จากการประกวดคลิป “หนัง(มัน)สั้น แต่รักฉันยาว” ให้เยาวชนส่งผลงานเข้าประกวดคลิปหนังสั้น โดยมีผลงานส่งเข้าประกวดกว่า 260 เรื่อง ซึ่งผ่านเข้ารอบเพียง 10 เรื่อง ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลายและประกาศนียบัตร (ปวช.) และระดับมหาวิทยาลัยและประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งเรื่องที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ เรื่อง “รักผิดชอบ” จากทีม เจค ว.2 และ เรื่อง “MISSION (NOT) IMPOSSIBLE/ภารกิจ (ลับ) สุดห้ามใจ” จากทีมสาธุบุญ โปรดักชั่น
ผลงานเยาวชนส่วนใหญ่ได้สะท้อนมุมมองเรื่องท้องในวัยรุ่น สื่อถึงเรื่องราวในประเด็น วัยเรียนวัยรุ่นกับการมีเซ็กส์ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ต้องมีการป้องกัน การหาทางออกอย่างไรเมื่อท้อง (ท้องต่อ vs ทำแท้ง) โดยวัยรุ่นส่วนใหญ่ยังมองภาพเป็นมายาคติมีการนำเสนอผลงานที่แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยมีทางเลือกน้อยมากสำหรับเรื่องการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะต้องมีการทำความเข้าใจกันต่อไป
แต่เยาวชนส่วนหนึ่งมีมุมมองท้องวัยรุ่น จุดสำคัญหลักอยากให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ทำความเข้าใจกับเด็กแบบเพื่อน และอยู่ข้างๆ เขาเมื่อมีปัญหา ขณะเดียวกันการให้ฝ่ายชายที่เข้ามามีบทบาทร่วมเผชิญและแก้ปัญหาไปพร้อมกับฝ่ายหญิงก็จะดีกว่า ซึ่งแตกต่างไปจากสื่อเดิมๆ ทีมักมองให้ผู้หญิงเป็นผู้เผชิญชะตากรรมลำพัง ส่วนผู้ชายเป็นผู้ร้ายที่ลอยนวล การจัดประกวดในครั้งนี้ก็ยังอยากให้วัยรุ่นผลิตสื่อในการดูแลตัวเองอย่างมีทักษะชีวิตต่อไป
“รักผิดชอบ”
“ภารกิจ (ลับ) สุดห้ามใจ”
ที่มา : ที่มผู้สื่อข่าว RSA (rsathai.org) รายงานจากการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน วันที่ 28 มกราคม 2562 หัวข้อ มุมมองเยาวชนต่อประเด็นท้องวัยรุ่นผ่านโครงการประกวดคลิป “หนัง(มัน)สั้น แต่รักฉันยาว”
ผู้ดําเนินการอภิปราย : นางสาวรัชดา ธราภาค มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง
วิทยากร: นายภูวดล เนาว์โสภา ตัวแทนเยาวชนชนะเลิศการประกวดระดับอุดมศึกษา , นางสาวมนัชญา เพิ่มเพ็ง ตัวแทนเยาวชนชนะเลิศการประกวดระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย , นายกานตชาติ เรืองรัตนอัมพร คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , นางสาววิจิตร ว่องวารีทิพย์ นักวิจัยอิสระ , ผศ. ดร. กนกวรรณ ธราวรรณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล