“..เราต้องการให้เกิดระบบในการพัฒนาบริการส่งต่อ และยุติการตั้งครรภ์ตามบริบทของกฎหมายใหม่ และปฏิบัติตามข้อบังคับแพทยสภาที่ออกมาแล้ว มีกรณีผู้หญิงที่ไม่ได้รับบริการยุติการตั้งครรภ์ และไม่ส่งต่ออย่างน้อย 3-4
กรณีตัวอย่าง ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิต แม้อยู่ในเงื่อนไขทางกฎหมายที่อนุญาต และอย่างน้อยที่พบมี 1 รายที่ต้องเดินทางไปถึง 6 โรงพยาบาลกว่าจะได้ยุติการตั้งครรภ์ ..” รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายท้องไม่พร้อมเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เครือข่ายพัฒนาอาสา (RSA) บริการสายด่วนเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 ร่วมกับ 59 องค์กร ยื่นจดหมายเปิดผนึก เรื่อง
การบริการและส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย กรณีความเสี่ยงต่อสุขภาพกาย และทารกมีความเสี่ยงพิการหรือโรคทางพันธุกรรม ต่อ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) แพทยสภา กรมการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย 27 กรกฏาคม 2565ที่มา :Facebook Fanpage – Rsathai