11 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันประชากรโลก (World Population Day)” ถูกกำหนดขึ้นโดย คณะมนตรีประศาสน์การของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาเมื่อปี 2532 เพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความตระหนักในประเด็นปัญหาของประชากรโลก
แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรในโลกใบนี้ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 3 พันล้านคน ในปี 2504 ขยับเป็น 4 พันล้านคน ในปี 2518 และเพิ่มขึ้น จนมีจำนวนครบ 5 พันล้านคน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2530 จากนั้นประชากรโลกก็เพิ่มเป็น 6 พันล้านคน ในปี 2542 และในปลายปี พ.ศ. 2554 โลกมีประชากรครบ 7 พันล้านคนเป็นที่เรียบร้อย
สหประชาชาติประเมินว่าในอีก 6 ปีข้างหน้านี้ (พ.ศ. 2568) ประชากรโลกจะแตะที่ระดับ 8 พันล้านคน
และเพิ่มเป็น หนึ่งหมื่นล้านคนในปี พ.ศ. 2626 แต่ตัวเลขดังกล่าวอาจสูงกว่านี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆ
ตั้งแต่อายุขัยของคน ไปจนถึงการคุมกำเนิด และอัตราการเสียชีวิตของทารก
สำหรับประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่า กลางปี 2562 ( 1 กรกฏาคม ) ประชากรของประเทศไทยมีจำนวนกว่า 66,374,000 คน แบ่งสัดส่วนตามเพศโดยกำเนิด เป็นเพศชาย 32,074,000 คน เพศหญิง 34,300,000 คน
การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากร อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพประชากรในภาพรวม การเกิดที่มีคุณภาพจึงถูกให้ความสำคัญจากทุกประเทศทั่วโลก
จุดเริ่มต้นของการเกิดที่มีคุณภาพ เริ่มจากความพร้อมที่จะตั้งครรภ์ การเข้าถึงชุดข้อมูลความรู้ การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด การท้องต่อ หรือยุติการตั้งครรภ์ ล้วนแล้วแต่ช่วยส่งเสริมให้ทุกการเกิดของประชากรในประเทศไทย มีคุณภาพที่สุด
แหล่งข้อมูลบางส่วน จาก :
- สารประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2562
- TkPark อุทยานการเรียนรู้