาชีวิตและความปลอดภัยของผู้หญิง” โดย ทัศนัย ขันตยาภรณ์ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
“เราสนับสนุนให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกทางออกของชีวิต ทำแท้ง ต้องปลอดภัย ท้องต่อ ต้องมีคุณภาพ” โดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม

ที่มา : โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการที่ปลอดภัยและเป็นมิตร

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 4 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 4

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้