ในขณะที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการคุมกำเนิด โดยพบว่า อัตราการเจริญพันธุ์รวมของสตรีไทย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2561 เฉลี่ยสตรี 1 คน มีบุตร 1.5 คน แต่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยยังพบปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ร้อยละ 10.8 ในปี 2560 การช่วยชะลอการตั้งครรภ์ และลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นจะได้ผลดีนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอว่าควรให้วัยรุ่นคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด แต่การเข้าถึงยาคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรยังมีข้อจำกัด
- วัยรุ่นไม่ทราบสิทธิ์ตนเอง จากการสปสช อนุมัติให้วัยรุ่นไทยที่อายุไม่เกิน 20 ปี สามารถฝังยาคุมได้ฟรี
- กลัวผลข้างเคียงของยาฝัง เกรงว่าจะมีบุตรยาก
- ผู้ให้บริการ ไม่ทราบสิทธิ์วัยรุ่น ต้องการให้ผู้ปกครองเซ็นยินยอมให้ฝังยา ทั้งที่วัยรุ่นสามารถเซ็นยินยอมเองได้
- ทัศนคติของผู้ใหญ่ต่อวัยรุ่นที่ฝังยา เช่น ครูตรวจคลำท้องแขนนักเรียน การฝังยาคือการบ่งบอกว่ามีเพศสัมพันธ์
- เวชภัณฑ์คุมกำเนิดมีราคาแพง ต้นทุนสูง ไม่นิยมให้บริการในกลุ่มอายุมากกว่า 20 ปี
การปิดช่องว่างเพื่อให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงบริการคุมกำเนิดกึ่งถาวร เริ่มตั้งแต่การปรับทัศนคติผู้ให้บริการ สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายให้ยั่งยืน สร้างการรับรู้ความเป็นไปด้านสุขภาพ (health literacy) โดยเฉพาะสุขภาพทางเพศ ให้กับตัววัยรุ่น ครอบครัว และชุมชน
รายงานจาก การประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน วันที่ 28-30 มกราคม 2562 หัวข้อ “การคุมกําเนิดกึ่งถาวร: สิทธิที่ยังเข้าไม่ถึงและช่องว่างที่ต้องการพัฒนา”
ผู้ดําเนินการอภิปราย: นพ. มนัส รามเกียรติศักดิ์ ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย วิทยากร: นพ. กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อํานวยการสํานักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย นางสาวจารวี รัตนยศ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นางสาวอัชรา แก้วประดิษฐ์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการสายด่วน 1663 มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ นางสาวสุวรรณา ธาดาพิพัฒน์ พยาบาลวิชาชีพชํานาญการพิเศษ กลุ่มงานการพยาบาลสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น นายจิตร ศรีกะชา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