ผลข้างเคียงหลังทานยาคุมฉุกเฉิน ที่ควรรู้ไว้ก่อนใช้
ยาคุมฉุกเฉินคือวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น ถุงยางรั่ว หรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน แม้จะเป็นวิธีที่ใช้ได้ในกรณีจำเป็น แต่ก็มักมี ผลข้างเคียงตามมาในระยะสั้น ซึ่งผู้ใช้ควรรู้ไว้เพื่อเตรียมตัวล่วงหน้า
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย
คลื่นไส้ อาเจียน เกิดจากฮอร์โมนในยา โดยเฉพาะหากใช้ในช่วงท้องว่าง
ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หรืออ่อนเพลีย
คัดตึงหน้าอก
ปวดท้องน้อย มักเป็นอาการชั่วคราวจากผลของฮอร์โมนที่กระตุ้นมดลูก
ประจำเดือนมาผิดปกติ อาจมาช้ากว่ากำหนด หรือมาเร็วกว่าปกติ บางรายมีเลือดออกกระปริดกระปรอย
อาการแบบไหนควรกังวล?
หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์
เลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ
เวียนหัว หน้ามืด คลื่นไส้ต่อเนื่องไม่หาย
อาการเหมือนตั้งครรภ์ยังคงอยู่เกิน 3 สัปดาห์หลังใช้ยา (เช่น อ่อนเพลีย...
สถานพยาบาลในเครือข่าย RSA ถูกกฎหมายไหม?
ถูกกฎหมายแน่นอน และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข
หลายคนยังลังเลใจ หรือกลัวว่า “ไปยุติการตั้งครรภ์กับเครือข่าย RSA จะผิดกฎหมายหรือเปล่า?”คำตอบคือ “ไม่ผิดกฎหมาย” เพราะสถานพยาบาลทุกแห่งในเครือข่าย RSA ให้บริการตามมาตฐานของการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวม หมายถึง กระบวนการดูแลการยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย ที่ครบถ้วนทั้งระยะก่อน ระหว่าง หลังการยุติการตั้งครรภ์ครอบคลุมการตรวจประเมินสุขภาพกาย สุขภาพจิต ให้ข้อมูลและทางเลือก วิธีการยุติการตั้งครรภ์ การรักษาภาวะแทรกซ้อน การตรวจติดตามผล และการคุมกำเนิด
มั่นใจได้ว่าปลอดภัย ถูกต้อง ไม่ตัดสิน บริการของ...
ยาคุมฉุกเฉิน ไม่ใช่ยาคุมรายเดือน ใช้เฉพาะเวลาจำเป็นเท่านั้น
ยาคุมฉุกเฉินอาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในเวลาคับขัน แต่ไม่ควรใช้เป็น “วิธีประจำ” แทนการคุมกำเนิดหลัก เพราะประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีอื่น และอาจส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวหากใช้บ่อย
ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร?
เป็นยาที่ใช้หลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน หรือถุงยางรั่ว/หลุด
ช่วยป้องกันการตกไข่ หรือการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว
ต้องกินให้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์:
สูตร 1 เม็ด: ภายใน 72 ชม.
สูตร 2 เม็ด:
กิน 2 เม็ดพร้อมกันภายใน 72 ชม.
หรือ กินเม็ดแรกภายใน 72 ชม. เม็ดที่...
ยาคุมรายเดือน กินตรงเวลา = ป้องกันได้เกือบ 100%
ยาคุมกำเนิดรายเดือน คือหนึ่งในวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ที่ ได้ผลสูงและเข้าถึงได้ง่าย แต่ความลับของความ “ได้ผล” อยู่ที่ ต้องกินตรงเวลา ต่อเนื่อง ไม่ลืม!
ป้องกันได้มากแค่ไหน?
หากกินยาคุมรายเดือนตรงเวลาอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพสูงถึง 99% แต่หากกินไม่ตรงเวลา หยุด หรือขาดช่วง โอกาสพลาดอาจเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
กินยังไงให้ได้ผล?
