Starting The Book
Starting the book, letter, work, business plan concept. crumpling paper at the office table.

ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 โดยสภาประชากร (Population Council) สำนักงานประเทศไทย ร่วมกับ Gynuity Health Project สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มนำยาไมโซพรอสตอล (ไซโตเทค) มาใช้รักษาอาการแท้งไม่ครบในผู้รับบริการที่มีอายุครรภ์ที่ไม่เกิน 63 วัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ทางสภาประชากร ร่วมกับ Gynuity Health Project สหรัฐอเมริกา และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ 

ได้นำยามิฟิพริสโตน (Ru486) มาใช้ร่วมกับยาไมโซพรอสตอล (ไซโตเทค) ในการวิจัยทางคลินิกเพื่อยุติการตั้งครรภ์ในระยะแรก ในผู้ที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 63 วัน หรือไม่เกิน 9 สัปดาห์ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า 

การใช้ยามิฟิพริสโตน ร่วมกับยาไมโซพรอสตอล สามารถยุติตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับในผู้รับบริการในประเทศไทยค่อนข้างสูง อีกทั้งช่วยลดความจำเป็นในการทำหัตการ

ในระหว่างเดือนเมษายน 2555 ถึงเดือนเมษายน 2556 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับมูลนิธิคอนเซ็พท์ เครือข่ายนักวิชาการ และเครือข่ายภาคประชาสังคม ริเริ่มศึกษาการใช้ยายุติการตั้งครรภ์ในระบบบริการสุขภาพ โดยศึกษาตำหรับยา Medabon ซึ่งประกอบด้วย ยามิฟิพริสโตน 200 มิลลิกรัม จำนวน 1 เม็ด และไมโซโพรสตอล 200 ไมโครกรัม จำนวน 4 เม็ด บรรจุในแผงเดียวกันทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องระบบการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา และประสานให้เกิดการขึ้นทะเบียนยาไปพร้อมๆ กัน เพื่อประเมินรูปแบบที่ดีที่สุดในการให้บริการยุติตั้งครรภ์ในบริบทของสังคมไทย

ในการเข้าถึงยา โดยเริ่มทำการศึกษาในโรงเรียนแพทย์ 3 แห่ง ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 จังหวัดขอนแก่น สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อีก 1 แห่ง

ผลการศึกษาพบว่า

  • มีผู้รับบริการที่แท้งสมบูรณ์ 197 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.17
  • แท้งไม่สมบูรณ์ 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.86
  • ไม่สามารถติดตามมาตรวจติดตามผล 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.97

เมื่อคำนวณประสิทธิภาพของยาโดยคำนวณจากจำนวนผู้รับบริการทั้งหมดที่ยุติการตั้งครรภ์โดยสมบูรณ์ด้วยการใช้ยา หารด้วยจำนวนผู้รับบริการที่มาติดตามผลหลังการใช้ยาทุกราย พบว่า ประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการศึกษาระยะที่ 1 อยู่ที่ร้อยละ 96.09

ต่อมามูลนิธิคอนเซ็พท์ ร่วมกับสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาสังคม ได้ขยายโครงการศึกษาเพิ่มอีก 5 แห่งในต่างจังหวัด เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำยาดังกล่าวมาใช้ในระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทยในโรงพยาบาลระดับต่างๆ สำหรับโรงพยาบาล 5 แห่งที่ขยายออกไป ประกอบด้วย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลน่าน โรงพยาบาลแพร่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ผลการศึกษาพบว่า

  • ผู้รับบริการ 198 รายแท้งสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 88.79
  • แท้งไม่สมบูรณ์ 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.42
  • ไม่สามารถติดตามมาตรวจติดตามผลได้ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.79

เมื่อคำนวณประสิทธิภาพของยาโดยคำนวณจากจำนวนผู้รับบริการทั้งหมดที่ยุติตั้งครรภ์โดยสมบูรณ์ด้วยการใช้ยาหารด้วยจำนวนผู้รับบริการที่มาติดตามผลหลังจากใช้ยาทุกราย พบว่า ประสิทธิภาพของยาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 90.41

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 4

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่