ทางเลือกท้องไม่พร้อม

ทางเลือกท้องไม่พร้อม

สิทธิทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม คือ หนึ่งในสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ที่กล่าวไว้ว่า

“สิทธิในการเลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่ ตามความพร้อมของร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ โดยไม่มีเงื่อนไขอุปสรรคจากศาสนา ประเพณี และกฏหมาย”

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคน มีสิทธิที่จะได้รับบริการดูแลทั้งด้านสุขภาพกายและใจ เช่น การตรวจตั้งครรภ์ การรับคำปรึกษา และการดูแลรักษาจากแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักสาธารณสุข โดยไม่มีการเลือกปฎิบัติ ไม่ว่าการตั้งครรภ์นั้นจะมีความพร้อมหรือไม่
โดยทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม มีสองแนวทางหลัก
คือ ตั้งครรภ์ต่อ และยุติการตั้งครรภ์

ถุงยาง ไม่ใช่แค่ป้องกันท้อง แต่ป้องกันโรคได้ด้วย

0
ถุงยางอนามัยอาจดูธรรมดา แต่จริง ๆ แล้ว “เป็นวิธีป้องกันที่ครบเครื่อง” เพราะไม่เพียงแค่ช่วยลดโอกาสตั้งครรภ์  แต่ยังป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ในเวลาเดียวกัน  และที่สำคัญคือ… ใครก็ใช้ได้ ใช้ได้ทันที ไม่ต้องรอหมอ ทำไมถุงยางถึงควรใช้? ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึง 98% (หากใช้ถูกวิธี) ป้องกันโรคติดต่อทางเพศ เช่น HIV, ซิฟิลิส, หนองใน ฯลฯ ใช้ได้กับเพศทุกประเภท พกง่าย ซื้อได้ทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ใช้อย่างไรให้ได้ผล? ใส่ถุงยางตั้งแต่ก่อนเริ่มสอดใส่ ใช้ถุงยางใหม่ทุกครั้ง ไม่ใช้ซ้ำ ตรวจวันหมดอายุก่อนใช้งาน ไม่ใช้ถุงยางพร้อมกับสารหล่อลื่นที่มีน้ำมัน เพราะอาจทำให้ถุงยางขาด เคล็ดลับ: ใช้คู่กับวิธีอื่น เพิ่มความมั่นใจ บางคนอาจเลือกใช้...

ยังไม่แน่ใจว่าท้องหรือเปล่า? รวมอาการที่คนถามบ่อย

0
Q: พุงป่อง แต่ประจำเดือนมาทุกเดือน แบบนี้จะท้องไหม? A: ถ้าประจำเดือนมาปกติทุกเดือน โอกาสท้องค่อนข้างน้อย แต่ถ้าเคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และกังวลจริง ๆ  แนะนำให้ตรวจครรภ์เพื่อความชัวร์ เพราะอาการ “พุงป่อง” อย่างเดียวไม่พอจะบอกว่าใช่หรือไม่ใช่การตั้งครรภ์ Q: ประจำเดือนยังไม่มา แต่มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยาง แบบนี้จะท้องไหม? A: ถ้าใช้ถุงยาง “ถูกวิธี” และไม่มีรั่ว/หลุด โอกาสท้องน้อยมาก  แต่หากกังวล หรือจำไม่ได้ว่าใช้ถูกไหมแนะนำให้ตรวจครรภ์หลังมีเพศสัมพันธ์ 14 วัน...

ไขข้อสงสัย ทำแบบนี้ ท้องได้หรือเปล่า?

0
Q: Oral sex หรือหลั่งในปาก ท้องไหม? A: ไม่ค่ะ เพราะไม่มีการสัมผัสอสุจิกับช่องคลอดโดยตรง แต่อาจเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ได้ Q: ใช้นิ้วช่วย แต่ไม่รู้ว่านิ้วเปื้อนอสุจิไหม แบบนี้จะท้องไหม? A: โอกาสเป็นศูนย์ อสุจิต้องเข้าสู่ช่องคลอดโดยตรง และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมถึงจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ Q: ถูไถภายนอกแต่ไม่ได้สอดใส่ จะท้องไหม? A: หากไม่มีการสอดใส่ ไม่มีโอกาสตั้งครรภ์ Q: มีเพศสัมพันธ์ตอนมีประจำเดือน จะท้องไหม? A: ส่วนใหญ่โอกาสน้อยมาก แต่ถ้ารอบเดือนสั้น...

