“แพทย์ประเมินว่าลูกในท้องมีโอกาสผิดปกติด้านสมอง จึงแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ แต่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถที่จะยุติครรภ์ให้ได้ จึงแนะนำให้ไปโรงเรียนแพทย์ เธอเดินทางไปโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่งในกรุงเทพฯ ไม่มีที่ไหนรับ…” กรณีศึกษาที่ 1 : https://rsathai.org/contents/22609/

 “อายุ 48 ปี มีลูกมาแล้ว 5 คน อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ท้องนี้ไม่พร้อม เพราะเป็นโรคลมชัก เคยผ่าตัดเนื้องอกในสมอง ต่อมาพบเนื้องอกในมดลูก โรงพยาบาลไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์จึงส่งปรึกษาต่อเพื่อให้ยกบุตรบุญธรรมหลังคลอด แต่เธอไม่ต้องการตั้งครรภ์ต่อ….”  กรณีศึกษาที่ 5 : https://rsathai.org/contents/22612/

“ตั้งแต่ท้องมาก็มีเลือดออกมาตลอดแต่ไม่มาก หมอบอกว่ารกเกาะต่ำ จนอายุครรภ์ 19 สัปดาห์พบว่ามีเลือดออกทั้งคืน ไปตรวจที่โรงพยาบาลพบภาวะเลือดจาง อยากยุติการตั้งครรภ์เพราะคลอดลูกคนแรกก็แท้งคุกคามต้องให้เลือด แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าอายุครรภ์เกินกว่าที่จะยุติแล้ว ฉีดยากันแท้งและให้กลับบ้าน จึงพยายามหาข้อมูลเอง มีคนแนะนำให้ซื้อยาจากเน็ตมาใช้เอง….”  กรณีศึกษาที่ 7 : https://rsathai.org/contents/22615/

วันนี้ 27 กรกฎาคม 2565 เครือข่ายท้องไม่พร้อมฯ เครือข่ายอาสา RSA สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 และองค์กรภาคีรวม 59 องค์กร ร่วมกันยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ และแพทยสภา เรียกร้องให้กำหนดมาตรฐานการดูแลรักษา พัฒนา และกำกับติดตามการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ ให้เป็นหนึ่งในบริการสุขภาพที่มีมาตรฐาน ให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้ง พ.ศ. 2564 ข้อบังคับแพทยสภา สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ และระบบประกันสังคม ให้เข้าถึงได้อย่างปลอดภัย โดยรวบรวมกรณีศึกษาส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2565 ของการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพกายและทารกในครรภ์เสี่ยงพิการ ดังกรณีข้างต้น มาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาดังต่อไปนี้ 

  • กระบวนการตรวจความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์มีขั้นตอนที่ซับซ้อนใช้เวลานาน ส่งผลให้อายุครรภ์มากขึ้นและหากผู้หญิงต้องการยุติการตั้งครรภ์ในระหว่างนั้น จะหาสถานบริการได้ยาก 
  • สูตินรีแพทย์จำนวนหนึ่งไม่ได้ยุติการตั้งครรภ์ตามแนวทางราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ เกี่ยวกับการคัดกรองทารกพิการดาวน์ซินโดรม
  • ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมละเลยการปฏิบัติตามแนวทางข้อบังคับแพทยสภา ในข้อ 4 (1) ความเสี่ยงต่อสุขภาพกายและใจ และ ข้อ 4 (2) ทารกเสี่ยงพิการหรือโรคทางพันธุกรรม
  • โรงพยาบาลที่ตรวจความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ไม่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ และไม่ทำเรื่องส่งตัว 
  • พบปัญหาส่วนใหญ่ในหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สิทธิประกันสังคม
  • เมื่อพบความเสี่ยงต่อสุขภาพกาย โรงพยาบาลมีกระบวนการตรวจที่รอนานทำให้อายุครรภ์เพิ่มมากขึ้น และละเลยการประสานส่งต่อฯ
  • มีการตั้งคณะกรรมการยุติการตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลหลายแห่ง เพื่อพิจารณาว่าสมควรให้บริการหรือไม่ ซึ่งใช้เวลาพิจารณาค่อนข้างนาน ทำให้อายุครรภ์มากขึ้น 
  • บุคลากรสุขภาพขาดองค์ความรู้ในด้านวิธียุติการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ที่ทำได้ กฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้ง ไม่รู้ข้อมูลเครือข่ายให้บริการและแนวทางการส่งต่อฯ
  • สุดท้ายหญิงตั้งครรภ์ต้องไปแสวงหาบริการเอง ไม่มีเอกสารส่งตัว ไม่สามารถใช้สิทธิสุขภาพ และต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด สุ่มเสี่ยงต่อการได้รับบริการที่ไม่ปลอดภัย

ภาคีที่ร่วมยื่นจดหมายเปิดผนึกฯ มีข้อเสนอต่อองค์กรที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. ข้อเสนอต่อหน่วยงานทั้ง 5 แห่ง
พัฒนาทัศนคติของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการยุติการตั้งครรภ์ให้สอดคล้องตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก “Safe abortion is health care, it saves lives.” คือ การยุติการตั้งครรภ์คือบริการสุขภาพที่ช่วยชีวิตคน

2. ข้อเสนอต่อแพทยสภา และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย 
บริหารจัดการกำกับและติดตามให้มีแพทย์และสถานพยาบาล เพื่อให้การดูแลรักษาการยุติการตั้งครรภ์

