- ผู้หญิงทุกคนมีชีวิตที่แตกต่างกัน เมื่อประสบปัญหาท้องไม่พร้อม ผู้หญิงจึงควรมีสิทธิที่จะเลือกทางออก ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขชีวิตของตนเอง
- การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ สามารถกระทำได้ตามประมวลกฎหมายอาญาและข้อบังคับของแพทยสภา ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 โดยประเทศไทยกำหนดให้ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์โดยแพทย์ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
- การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิง
- การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง
- ตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการ
- การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
- การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี
- การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่
- การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสามารถลดอัตราแม่ตายได้ มากกว่ากลวิธีใดๆ ที่กระทำกันอยู่ในปัจจุบันเนื่องจากการคลอดบุตรในประเทศไทย มีอัตราการตาย 24 ต่อแสนคน ในขณะที่การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา มีอัตราการตายเพียง 1 ต่อแสนคนเท่านั้น
- การตายของผู้หญิงที่ทำแท้งไม่ปลอดภัย เกิดจากทัศนคติของคนในสังคมที่รู้สึกว่าชีวิตของเธอไม่ควรค่าที่จะมีชีวิตต่อไป ดังคำกล่าวที่ว่า “Women are not dying because of diseases we cannot treat. They are dying because societies have yet to make the decision that their lives are worth saving”
- การยุติการตั้งครรภ์ไม่ใช่การฆ่า เพราะสิ่งที่อยู่ในครรภ์ยังไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในขณะนั้น ผิดกับยุงที่คนชอบตบ หมูที่เราฆ่ากินเนื้อ เชื้อแบคทีเรียที่เราฆ่าปริมาณมากๆ ในทุกวัน
- เรื่องบาปบุญเป็นทัศนคติ ความเชื่อส่วนบุคคลจะให้คิดเหมือนกันหมดไม่ได้ แม้แต่ท่านพุทธทาสภิกขุยังบอกว่า ถ้าทำแท้งเพื่อช่วยให้เขาพ้นทุกข์ ไม่เป็นบาป มันอยู่ที่ ‘เจตนา’
- เราต้องแยกให้ออกระหว่างงานในหน้าที่กับทัศนคติส่วนตัว
“เราทำงานอยู่ในสถานพยาบาล หน้าที่ของเรา คือ ส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูโรค ไม่ได้มีหน้าที่สอบสวน สั่งสอนหรือตัดสินชีวิตใคร” โดย นพ.นิธิวัชร์ แสงเรือง เครือข่ายอาสาRSA ในการประชุมวิชาการ “ท้องไม่พร้อม : ทางออก หรือ ทางตัน” วันที่ 3 กันยายน 2559