การบริหารจัดการยามิฟิพริสโตนและยาไมโซพรอสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกันเพื่อยุติตั้งครรภ์

หลังจากยาได้รับการขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ. 2557 แล้ว สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ขอให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและวางแผนดูแลกำกับการใช้ยาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 2 ปี ทางกรมอนามัยจึงทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการยา และเป็นผู้กระจายยาให้กับโรงพยาบาลต่างๆ โดยทำหน้าที่ต่อไปนี้

  1. ประสานงานกับสถานพยาบาลทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประเมินความพร้อมในการให้บริการ และการอนุญาตให้จัดให้มียามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอล ในการบริการยุติตั้งครรภ์
  2. จัดทำคู่มือการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอล และจัดส่งคู่มือไปยังสถานพยาบาลต่างๆ ที่มียาให้บริการ
  3. รวบรวมรายงานยามิฟิพริสโตนและไฟโซโพรสตอล ที่นำเข้าโดยบริษัทผู้นำเข้ายาและจัดจำหน่าย
  4. จัดทำระบบ VMI (Vendor Managed Inventor) ร่วมกับ สปสช. และองค์การเภสัชกรรม
  5. รวบรวมและวิเคราะห์การให้ยาและการยุติการตั้งครรภ์จากรายงานของสถานพยาบาลต่างๆ
  6. เฝ้าระวังและติดตามผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
  7. จัดทำรายงานสถิติเพื่อแสดงความก้าวหน้า ทุก 3 เดือน

และในวันที่ 13 มิถุนายน 2559 มติคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้พิจารณาคัดเลือกยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน เพื่อใช้ยุติตั้งครรภ์ด้วยเหตุทางการแพทย์ที่อายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ ไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติบัญชีย่อย จ(1) และบัญชียาหลักแห่งชาติบัญชีย่อย จ(1) ต้องมีโครงการพิเศษของหน่วยงานภาครัฐ ต้องให้กรมอนามัยจัดทำโครงการฯ เสนอคณะอนุกรรมการฯ ดังนั้นกรมอนามัยต้องทำหน้าที่บริหารจัดการการใช้ยาร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์การเภสัชกรรม

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 4.8 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 4

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้