ผู้หญิงที่เข้ามาบ้านพักฉุกเฉิน 90% ไม่ฝากครรภ์มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นหรือวัยใด มีทั้งคนที่ผ่านการใช้สารเสพติดมา ใช้ยา มีปัญหาสุขภาพจิต เมื่อท้องโตจิตแพทย์จะยังไม่รับจนกว่าจะคลอดเพราะว่ายาจะมีผลกระทบกับเด็กในครรภ์ มีทั้งคนที่เป็นท้องแรกและไม่ใช่ท้องแรก มีปัญหาดูแลตัวเองไม่เป็น การดูและเรื่องท้องต่อนั้นจึงยากกว่าการยุติท้องมาก “การยุติการตั้งครรภ์เปรียบเหมือนช่างเสริมสวยที่ตัดผม จะตัดสวย ถูกใจหรือไม่ ตัดแล้วตัดเลย แต่การท้องต่อเปรียบเสมือนการตัดเย็บเสื้อผ้า ตัดแล้วไม่ชอบต้องการรื้อใหม่….”

บ้านพักฉุกเฉินทำงานกับเด็กที่ท้องไม่พร้อม และทำงานกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง แต่ไม่ได้ทำงานกับผู้ชายเพราะผู้ชายหาตัวยาก เราทำงานฟื้นฟู ดูแลตั้งแต่ก่อนคลอด การท้องเป็นเหมือนอุบัติเหตุในชีวิตที่ทำให้สะดุดล้ม หลายคนไม่รู้ว่านี่คือการท้อง “หนูก็ไม่รู้เหมือนกันว่าการท้องเป็นอย่างไร หนูรู้อย่างเดียวว่า ไม่รู้มีตัวอะไรอยู่ในท้องหนู มันดิ้นดุ๊กดิ๊กๆ อยุ่ในท้อง”

เราดูแลเรื่องสุขภาพจิต มีหลักสูตรให้เตรียมความพร้อมก่อนคลอด หลังคลอดมีหลักสูตรเรื่องการดูแลแม่และเด็กทั้งเนื้อตัวร่างกายของแม่ที่ต้องดูแล ทารกก็ต้องดูแลสอนตั้งแต่การอาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า การทำอาหารให้ตัวเล็ก ฯลฯ

ในส่วนของผู้ปกครอง มีหลักสูตรเส้นทางของการเป็นพ่อแม่ มีครอบครัว 90% เป็นครอบครัวที่แตกแยก เด็กบางคนอยู่กับปู่ย่าตายาย พี่ ป้า น้า จึงไม่ง่ายจะเชิญผู้ปกครอง เช่น ต้องเป็นวันอาทิตย์ ต้องเป็นวันสิ้นเดือน เพราะเขาไม่มีค่าเดินทาง เราแก้ปัญหาด้วยการจ่ายค่าเดินทางให้อย่างน้อย 300 บาท เพื่อเป็นค่าเดินทาง/ค่าเสียเวลา แต่ก็ทำได้ปีละ 1 ครั้ง เพราะไม่มีงบประมาณมากนัก กินข้าวด้วยกันแทบจะไม่มีเวลา ผลการทำค่ายครอบครัวทำให้ในปี 2560 การ Adoption ใน 60 ราย เป็นวัยรุ่นเพียง 2 รายเท่านั้น

เรื่องการจัดสวัสดิการในภาครัฐ อยากให้เป็นสวัสดิการถ้วนหน้าที่เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับ กรณีเป็นวัยรุ่นเขาไม่พร้อมที่จะเลี้ยง ด้วยตัวเองตามลำพัง ต้องมีคน support แต่ครอบครัวแต่ละครอบครัวที่เราเจอนั้นเป็นครอบครัวรากหญ้าที่อยู่ด้านล่าง ถ้าครอบครัวพร้อมจะรับเด็กไปดูแล คือสนับสนุนแพมเพริ์ส นม เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง โดยจะ support ให้ 2 ปี แต่จะเลือกยี่ห้อไม่ได้ เพราะเป็นส่วนที่บ้านพักได้รับบริจาคมา

ที่มา : คุณณัฐิยา ทองศรีเกตุ ผู้อำนวยการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ บ้านพักฉุกเฉินดอนเมือง การประชุมเรื่อง “การพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือจัดบริการและคุ้มครองสิทธิของวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดย โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 3

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้