กินทุกวัน เวลาเดียวกัน ไม่ต้องเว้นวัน ไม่เว้นช่วง
กินให้ครบแผง 21 หรือ 28 เม็ด ตามชนิดยา
ถ้าลืมกิน 1...
28 พฤษภาคม วันสุขบัญญัติ เริ่มต้นดูแลสุขภาพ เริ่มต้นรู้สิทธิของตัวเอง
28 พฤษภาคม – วันสุขบัญญัติแห่งชาติ
เป็นวันที่ชวนเราทุกคน กลับมาทบทวนการดูแลสุขภาพของตัวเอง ไม่ใช่แค่เรื่องอาหาร ออกกำลังกาย หรือพักผ่อนเท่านั้น แต่รวมถึง สุขภาพทางเพศ และ สิทธิที่เราควรรู้และใช้ได้จริง
เริ่มต้นดูแลสุขภาพ เริ่มต้นรู้สิทธิ สุขภาพทางเพศคือส่วนหนึ่งของสุขภาพโดยรวม สิทธิพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ เช่น
การเข้าถึงบริการคุมกำเนิดฟรี
การขอคำปรึกษาเรื่องเพศและการตั้งครรภ์
การเข้ารับบริการอย่างปลอดภัย โดยไม่ถูกตัดสิน
รู้สิทธิ = รู้วิธีดูแลตัวเองให้ดีขึ้น คุณสามารถตรวจสอบสิทธิบัตรทองของตัวเองได้ผ่านแอป เป๋าตัง เมนู “กระเป๋าสุขภาพ” →...
ถุงยาง ไม่ใช่แค่ป้องกันท้อง แต่ป้องกันโรคได้ด้วย
ถุงยางอนามัยอาจดูธรรมดา แต่จริง ๆ แล้ว “เป็นวิธีป้องกันที่ครบเครื่อง” เพราะไม่เพียงแค่ช่วยลดโอกาสตั้งครรภ์ แต่ยังป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ในเวลาเดียวกัน และที่สำคัญคือ… ใครก็ใช้ได้ ใช้ได้ทันที ไม่ต้องรอหมอ
ทำไมถุงยางถึงควรใช้?
ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึง 98% (หากใช้ถูกวิธี)
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศ เช่น HIV, ซิฟิลิส, หนองใน ฯลฯ
ใช้ได้กับเพศทุกประเภท
พกง่าย ซื้อได้ทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
ใช้อย่างไรให้ได้ผล?
ใส่ถุงยางตั้งแต่ก่อนเริ่มสอดใส่
ใช้ถุงยางใหม่ทุกครั้ง ไม่ใช้ซ้ำ
ตรวจวันหมดอายุก่อนใช้งาน
ไม่ใช้ถุงยางพร้อมกับสารหล่อลื่นที่มีน้ำมัน เพราะอาจทำให้ถุงยางขาด
เคล็ดลับ: ใช้คู่กับวิธีอื่น เพิ่มความมั่นใจ
บางคนอาจเลือกใช้...
ยังไม่แน่ใจว่าท้องหรือเปล่า? รวมอาการที่คนถามบ่อย
Q: พุงป่อง แต่ประจำเดือนมาทุกเดือน แบบนี้จะท้องไหม?
A: ถ้าประจำเดือนมาปกติทุกเดือน โอกาสท้องค่อนข้างน้อย แต่ถ้าเคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และกังวลจริง ๆ แนะนำให้ตรวจครรภ์เพื่อความชัวร์ เพราะอาการ “พุงป่อง” อย่างเดียวไม่พอจะบอกว่าใช่หรือไม่ใช่การตั้งครรภ์
Q: ประจำเดือนยังไม่มา แต่มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยาง แบบนี้จะท้องไหม?