3. ข้อเสนอเฉพาะราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย 
ต้องออกมาตรฐานจริยธรรมสำหรับสูตินรีแพทย์ในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคของทารก ให้บริการในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ภายหลังได้รับคำปรึกษาทางพันธุกรรม หรือจัดบริการส่งต่อโดยมิชักช้า

4. ข้อเสนอต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และกระทรวงสาธารณสุข
ร่วมวางแนวทางการให้บริการตรวจความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์และการยุติการตั้งครรภ์ โดยมีรายละเอียดในด้านระเบียบค่าใช้จ่าย การบริการ และส่งต่อตามสิทธิสุขภาพ 

5. ข้อเสนอเฉพาะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ต้องทำความชัดเจนในการเบิกจ่ายค่าบริการยุติการตั้งครรภ์ของผู้รับบริการสิทธิอื่น เปิดช่องทางการร้องเรียนให้แก่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างทั่วถึง

6. ข้อเสนอเฉพาะสำนักงานประกันสังคม 
ต้องมีช่องทางในการร้องเรียนสถานพยาบาลคู่สัญญา ประสานให้ผู้ประกันตนอย่างทันท่วงที โดยมีมาตรการลงโทษสถานพยาบาลคู่สัญญาที่ละเมิดสิทธิการรักษาของผู้ประกันตน

7. ข้อเสนอเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข 
ต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจวิธีการยุติการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ที่ทำได้อย่างปลอดภัย ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้ง เครือข่ายบริการและแนวทางการส่งต่อบริการยุติการตั้งครรภ์ให้กับสถานพยาบาลในสังกัด 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หน่วยงานทั้ง 5 หน่วยที่ได้รับข้อเสนอข้างต้นนี้ต้องให้ความสำคัญของชีวิตผู้หญิงไทย และตระหนักต่อความเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น

รับชม Live ย้อนหลังได้ที่ผ่านทางเฟซบุ๊กเพจ : เครือข่ายท้องไม่พร้อม และ Rsathai

ยื่นจดหมายที่แพทยสภา

รับชมย้อนหลัง
การยื่นจดหมายและแถลงข่าวที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คลิกที่นี่ : https://facebook.com/rsathai.org/videos/1934549053400990

FINAL-จดหมายเปิดผนึกถึง-5-หน่วยงาน-24กค.2565


รายชื่อภาคีที่ร่วมลงนาม

  1. กลุ่มทำทาง
  2. สมาคมเพศวิถีศึกษา
  3. มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING)
  4. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
  5. แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ
  6. เครือข่ายสุขภาพและโอกาส
  7. เครือข่ายผู้หญิงในระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว
  8. Women Help Women, Thailand
  9. Women on Web, Thailand 
  10. Queer Riot
  11. V-Day Movement 
  12. มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม 
  13. มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
  14. มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน (north net) จังหวัดเชียงใหม่
  15. มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน
  16. สหทัยมูลนิธิ
  17. เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
  18. เครือข่ายเด็กและเยาวชนจังหวัดมหาสารคาม
  19. เครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ภาคอิสาน
  20. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
  21. สถาบันส่งเสริมบทบาทพ่อแม่เพื่อสังคม (สพมส.) 
  22. สถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา
  23. สมาคมพราว (สมุทรสาคร) 
  24. สมาคมเครือข่ายพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ (สพร.)
  25. องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน จังหวัดเชียงใหม่
  26. องค์กรน้ำคว้านหลากสี จังหวัดพะเยา
  27. กลุ่มทีค พลังทรานส์ ชุมชนชายข้ามเพศ ทอม (FTX)
  28. กลุ่มเยาวชนศีขรภูมิ (Sikhoraphom Youth)
  29. กลุ่มฅนวัยใส จังหวัดเชียงใหม่
  30. สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายเพื่อการพัฒนา
  31. เครือข่ายสร้างเสริมและพัฒนา Gender Studies and Justice in Thailand
  32. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
  33. ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  34. โครงการสตรีนานาชาติพันธุ์
  35. School of Feminists
  36. กลุ่ม ACT TEAM จังหวัดขอนแก่น
  37. มูลนิธิเพื่อนหญิง
  38. โครงการสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น (จังหวัดชัยภูมิ)
  39. คณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ จังหวัดชัยภูมิ
  40. มูลนิธิไทอาทร   
  41. บ้านพักใจเลย
  42. สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย (ขอนแก่น)
  43. บ้านพักใจอุดรธานี
  44. บ้านพักใจหนองคาย
  45. สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ we peace
  46. สมาคมส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
  47. มูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชน
  48. สมาคมครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว
  49. สมาคมจิตอาสาสร้างสุข
  50. Thai Consent
  51. สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
  52. มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา
  53. มูลนิธิเครือข่ายสุขภาพ (HealthNet) สำนักงานภาคอีสาน
  54. เครือข่ายเยาวชนและครอบครัวสร้างสรรค์
  55. เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสุขภาพ  ประเทศไทย   
  56. ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จังหวัดปทุมธานี
  57. หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตรา 50(5) อำเภอเมือง  ปทุมธานี
  58. มูลนิธิผู้หญิง
  59. สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ 

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 10

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้