ตอนที่ 3

แด่ RSA: ขอบคุณที่ช่วยครอบครัวผม..เพราะลูกเป็นดวงใจของผม, ขอบคุณที่ทำให้หนูมีที่ยืนค่ะ หนูรู้สึกว่าโตขึ้นมาก..ชีวิตหนูเปลี่ยนไป, หนูจะตั้งใจเรียนและหางาน..ทำงานหาเงินเลี้ยงครอบครัว หนูจะเลี้ยงแม่เอง, หนูขอบคุณที่ช่วยให้หนูไม่ต้องไปทำแท้งเถื่อน, ขอบคุณ คุณหมอหลายๆ จ้าว..ที่ช่วยหนู, ขอบคุณที่ให้ทางเลือกและโอกาสสำหรับพวกเรา

ช่องว่างในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ยังมีอีกมาก หน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์ยังน้อย ในจังหวัดต่างๆ เพียง 33 จังหวัด ผู้หญิงท้องไม่พร้อมต้องเดินทางไกลหลายร้อยกิโลเมตร จึงเข้าถึงหน่วยบริการเหล่านี้ เป็นอุปสรรคสำหรับคนที่มีปัญหาเศรษฐกิจ ยากจนอยู่แล้ว ยิ่งทำให้มาปรึกษาล่าช้า ท้องจะโตมากขึ้น ปัญหาผู้หญิงท้องไม่พร้อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การที่จะลดหรือ ป้องกันปัญหาการตาย และโรคแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย มีแนวทางดังนี้

  1. มีกระบวนดูแลยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม
  2. ขยายการบริการยุติการตั้งครรภ์

    – เพิ่มจำนวนแพทย์ พยาบาล โรงพยาบาล ขึ้นทะเบียนใช้ยายุติการตั้งครรภ์จากกรมอนามัย
    – ทุกเขตบริการสุขภาพจัดให้เกิดระบบบริการยุติการตั้งครรภ์
    – ในพื้นที่ห่างไกล จัดให้มีบริการยุติการตั้งครรภ์แบบแพทย์ทางไกล หรือระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine for medical abortion)

ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา 2558 – 2562 มีการทำงานร่วมกับบุคลากรในพื้นที่ทุกภูมิภาคในเรื่องการขับเคลื่อนการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรทั่วประเทศ มีแพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ มาร่วมด้วยช่วยกันมากขึ้นตามลำดับ ยกเว้น เขตบริการสุขภาพที่ 10 (มีจังหวัดอุบลราชธานี มุกดาหาร ยโสธร ศรีษะเกษ อำนาจเจริญ) ยังไม่มีหน่วยบริการการใช้ยายุติการตั้งครรภ์เมดาบอน (Medabon) ส่วนเขตอื่นๆ พบว่า มีการใช้ยาเมดาบอน (Medabon) มากที่สุดคือ เขต 13 กรุงเทพ รองลงมาคือ เขต 1 จังหวัดทางภาคเหนือ เขต 9 ทางภาคอิสาน  อย่างไรก็ตาม การเพิ่มแพทย์และหน่วยบริการยุติการตั้งครรภ์จะต้องก้าวเดินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

เรื่องที่สำคัญคือการยุติการตั้งครรภ์ต้องเป็นกระบวนการดูแลที่มีคุณภาพมาตรฐานตามแนวทางองค์การอนามัยโลกที่เรียกว่า “กระบวนการดูแลการยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม Comprehensive Safe Abortion Care: CAC)” หมายถึง กระบวนการดูแลยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมายที่ครบถ้วนทั้งระยะก่อน ระหว่าง หลังการยุติการตั้งครรภ์ ที่ครอบคลุมการตรวจประเมินสุขภาพกาย สุขภาพจิต ให้ข้อมูล และทางเลือกวิธีการยุติการตั้งครรภ์ การรักษาภาวะแทรกซ้อน การตรวจติดตามผล ให้การคุมกำเนิด จัดให้มีระบบการส่งต่อ เพื่อรับบริการตามสถานบริการต่างๆ ที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานที่ผู้รับบริการยอมรับและเข้าถึงได้

ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย เพื่อให้สาธารณะชนรับรู้ และตื่นตัวเกี่ยวกับความปลอดภัย

ตัวเลขการเสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน อัตราเสียชีวิตสำหรับอายุครรภ์น้อยกว่า 9, 9 – 10, 11-12, 13-15, 16-20, 21+สัปดาห์ เท่ากับ 0.1, 0.2, 0.4, 1.7, 3.4, 8.9 ต่อแสนการแท้ง ซึ่งน้อยกว่าการคลอดมากและเปรียบเทียบกับอัตราตาย 300 ต่อแสนจากการทำแท้งเถื่อน ซึ่งจะทำให้ผู้หญิงหลีกเลี่ยงการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ลดการตาย บาดเจ็บต่อไป

ติดตามตอนต่อไปได้ที่นี่เร็วๆ นี้
เรื่องโดย นพ.เรืองกิตติ์ ศิริกาญจนกูล

การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า ตอนที่ 1
การยุติการตั้งครรภ์แบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า ตอนที่ 2
การยุติการตั้งครรภแบบองค์รวม ดีกว่า ปลอดภัยกว่า ตอนจบ

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 4.7 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 12

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้