A: ถ้าใช้ถุงยาง “ถูกวิธี” และไม่มีรั่ว/หลุด โอกาสท้องน้อยมาก แต่หากกังวล หรือจำไม่ได้ว่าใช้ถูกไหมแนะนำให้ตรวจครรภ์หลังมีเพศสัมพันธ์ 14 วัน...
ไขข้อสงสัย ทำแบบนี้ ท้องได้หรือเปล่า?
Q: Oral sex หรือหลั่งในปาก ท้องไหม?
A: ไม่ค่ะ เพราะไม่มีการสัมผัสอสุจิกับช่องคลอดโดยตรง แต่อาจเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ได้
Q: ใช้นิ้วช่วย แต่ไม่รู้ว่านิ้วเปื้อนอสุจิไหม แบบนี้จะท้องไหม?
A: โอกาสเป็นศูนย์ อสุจิต้องเข้าสู่ช่องคลอดโดยตรง และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมถึงจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้
Q: ถูไถภายนอกแต่ไม่ได้สอดใส่ จะท้องไหม?
A: หากไม่มีการสอดใส่ ไม่มีโอกาสตั้งครรภ์
Q: มีเพศสัมพันธ์ตอนมีประจำเดือน จะท้องไหม?
A: ส่วนใหญ่โอกาสน้อยมาก แต่ถ้ารอบเดือนสั้น...
มีเซ็กซ์แบบไม่ป้องกัน = เสี่ยงท้องเสมอ อย่าคิดว่าแค่ “ครั้งเดียว” จะรอด
หลายคนยังเข้าใจผิดว่า “ไม่ได้หลั่งข้างใน” / “เป็นแค่ครั้งแรก” / “ไม่นาน ไม่เป็นไรหรอก” แต่ในความเป็นจริงคือ... การมีเซ็กซ์โดยไม่มีการป้องกัน = มีโอกาสท้องได้ทุกครั้ง
ทำไมถึงเสี่ยง แม้จะไม่ได้หลั่ง?
ในของเหลวก่อนหลั่ง (pre-ejaculate) อาจมีอสุจุปะปนอยู่ แม้ไม่ได้หลั่งเต็มที่
หากอสุจิเข้าสู่ช่องคลอด แม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้
ผู้หญิงมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ในช่วง "ไข่ตก" ซึ่งบางคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าอยู่ในช่วงนั้น
เคสที่พบบ่อยในกลุ่ม “ท้องไม่พร้อม”
มีเซ็กซ์โดยไม่ป้องกัน “ครั้งเดียว” แล้วท้อง
ใช้วิธี “หลั่งนอก” แต่ไม่ได้ทันเวลาจริง
เข้าใจผิดว่า...
อย่าเสี่ยง! ซื้อยาจากออนไลน์
ในยุคที่ทุกอย่างดู “คลิกแล้วได้” หลายคนอาจคิดว่าการ ซื้อยาจากออนไลน์เป็นทางลัดที่ง่ายกว่า แต่ความจริงแล้ว ทางลัดที่ผิด อาจพาไปถึงห้องฉุกเฉิน ได้แบบไม่รู้ตัว
ซื้อยาออนไลน์ เสี่ยงอะไรบ้าง?
1. ไม่รู้ว่ายาในกล่องคืออะไรจริง ๆ
ไม่มีฉลาก ไม่มีวันหมดอายุ
อาจเป็นยาปลอม ยาหมดอายุ หรือผสมสารอันตราย
2. ไม่มีการประเมินสุขภาพจากแพทย์
ใช้ผิดขนาด ผิดเวลา อาจทำให้ตกเลือด ติดเชื้อ หรือมดลูกไม่บีบตัว
บางรายต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะตกเลือดไม่หยุด
3. เสี่ยงอันตราย
ในปัจจุบัน ยาสำหรับยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย มีใช้ในสถานพยาบาลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องเท่านั้น ไม่มีขายทั่วไป
คำโฆษณาที่ควรระวัง
“ส่งด่วน ไม่ถามเยอะ”
“กินแล้วแท้ง...