นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยเล็งเห็นความสำคัญในการลดอันตรายของภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และการพัฒนาการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยาในประเทศไทยจึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สามารถจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนผลักดันให้เกิดเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ทั้งนี้ มาตรา 305 กำหนดข้อยกเว้นให้แพทย์ทำการยุติการตั้งครรภ์ให้หญิงมีครรภ์ได้ 2 กรณี คือ 1. มีความจำเป็นเนื่องจากสุขภาพของหญิง หรือ 2. หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา เช่น กรณีผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ตาม ความไม่พร้อมของผู้หญิงเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งบางปัจจัยอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เช่นปัจจัยทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้หญิงไปยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยและเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและการเสียชีวิต
ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่า ในแต่ละปีมีการยุติการตั้งครรภ์ทั่วโลกประมาณ 45 ล้านคน โดย 25 ล้านคนเป็นการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 97 เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยด้วย
ที่มา : https://youtu.be/kCeLUZWPjj0