นโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และสตรีวัยเจริญพันธุ์และการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยในประเทศไทย
ด้วยปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย นับวันจะทวีความรุนแรงสิ่งที่นำไปสู่ปัญหาสังคมและเป็นสาเหตุหลักของการป่วยและตายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อปัญหานี้ โดยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ ดังต่อไปนี้
- ส่งเสริมค่านิยมทางวัฒนธรรม สังคม ทัศนคติ และบทบาททางเพศที่เหมาะสมของวัยรุ่นและประชากรวัยเจริญพันธุ์
- ให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
- ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีแก่สังคมทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันให้ความช่วยเหลือสตรีที่ตั้งครรภ์
ไม่พร้อมทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งวัยรุ่นและเยาวชน - จัดให้มีระบบบริการสุขภาพทางเพศ อนามัยการเจริญพันธุ์ วางแผนครอบครัว และการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
มีคุณภาพ เป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่ายแก่วัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น - ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีแก่ผู้ให้บริการสุขภาพ พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน การให้การปรึกษาที่มีคุณภาพ การดูแลระหว่างคลอดและหลังคลอด และเทคโนโลยียุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและมีมาตรฐานสากล
- จัดให้มีระบบช่วยเหลือดูแล บำบัดฟื้นฟู ส่งเสริมการศึกษาและสวัสดิการทางสังคมแก่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตร
- ส่งเสริมสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่นและสตรีตั้งครรภ์ โดยให้ความรู้รอบด้านเพื่อให้วัยรุ่นและสตรีตั้งครรภ์มีทางเลือกและตัดสินใจเองอย่างอิสระ ให้การปรึกษาและการคุมกำเนิดหลังคลอดเพื่อป้องกันการท้องซ้ำ
- ส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ เมื่อวัยรุ่นและสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีความจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จะต้องได้รับสิทธิในการรับบริการและรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้รับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอด ภัยและได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฎิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2559
ลงนามเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559
ที่มา : http://rhold.anamai.moph.go.th/all_file/index/policy_publicHealth.pdf