การประเมินข้อบ่งชี้การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย 

ประเทศไทย เกณฑ์ในการยุติตั้งครรภ์นั้น อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 โดยในมาตรา 305 ประกอบด้วย 2 วรรคที่เกี่ยวข้อง ที่กล่าวว่าการยุติตั้งครรภ์สามารถทำได้ ดังต่อไปนี้

วรรคแรก
คือ 1) การตั้งครรภ์ที่ครรภ์นั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดย “สุขภาพ” ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก รวมถึงสุขภาพทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งภายใต้ข้อบังคับแพทยสภาฯ ระบุว่า ในกรณีสุขภาพทางจิต แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยได้เลยโดยที่ไม่ต้องปรึกษาจิตแพทย์และ

2) กรณีที่ตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการรุนแรง ซึ่งภายใต้ข้อบังคับแพทยสภาฯ ระบุว่า ความรุนแรงนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ การยุติตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่ามีความผิดปกติก็สามารถทำได้

วรรคที่ 2 คือ การตั้งครรภ์นั้นเกิดขึ้นจากความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอีก 5 มาตรา ดังต่อไปนี้

    • มาตรา 276 ว่าด้วยการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
    • มาตรา 277 ว่าด้วยการทำให้เด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการสมยอมหรือไม่ก็ตาม
    • มาตรา 282, 283, 284 ว่าด้วยการล่อลวงผู้อื่นมาทำอนาจาร สนองความใคร่ โดยใช้อุบายล่อลวง บังคับ ข่มขู่ แม้ว่าในท้ายที่สุดอาจจะเกิดการสมยอมกันก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความผิดทางอาญา

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 ประเทศไทยจึงกำหนดเกณฑ์ให้ผู้หญิงสามารถยุติตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในกรณีดังต่อไปนี้

  1. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิง
  2. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง
  3. ตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการ
  4. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
  5. การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี
  6. การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 3.7 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 3

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้