วันสตรีสากล ปี 2562 เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี #BalanceforBetter โดยขอให้มีความเท่าเทียมกันในมิติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เพราะการตั้งครรภ์นั้น ไม่ได้เกิดจากผู้หญิงฝ่ายเดียว ต้องมีผู้ชายมีส่วนร่วมด้วยทุกครั้ง

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับเรื่องร้องเรียนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง โดยคำร้องได้ให้เหตุผลว่า บทบัญญัติมาตรา 301 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

เพราะการกำหนดให้แต่เฉพาะหญิงซึ่งทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองแท้งลูก เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ขัดต่อหลักความเสมอภาคระหว่างชายและหญิง เป็นกฎหมายที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และกระทบต่อสิทธิในร่างกายและเสรีภาพในชีวิตของผู้หญิง ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ในมาตรา 27 และมาตรา 28

1) มาตรา 27 : รับรองความเสมอกันในกฎหมาย และการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันของชายและหญิง การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าจะด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ ฯลฯ หรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้

2) มาตรา 28 : บัญญัติสิทธิต่อเนื้อตัวร่างกายของตนเอง หากผู้หญิงเลือกยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม เพื่อให้ตนสามารถดำเนินชีวิตปกติต่อไป หรือ เป็นไปเพื่อรักษาชีวิตของตนเอง โดยที่ไม่เบียดเบียนหรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ย่อมเป็นสิทธิและเสรีภาพในการตัดสินใจของหญิงที่จะกระทำได้ เพราะร่างกายเป็นสิทธิและเสรีภาพโดยสมบูรณ์ของหญิง 

นับเป็นกรณีแรกที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน และถือเป็นของขวัญล้ำค่าในวันสตรีสากล 
ความเป็นธรรมอยู่ตรงนี้…

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 1

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้