โตแล้วไปไหน … หรือไม่ได้ไปไหน !?

0
มีคำถามคำถามหนึ่งที่นานๆ ทีจะมีคนนึกได้แล้วถามขึ้นมา คือ มีไหม เด็กที่แม่ยกมอบให้มูลนิธิแล้ว แต่เราหาครอบครัวบุญธรรมให้ไม่ได้ ตกค้างเพราะปัญหาเอกสาร การไม่ยินยอม (สักที) มีปัญหาสุขภาพหนักๆ หรือมีปัญหาอะไรก็ตามที่ทำให้ไปไหนไม่ได้และตกค้างอยู่จนโต และเริ่มแน่ใจว่า ต้องเตรียมตัวเด็กให้เติบโตอยู่ที่เมืองไทยแบบพึ่งพาตนเองได้มีค่ะ มีแน่นอน แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น เราจะต้องทำงานกับเด็กโตกลุ่มนี้อย่างเข้มข้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เขาพึ่งพาตัวเองได้... คนเราเติบโตขึ้นทุกวัน ก็เรียนรู้มากขึ้นทุกวัน และแข็งแรงมากขึ้นทุกวันด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะหมดห่วงได้ง่ายๆ เด็กเหล่านี้เติบโตในครอบครัวอุปถัมภ์ มีพ่อแม่พี่น้องญาติโยมให้การดูแล ให้ความรักความอบอุ่นเต็มที่ แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง...

คำประกาศเจตนารมย์ การเดินทางอันยาวไกลจากรุ่นสู่รุ่น : พันธกิจที่ต้องสานต่อเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้หญิงท้องไม่พร้อม

2
(2517 - 2540) กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว..เราไม่เคยรู้ว่าผู้หญิงคนไหนท้องแล้วไม่มีทางออก แต่สิ่งที่เราพอรับรู้กันได้ คือ มีผู้ทำแท้ง บาดเจ็บ ตกเลือดและสูญเสียชีวิตจำนวนมากและ..ยังมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่ต้องเลี้ยงดูลูกที่เกิดมาด้วยความยากลำบากเพียงลำพัง ผู้คนในสังคมต่างพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า นี่คงเป็นผลแห่งเวรเป็นกรรมที่ทำกันมาในชาติก่อนกระมังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นมาพยายามแก้กฎระเบียบบ้านเมืองนี้ เพื่อให้ผู้หญิงทำแท้งได้ปลอดภัยมากขึ้นแต่...ความพยายามเพื่อรักษาชีวิตของผู้หญิงนั้น กลับคืบหน้าไปได้แค่คืบเท่านั้นเป็นไปได้หรือนี่ ที่ชีวิตผู้หญิงที่ตายจากไปนั้น ช่างไร้คุณค่าความหมายเสียเหลือเกิน..แต่แล้วในวันหนึ่ง...เราปรับแนวทางในการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของผู้หญิงด้วยวาทกรรม “ท้องไม่พร้อม” และ “สิทธิในการตัดสินใจทางเลือก” (2540-2563) กาลครั้งหนึ่ง ไม่นานเท่าไร.. การขับเคลื่อนได้มุ่งเป้ามาที่ “สิทธิของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม”สิทธิที่ผู้หญิงควรมีความชอบธรรมในการตัดสินใจด้วยตัวเองการตัดสินใจที่สอดคล้องกับเงื่อนไขและบริบทชีวิตของตนเองเพราะในทุก ๆ สถานการณ์ไม่ได้มีเพียงทางเลือกเดียวเราร่วมกับทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการผลักดันให้ทุกทางเลือกเป็นจริงได้ในสังคมไทยไม่ว่าทางเลือกนั้นจะเป็น “การทำแท้งที่ปลอดภัย”หรือจะเป็น...

