สรุปการประชุมสามัญประจําปี 2562 เครือข่ายอาสา RSA (Referral system for Safe Abortion)
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สําหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมสามัญประจําปีเครือข่ายอาสา RSA (Referral system for Safe Abortion) ประจําปี 2562 เมื่อวันที่ 14–15 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท...
สถิติ : การคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558 Statistics on Adolescent Births, Thailand 2015
สถิติ : การคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558Statistics on Adolescent Births, Thailand 2015
โดย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือ : ประกอบการให้บริการ ก่อน ระหว่าง และหลัง การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาสำหรับผู้ให้บริการในคลินิก
คู่มือ : ประกอบการให้บริการ ก่อน ระหว่าง และหลัง
การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาสำหรับผู้ให้บริการในคลินิก
โดย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
Facebook Live : ประเทศไทยสนับสนุนการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยอย่างไร
กรมอนามัยสนับสนุนให้เกิดนโยบายเพื่อลดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เช่น การสนับสนุนให้ยายุติตั้งครรภ์ Medabon เข้าสู่บัญชียาหลัก การสนับสนุนเครือข่ายอาสา RSA (Referral System for Safe Abortion) และมีส่วนผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพ.ศ.2559 ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องความปลอดภัยในการยุติการตั้งครรภ์เท่านั้นแต่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=583lN4BI2us&feature=youtu.be
ที่มา : Pro-Voice5 #LetsTalkAbortion การรณรงค์เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล 2018
Facebook Live : แก้ไขกฎหมายอาญาเกี่ยวกับทำแท้งให้เป็นธรรม
Facebook Live : แก้ไขกฎหมายอาญาเกี่ยวกับทำแท้งให้เป็นธรรม
โดย ทัศนัย ขันตยาภรณ์ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม
กฎหมายในปัจจุบันแม้ว่าจะเปิดช่องให้ผู้หญิงที่ไม่พร้อมสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นกฎหมายที่ยังขัดกับสิทธิและหลักความเสมอภาค ทั้งนี้ อยากสื่อสารกับสังคมว่าการทำแท้งไม่ใช่ความผิดทางอาญา แต่เป็นการดูแลรักษาทางการแพทย์โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาชีวิตและความปลอดภัยของผู้หญิง โดยช่วงบ่ายของวันนี้ทางเครือข่ายฯ จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ากฎหมายอาญาดังกล่าวขัดต่อสิทธิเสรีภาพหรือไม่ โดยสาระสำคัญของหนังสือที่จะไปยื่นให้ตีความคือ เสนอให้ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 301 เพราะขัดกับหลักความเสมอภาคหญิงชายและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายผู้หญิง ส่วนมาตรา 305 301 และ 302 ที่ระบุว่าการยุติการตั้งครรภ์สามารถกระทำได้โดยแพทย์...
คู่มือ : มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวม (Standard of Practice for Comprehensive Safe Abortion Care)
คู่มือ : มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยแบบองค์รวม
(Standard of Practice for Comprehensive Safe Abortion Care)
ที่มา : โครงการสายปรึกษาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 1663 และเครือข่ายส่งต่อให้บริการที่ปลอดภัย
คู่มือ : การให้บริการทางการแพทย์ การยุติการตั้งครรภ์โดยการใช้ยา
คู่มือ การให้บริการทางการแพทย์ การยุติการตั้งครรภ์โดยการใช้ยา
พัฒนาคู่มือโดย มูลนิธิคอนเซ็ป Ipas องค์การแพธประเทศไทย
ที่มา : https://www.conceptfoundation.org
Presentation : การสอนเพศวิถีศึกษาในประเทศไทย
Presentation : การสอนเพศวิถีศึกษาในประเทศไทย
เสวนาวิชาการ นักศึกษาแพทย์กับการยุติการตั้งครรภ์
โดย โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร ร่วมกับ
สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์ นานาชาติ แห่งประเทศไทย (IMFSA-Thailand)
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่17 พฤศจิกายน 2561
ดาวน์โหลดหลักสูตรการสอนเพศศึกษาได้ที่ www.teenpath.net
ที่มา : Presentation : การสอนเพศวิถีศึกษาในประเทศไทย
โดย พรพรรณ ทองทนงศักดิ์ มูลนิธิแพธทูเฮลท์
สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2560
สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2560
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 เผยแพร่กฎกระทรวง กำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2561
โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้สถานศึกษาแต่ละประเภท คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา (ปวช., ปวส.,ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ) และระดับอุดมศึกษา ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียนนักศึกษา โดยมีเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องเพศที่ครอบคลุมถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พฤติกรรมทางเพศ สุขภาวะทางเพศ และมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องเพศ รวมทั้งสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งจัดให้มีการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับประสิทธิผลของการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และให้เป็นส่วนหนึ่งของการวัดผลการศึกษา
ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาจัดหาและพัฒนาผู้สอน ให้มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะการสอนที่เหมาะสม รวมทั้งเข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้ของนักเรียนหรือนักศึกษาแต่ละระดับที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้สามารถสอนเพศวิถีศึกษา ทักษะชีวิต และให้คำปรึกษาในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่นักเรียนหรือนักศึกษา...