กฎหมายที่มีอยู่ไม่เป็นธรรมอย่างไร ?
คุณสุไลพร ชลวิไล กลุ่มทำทาง ยังมองว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง ยังเป็นปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไข โดยอยากให้มองว่าการทำแท้งเป็นสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่สามารถมีสิทธิในการตัดสินใจต่อเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง จากเดิมที่ผ่านมาการขอแก้ไขกฎหมายมีความยากลำบากในการเข้าร่วมเสนอ หรือ ข้อเรียกร้องต่างๆ อยากให้มีการรับฟังจากเสียงที่เรียกร้องอย่างจริงจังและจะต้องตั้งอยู่ในความเป็นธรรมที่ควรยึดถือตามนานาชาติได้แล้ว กฎหมายของไทยยังใช้การอิงสมัยเก่าโบราณที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม
เสียงของหมอทำแท้งที่ไม่มีใครได้ยิน
นพ.วรชาติ มีวาสนา เครือข่ายอาสา RSA ให้ความเห็นว่า การเปิดให้สังคมมีเวทีสาธารณะในการพูดคุยถกเถียงในเรื่องการทำแท้งอย่างไรจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในปัจจุบัน จะต้องตั้งคำถามการให้สิทธิในการทำแท้งของผู้หญิงตลอดการตั้งครรภ์หรือไม่ สิทธิการเกิดของตัวอ่อนอยู่ตรงไหน การทำแท้งเป็นการบริการสุขภาพที่ทุกแห่งต้องให้บริการหรือไม่ รัฐจะมีบทบาทอย่างไรในการโอบอุ้มผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ทั้งในแง่การท้องต่อและการทำแท้ง หมดยุคแล้วที่จะต้องบังคับให้ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมของทุกคนในประเทศไทย ไม่เลือกปฏิบัติต่อหญิงหรือชาย คนแก่หรือเด็ก คนจนหรือคนรวย โดยหลักของนิติรัฐ คือการสร้างกฎหมายที่มุ่งจำกัดอำนาจของรัฐ เน้นในการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งทั่วโลกให้การยอมรับ แต่ในประเทศไทยนิยามคำว่านิติรัฐไว้อย่างไร จะต้องร่วมกันปล่อยให้เรื่องทำแท้งเป็นเรื่องของส่วนตัวของผู้หญิงที่สามารถแสวงหาบริการที่ปลอดภัย และรัฐจะต้องไม่ไปวุ่นวาย “มดลูก” ของผู้หญิงจนเกินไป และควรไปแก้ไขส่วนอื่นที่สำคัญของโครงสร้างที่ซับซ้อนนี้จะดีกว่าไหม ?
ที่มา : กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเรื่องการทำแท้ง ทำไมต้องยกเลิกมาตรา 301 ชีวิตและสิทธิของหญิงท้องไม่พร้อม: ความสำเร็จและพันธกิจที่ต้องสานต่อ เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 ณ ห้องกิ่งเพชร โรงแรมเอเชีย ถนนพญาไท กรุงเทพมหานคร