ทำแท้งเป็นสิทธิ์ ไม่ใช่บาปกรรม

0
อาจารย์อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม (ศูนย์บ้านดิน) แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวาทกรรมการทำแท้งในสังคมพุทธโดยเธอลองวิเคราะห์ปัญหานี้ตามหลักอริยสัจสี่ว่าเหตุที่ผู้หญิงเหล่านี้เลือกที่จะไปทำแท้งไม่ใช่เพราะการทำแท้งเป็นทางเลือกหนึ่งในชีวิตแต่เขาถูกบังคับให้เลือกผู้หญิงเหล่านี้รู้โดยปัญญาดีว่าความทุกข์นี้เป็นความทุกข์ที่สาหัสและเขาไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ https://youtu.be/s-D7Yccq7YA ด้วยค่านิยมที่สังคมไทยไม่ได้สอนให้ผู้ชายคุมกำเนิด เมื่อผู้ชายไม่รับผิดชอบ ความทุกข์จึงตกอยู่ที่ผู้หญิง ผู้หญิงเหล่านั้นจึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาอย่างโดดเดี่ยว โดยไม่มีระบบใดในสังคมมาช่วยเหลือ เขาต้องถูกสังคมตีตราตั้งแต่ท้องแล้วไม่รับผิดชอบ ถูกผลักไสให้ออกจากโรงเรียน เมื่อไปโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลก็อาจไม่เกื้อกูลเขา แถมยังตีตราเขามาอีก และอาจถูกผลักไสจากคนในครอบครัวเช่นกัน พระพุทธเจ้าจะบอกว่าการทำลายชีวิต การเบียดเบียนเป็นบาป แสดงว่าตั้งแต่ผู้ชายที่ทำเขาท้องไม่รับผิดชอบ ก็เบียดเบียน ผู้ชายคนนี้ก็บาปแล้ว ระบบโรงเรียนที่ผลักเด็กคนนี้ออก ไม่เกื้อกูลตอนเขาท้อง ระบบโรงเรียนก็บาปแล้ว ครอบครัวที่ผลักเขาออกไป ครอบครัวก็ทำบาปแล้ว เพราะฉะนั้นบาปคือการเบียดเบียน...

พันธกิจที่ต้องสานต่อ : กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเรื่องการทำแท้ง ทำไมต้องยกเลิกมาตรา 301

0
กฎหมายที่มีอยู่ไม่เป็นธรรมอย่างไร ?คุณสุไลพร ชลวิไล กลุ่มทำทาง ยังมองว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง ยังเป็นปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไข โดยอยากให้มองว่าการทำแท้งเป็นสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่สามารถมีสิทธิในการตัดสินใจต่อเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง จากเดิมที่ผ่านมาการขอแก้ไขกฎหมายมีความยากลำบากในการเข้าร่วมเสนอ หรือ ข้อเรียกร้องต่างๆ อยากให้มีการรับฟังจากเสียงที่เรียกร้องอย่างจริงจังและจะต้องตั้งอยู่ในความเป็นธรรมที่ควรยึดถือตามนานาชาติได้แล้ว กฎหมายของไทยยังใช้การอิงสมัยเก่าโบราณที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมเสียงของหมอทำแท้งที่ไม่มีใครได้ยินนพ.วรชาติ มีวาสนา เครือข่ายอาสา RSA ให้ความเห็นว่า การเปิดให้สังคมมีเวทีสาธารณะในการพูดคุยถกเถียงในเรื่องการทำแท้งอย่างไรจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในปัจจุบัน จะต้องตั้งคำถามการให้สิทธิในการทำแท้งของผู้หญิงตลอดการตั้งครรภ์หรือไม่ สิทธิการเกิดของตัวอ่อนอยู่ตรงไหน การทำแท้งเป็นการบริการสุขภาพที่ทุกแห่งต้องให้บริการหรือไม่ รัฐจะมีบทบาทอย่างไรในการโอบอุ้มผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ทั้งในแง่การท้องต่อและการทำแท้ง หมดยุคแล้วที่จะต้องบังคับให้ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมของทุกคนในประเทศไทย ไม่เลือกปฏิบัติต่อหญิงหรือชาย...

การทำแท้งมิใช่ความอาญา แต่คือบริการสุขภาพ

0
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ร่วมกับ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กำหนดจัดการเสวนาเชิงนโยบาย “ผ่าทางตันกฎหมายทำแท้งไทย : การทำแท้งมิใช่ความอาญา แต่คือบริการสุขภาพ !” ในวันที่ 12 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ...

ประกาศรับสมัครเจ้าหน้าที่โครงการ เพื่อร่วมงานกับเครือข่ายอาสา RSA

0
เรากำลังเปิดรับสมัคร 'เจ้าหน้าที่โครงการ' เพื่อร่วมงานกับเครือข่ายอาสา RSA คุณสมบัติ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีประสบการณ์ทำงานด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ และการตั้งครรภ์หรืองานสุขภาพที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปีใช้โปรแกรม Word, Excel, PowerPoint และโปรแกรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างชำนาญมีความรู้และทักษะในการติดต่อประสานงานมีทัศนะและความเข้าใจต่อประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยทางการแพทย์ ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงเดือนมกราคม 2565 (รวมเวลา 15 เดือน) อัตราค่าจ้าง  เดือนละ 20,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถึงวันที่ 1...

ทำไมต้องให้ความเสมอภาคแก่ผู้หญิงในการตัดสินใจทำแท้ง

0
มีหลักการ 4 ข้อ ที่ควรจะให้ความเสมอภาคแก่ผู้หญิงในเรื่องการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ คือ 1) เนื้อตัวร่างกายเป็นสิทธิเสรีภาพโดยสมบูรณ์ของหญิง เมื่อไม่เคยเบียดเบียนคนอื่น หญิงควรมีสิทธิที่จะตัดสินใจได้ว่าจะทำกับตนเองอย่างไร 2) การปล่อยให้ครรภ์ที่ไม่พร้อมคลอดออกมาในสังคม โดยผู้ตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่จะดูแลเป็นการสร้างภาระให้กับผู้หญิง ส่งกระทบต่อทั้งอนาคตของเด็กที่เกิดมา และซ้ำเติมปัญหาให้แก่สังคมในอนาคต 3) สิทธิการตัดสินใจควรจะเป็นของผู้ที่สามารถใช้สิทธินั้นได้ ตราบใดที่ตัวอ่อนยังไม่อาจแยกออกจากครรภ์ จึงเป็นเพียง “อนาคต” ที่ไม่แน่นอน สังคมจะยอมให้อนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั้นทำลาย “ปัจจุบัน” ทีเดียวหรือ? ถ้าปัจจุบันถูกทำลายอนาคตก็มีไม่ได้ 4) การห้ามทำแท้งโดยกฎหมายไม่เกิดประโยชน์แก่ใครเลย เพราะเมื่อผู้หญิงต้องการยุติครรภ์ของตน อย่างไรก็ต้องทำ...

ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ

0
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย 2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก 2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ 2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...

“ทำแท้ง” ปลอดภัยถูก ก.ม. เป็นอย่างไร?

0
พิกัดเพศ คุยกับ นพ.บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เรื่องการ"ทำแท้ง" ปลอดภัยและถูกกฎหมายเป็นอย่างไร และเครือข่ายอาสา RSA (Referral System for Safe Abortion) ที่มา : http://thaipbsradio.com/track/5465/

บทสิ้นสุดการเดินทางอันโดดเดี่ยว และการตีตราผู้หญิงที่ทำแท้ง เพื่อสนับสนุนสิทธิทางเลือกของผู้หญิงในไอร์แลนด์

0
กฎหมายทำแท้งในไอร์แลนด์ได้ผ่านสภาเมื่อ 13 ธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเพื่อส่งต่อให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับรองใช้เป็นกฎหมายประเทศต่อไป เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็น “ช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์” ถือเป็น “บทสิ้นสุดการเดินทางอันโดดเดี่ยว และการตีตราผู้หญิงที่ทำแท้ง” เพื่อสนับสนุนสิทธิทางเลือกของผู้หญิงในไอร์แลนด์ ในอดีต ประเทศไอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในสองของประเทศในยุโรปที่ห้ามการทำแท้งทุกกรณี (อีกประเทศคือมอลต้า) เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การแก้กฎหมาย คือย้อนกลับไปในปี 2555 ทันตแพทย์หญิงชาวไอริช Savita Halappanavar ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ ตรวจพบตัวอ่อนในครรภ์ผิดปกติรุนแรง เธอและสามีร้องขอให้แพทย์ทำแท้งเพื่อรักษา...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย