รายงานเฝ้าระวัง การตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น พ.ศ. 2561 – Teenage Pregnancy Surveillance Report, 2018

0
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ได้ดำเนินงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เก็บข้อมูลแม่วัยรุ่นอายุ < 20 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์และตรวจหลังคลอดในโรงพยาบาลในช่วงเมษายน - พฤษภาคม 2561 ผลการเฝ้าระวังครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ควรพัฒนารูปแบบและคุณภาพของระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่คลอบคลุมทุกบริการที่จำเป็นทุกด้านที่เป็นมิตรและได้รับสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาค และจัดให้มีบริการให้การปรึกษาการวางแผนครอบครัวในการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในทุกกลุ่มอายุ และแนวทางการจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่นในโรงพยาบาลทุกแห่ง และมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่นให้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้โรงพยาบาลทุกแห่งดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ.2560 - 2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559...

ราชกิจจานุเบกษา : กฏกระทรวงกำหนดประเภทของสถานประกอบกิจการและการดำเนินการของสถานประกอบกิจการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่น พ.ศ.2561

0
กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานประกอบกิจการและการดำเนินการของสถานประกอบกิจการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นวัยรุ่น พ.ศ.2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 มีผลบังคับใช้ 17 ธันวาคม 2561 (30 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา) โดยมีสาระสำคัญประกอบไปด้วย สถานประกอบกิจการทุกประเภทจะต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ อย่างครบถ้วนและเพียงพอการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์การคุมกำเนิด โดยเฉพาะการคุมกำเนิดกึ่งถาวรการฝากครรภ์และการดูแลครรภ์การแท้งและภาวะแทรกซ้อนจากการแท้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการติดเชื้อเอชไอวี ให้พยาบาลประจำสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างมากกว่า 200 คนขึ้นไป ทำหน้าที่ให้การปรึกษาและข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องแก่ลูกจ้างที่เป็นวัยรุ่น ให้สถานประกอบกิจการอำนวยความสะดวกและจัดระบบส่งต่อวัยรุ่นที่จำเป็นต้องได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์และสวัสดิการทางสังคมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/094/T_0006.PDF

คลิปการถ่ายทอดสด การประชุมเพื่อสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมครั้งที่ 53 เรื่อง “14 เดือนของการใช้กฎหมายทำแท้งฉบับใหม่เกิดอะไรขึ้นบ้าง ?”

1
จัดโดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และโครงการ “การติดตามผลระบบบริการยุติการตั้งครรภ์และพัฒนานวัตกรรมบริการนวัตวิถีในบริบทกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ฉบับใหม่ ”สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ถ่ายทอดสดวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 เวลา 13.30-16.30 น. ดำเนินการประชุม โดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล  กำหนดการ 13.30 – 13.45 น. แนะนำโครงการ “การติดตามผลระบบบริการยุติการตั้งครรภ์และพัฒนานวัตกรรมบริการนวัตวิถีในบริบทกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ฉบับใหม่”...

“หนัง (มัน)สั้น แต่รักฉันยาว” มุมมองของคนทำหนังโดยเยาวชนกับประเด็นท้องวัยรุ่น

0
จากการประกวดคลิป "หนัง(มัน)สั้น แต่รักฉันยาว" ให้เยาวชนส่งผลงานเข้าประกวดคลิปหนังสั้น โดยมีผลงานส่งเข้าประกวดกว่า 260 เรื่อง ซึ่งผ่านเข้ารอบเพียง 10 เรื่อง ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลายและประกาศนียบัตร (ปวช.) และระดับมหาวิทยาลัยและประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งเรื่องที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ เรื่อง "รักผิดชอบ" จากทีม เจค ว.2 และ เรื่อง...

ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เก่ียวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์

0
https://www.youtube.com/watch?v=IElZPnac2vo&feature=youtu.be โครงการเครือข่ายบริการทางเลือกสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม จัดการเสวนาเชิงนโนบาย ผ่าทางตันกฎหมายทำแท้งไทย "ทำแท้งมิใช่ความอาญา แต่คือบริการสุขภาพ !! " เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข  เพื่อสร้างความเข้าใจต่อกฎหมายอาญาที่เกี่ยวช้องกับการยุติการตั้งครรภ์ วิเคราะห์สถานการณ์และประเด็นต่างๆ จากกรณีศึกษา และแลกเปลี่ยนทัศนะในเรื่องกฎหมายและการยุติการตั้งครรภ์ ประชาสัมพันธ์ความร่วมมือของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าอุปสรรคด้านหนึ่งของการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย คือ ข้อกฎหมายที่ยังไม่มีความชัดเจน...

ข้อเรียกร้องต่อการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องต่อการแก้กฎหมายทำแท้ง

0
https://www.youtube.com/watch?v=ysQ65YuyVLQ&feature=youtu.be ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม และเครือข่ายอาสา RSA มีข้อเสนอต่อผู้บังคับใช้กฎหมายและผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1. ขอให้ประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รับรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การตีความกฎหมายทำแท้งที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณานั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้หญิงและครอบครัว ตามสิทธิความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ 2. ขอให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ ตระหนักและไม่หวาดหวั่นต่อการช่วยเหลือผู้หญิงให้เข้าถึงการทำแท้งทางการแพทย์ที่ปลอดภัย รวมทั้งลดอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการดังกล่าว 3. ขอให้ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ ทนายความ และศาล รับรู้และให้ความสำคัญต่อการรับคำร้องนี้ 4. ขอให้ตำรวจหยุดจับและดำเนินคดีกับการให้บริการทำแท้งที่ปลอดภัยโดยแพทย์ 5. ขอให้ตำรวจมุ่งเป้าหมายไปที่การกวาดล้างการทำแท้งเถื่อน...

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 เผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2561

0
โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้สถานศึกษาแต่ละประเภท คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา (ปวช., ปวส.,ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ) และระดับอุดมศึกษา ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนนักศึกษา โดยมีเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องเพศที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พฤติกรรมทางเพศ สุขภาวะทางเพศ และมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องเพศ รวมทั้งสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งจัดให้มีการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิผลของการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และให้เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลการศึกษา ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาจัดหาและพัฒนาผู้สอน ให้มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะการสอนที่เหมาะสม รวมทั้งเข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้ของนักเรียนหรือนักศึกษาแต่ละระดับที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษา ทักษะชีวิต และให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา...

คู่มือ : การช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้

0
คู่มือ : การช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ดาวน์โหลด แนวทางการช่วยเหลือดูแลผู้หญิงท่ีประสบปัญหาท้องไม่พร้อม โดยใช้แนวทางปรึกษาทางเลือกที่ศูนย์พึ่งได้ มีกระบวนการดำเนินงานตั้งแต่การคัดกรองผู้ประสบปัญหา ให้การปรึกษาทางเลือก ให้ความช่วยเหลือตามทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ต่ออย่างมีคุณภาพ และการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย รวมทั้งการติดตามดูแลต่อเนื่องหลังจากรับบริการตามทางเลือก ที่มา : คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข https://phdb.moph.go.th/phdb2017/index.php?&p=1&type=3&t=3&id=25&sec=5

“ยุติการตั้งครรภ์” ทางเลือกที่เลือกได้ อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

0
https://www.youtube.com/watch?v=qhU-pR4az5c “ยุติการตั้งครรภ์” ทางเลือกที่ต้องเลือกเพื่ออนาคต จากกรณีข่าว ด.ญ.13 ปี โดนพ่อเลี้ยงข่มขืนจนท้อง คิดสั้นฆ่าตัวตาย สลดครอบครัวไม่พร้อม ต้องยุติการตั้งครรภ์ อ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มา : RAMA CHANNELออกอากาศวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2561

มุมมองของแพทย์ต่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย – นพ.สุรพันธ์ แสงสว่าง

0
"..ถ้าเราสามารถเข้ามาช่วยเหลือกันได้ ช่วยกันเถอะครับ ในการที่จะช่วยเหลือผู้หญิงให้ผ่านพ้นวิกฤตชีวิตไปได้อย่างปลอดภัยที่สุด.." https://www.youtube.com/watch?v=7_Us400b6iQ&t=2s นพ.สุรพันธ์ แสงสว่าง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย