การทำแท้งในประเทศไทยเป็นหนึ่งในบริการสุขภาพที่อยู่ภายใต้กฎหมายอาญา ในขณะที่ 74 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งจีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป การทำแท้งในประเทศไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 – 305 อธิบายโดยย่อให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ได้ดังต่อไปนี้

มาตรา 301 ผู้หญิงทำให้ตัวเองหรือให้คนอื่นทำให้แท้ง จะติดคุกถึงสามปี และ/หรือปรับถึงหกหมื่นบาท
มาตรา 302 ใครไปทำให้แท้งโดยผู้หญิงยินยอม จะติดคุกถึงห้าปี และ/หรือ ปรับถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา 303 ใครไปทำให้แท้งโดยที่ผู้หญิงนั้นไม่ยินยอม มีโทษเช่นกันและหนักกว่ามาตรา 302
มาตรา 304 ผู้หญิงที่ทำแท้งและผู้ที่ทำแท้งให้ ถ้าทำไม่สำเร็จไม่ต้องรับโทษ
มาตรา 305 ถ้าแพทย์ทำแท้งเพราะเหตุจากปัญหาสุขภาพ ถูกข่มขืนล่วงละเมิด หรือเด็กหญิงอายุน้อยกว่า 15 ปี ไม่ต้องรับโทษ

เมื่อบริการสุขภาพถูกกำกับโดย “กฎหมายอาญา” ผู้หญิงที่จำเป็นต้องทำแท้ง และ หมอที่ให้บริการก็หวาดกลัวว่าจะไปทำผิดกฎหมายหรือเปล่าจึงเป็นเกิดช่องว่างที่ทำให้มีการทำแท้งเถื่อนในบ้านเรามานานหลายสิบปี

มาตรา 301 ถือเป็นกฎหมายที่เอาผิดแต่ผู้หญิงฝ่ายเดียวเท่านั้น ทั้งๆ ที่ “การท้อง” เกิดจากหญิงและชายร่วมกัน แต่กฎหมายไทยกลับไม่ได้กล่าวถึงผู้ชายเลย ที่สำคัญ ไม่เฉพาะแต่กฎหมายเท่านั้น สังคมยังมีแนวโน้มประณามผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และหากตัดสินใจทำแท้งก็จะถูกด่าซ้ำมากขึ้น โดยไม่กล่าวถึงผู้ชายที่เป็นฝ่ายทำให้ท้องและไม่รับผิดชอบเลย…

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 3

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้