มีเซ็กซ์แบบไม่ป้องกัน = เสี่ยงท้องเสมอ อย่าคิดว่าแค่ “ครั้งเดียว” จะรอด

0
หลายคนยังเข้าใจผิดว่า “ไม่ได้หลั่งข้างใน” / “เป็นแค่ครั้งแรก” / “ไม่นาน ไม่เป็นไรหรอก” แต่ในความเป็นจริงคือ... การมีเซ็กซ์โดยไม่มีการป้องกัน = มีโอกาสท้องได้ทุกครั้ง ทำไมถึงเสี่ยง แม้จะไม่ได้หลั่ง? ในของเหลวก่อนหลั่ง (pre-ejaculate) อาจมีอสุจุปะปนอยู่ แม้ไม่ได้หลั่งเต็มที่ หากอสุจิเข้าสู่ช่องคลอด แม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ ผู้หญิงมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ในช่วง "ไข่ตก" ซึ่งบางคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าอยู่ในช่วงนั้น เคสที่พบบ่อยในกลุ่ม “ท้องไม่พร้อม” มีเซ็กซ์โดยไม่ป้องกัน “ครั้งเดียว” แล้วท้อง ใช้วิธี “หลั่งนอก” แต่ไม่ได้ทันเวลาจริง เข้าใจผิดว่า...

ยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย เริ่มจากที่นี่

0
การยุติการตั้งครรภ์ไม่ใช่เรื่องที่ต้องเผชิญลำพัง  และไม่จำเป็นต้องเสี่ยงกับแหล่งที่ไม่ปลอดภัย  ปัจจุบัน คุณสามารถเข้ารับบริการได้จาก โรงพยาบาลและคลินิกที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ทั้งในระบบสาธารณสุข และ เครือข่ายของ RSA ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เข้ารับบริการได้ที่ไหน? โรงพยาบาลรัฐหลายแห่ง มีบริการนี้โดยบางแห่ง Walk in ได้ บางแห่งต้องมีการประสานส่งต่อ ติดต่อขอรับการประสานได้ที่สายด่วนท้องไม่พร้อม 1663 คลินิกในระบบเครือข่าย RSA มีทีมแพทย์ ให้บริการอย่างปลอดภัย ไม่ตัดสิน และเป็นมิตรกับผู้รับบริการ บริการการแพทย์ทางไกล RSA Prompt...

อย่าเสี่ยง! ซื้อยาจากออนไลน์

0
ในยุคที่ทุกอย่างดู “คลิกแล้วได้” หลายคนอาจคิดว่าการ ซื้อยาจากออนไลน์เป็นทางลัดที่ง่ายกว่า แต่ความจริงแล้ว ทางลัดที่ผิด อาจพาไปถึงห้องฉุกเฉิน ได้แบบไม่รู้ตัว ซื้อยาออนไลน์ เสี่ยงอะไรบ้าง? 1. ไม่รู้ว่ายาในกล่องคืออะไรจริง ๆ ไม่มีฉลาก ไม่มีวันหมดอายุ อาจเป็นยาปลอม ยาหมดอายุ หรือผสมสารอันตราย 2. ไม่มีการประเมินสุขภาพจากแพทย์ ใช้ผิดขนาด ผิดเวลา อาจทำให้ตกเลือด ติดเชื้อ หรือมดลูกไม่บีบตัว บางรายต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะตกเลือดไม่หยุด 3. เสี่ยงอันตราย ในปัจจุบัน ยาสำหรับยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย มีใช้ในสถานพยาบาลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องเท่านั้น ไม่มีขายทั่วไป คำโฆษณาที่ควรระวัง “ส่งด่วน ไม่ถามเยอะ” “กินแล้วแท้ง...

รู้ก่อนเลือก ทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ตามหลักการแพทย์

0
เมื่อเผชิญกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่แค่ “จะทำหรือไม่” แต่คือ “จะทำอย่างปลอดภัยและถูกต้องได้อย่างไร” ประเทศไทยมีทางเลือกในการ ยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างปลอดภัย ถูกกฎหมาย หากคุณอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ทางเลือกของวิธีการยุติการตั้งครรภ์ที่ทันสมัย และปลอดภัย 1. การใช้ยา (Medical Abortion) ใช้ยาที่ออกฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัว และขับเนื้อเยื่อครรภ์ออกมา อาจใช้ที่สถานพยาบาล หรือ ใช้ยาที่บ้านได้ (บริการการแพทย์ทางไกล ที่มีการขึ้นทะเบียนโทรเวชอย่างถูกต้อง เช่น RSA Prompt) กรณีลงทะเบียนการแพทย์ทางไกล รับยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่บ้าน สำหรับอายุครรภ์ไม่เกิน...

ไม่ใช่เรื่องผิด! ยุติการตั้งครรภ์ในไทย ทำได้ตามกฎหมาย

0
หลายคนยังเข้าใจผิดว่า “การยุติการตั้งครรภ์ผิดกฎหมายในทุกกรณี” แต่ในความเป็นจริง ประเทศไทยมีกฎหมายที่เปิดทางให้ผู้หญิงสามารถ ยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ได้ หากอยู่ภายใต้ เกณฑ์ที่ชัดเจน ยุติการตั้งครรภ์ในไทย ทำได้หรือไม่? คำตอบคือ: ทำได้ตามกฎหมาย โดยอ้างอิงจาก พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 พ.ศ. 2564  หากตรงตามเงื่อนไข แล้วเกณฑ์ที่ “ทำได้” มีอะไรบ้าง? อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ผู้หญิงสามารถเข้ารับบริการได้ตามความสมัครใจ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ อายุครรภ์เกิน 12...

สงสัยว่าท้อง? อย่าเพิ่งเครียด ตรวจให้แน่ ใจจะได้พร้อมตัดสินใจ

0
เมื่อสงสัยว่าท้อง หลายคนอาจรู้สึกเครียด กังวล หรือไม่รู้จะเริ่มตรงไหน แต่สิ่งแรกที่ควรทำคือ “ตรวจให้แน่ใจ” และ “ประเมินอายุครรภ์” เพราะข้อมูลตรงนี้สำคัญมากกับการเลือกทางที่ปลอดภัย และเหมาะกับตัวคุณเอง ขั้นแรก: ตรวจให้ชัดว่าท้องจริงไหม ใช้ชุดตรวจครรภ์ (Pregnancy Test Kit)ตรวจตอนเช้า หลังมีเพศสัมพันธ์มาแล้วอย่างน้อย 14 วัน ถ้าขึ้น 2 ขีด แม้จะจาง ก็อาจแปลว่าท้อง ยังไม่แน่ใจ? ตรวจซ้ำใน 2–3 วัน  ...

สับสน ไม่แน่ใจว่าจะทำยังไงต่อ? คุยกับใครได้บ้าง

0
หลายคนที่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะทำยังไงต่อ ความรู้สึกสับสน ไม่มั่นใจ หรือกลัว เป็นเรื่องปกติ และคุณไม่จำเป็นต้องตัดสินใจลำพัง เริ่มต้นที่คำถามในใจของคุณ จะตั้งครรภ์ต่อดีไหม? ถ้าไม่พร้อมจะมีทางเลือกอะไรบ้าง? มีใครให้คำแนะนำโดยไม่ตัดสินเราไหม? การเริ่มต้นพูดคุยกับใครสักคนที่เข้าใจ จะช่วยให้คุณไม่ต้องเผชิญทางแยกของชีวิตเพียงลำพัง คุยกับใครได้บ้าง? นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล นักจิตวิทยา ณ ศูนย์พึ่งได้ (OSCC) / คลินิกวัยรุ่น ในโรงพยาบาลรัฐ หน่วยปรึกษาออนไลน์อย่าง RSAThai ที่ให้บริการฟรี ไม่เปิดเผยตัวตน และไม่ตัดสิน สายด่วนปรึกษาเอดส์ และท้องไม่พร้อม 1663 ทำไมการขอคำปรึกษาจึงสำคัญ? ช่วยให้คุณมองเห็น ทางเลือกที่ปลอดภัยตามกฎหมาย ช่วยประเมินว่าอายุครรภ์อยู่ในช่วงใด และสามารถใช้บริการแบบไหนได้บ้าง ช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยว...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
ฉันต้องการทำแท้ง
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย