ประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของโลกเกือบทั้งหมดกําหนดให้การทำแท้งนั้นสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย (พ.ศ.2493 – 2528) ต่อมาในปี 2537 นานาประเทศได้ประชุมร่วมกันและมี 179 ประเทศได้ร่วมลงนามใน International Conference on Population and Development Programme of Action ซึ่งมีประเด็นที่สื่อให้เห็นถึงความร่วมมือในการป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศก็ค่อยๆ ปรับแก้กฎหมายทำแท้งให้ถูกต้องตามกฎหมาย
องค์การอนามัยโลกได้มีข้อเสนอแนะต่อนานาประเทศให้ออกกฎหมายและนโยบายที่ปกป้องสุขภาพและสิทธิของ ผู้หญิงเป็นสำคัญ และควรปรับเปลี่ยน ถอดถอน และกำจัดแนวปฎิบัติ นโยบาย การดำเนินงานใดๆ ที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยอย่างทันการ รวมทั้งสร้างและพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลและบริการคุมกำเนิดที่มีคุณภาพ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มวัยรุ่น สตรียากจน ผู้ที่ถูกข่มขืนหรือกระทำความรุนแรง และผู้หญิงที่ติดเชื้อ เอชไอวี
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านกฎหมายของประเทศนั้นๆ ว่ามีข้อกําหนดหรือเกณฑ์อย่างไรในการที่ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ตามกฎหมายโดยทั่วไป เกณฑ์ในการยุติการตั้งครรภ์มีต้ังแต่ 1) เพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้หญิง 2) เพื่อเหตุผลทางสุขภาพ อันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์น้ันส่งผลต่อสุขภาพทางกายและ/หรือใจของผู้หญิง 3) การตั้งครรภ์อันเนื่องมาจากกรณีข่มขืน ล่วงละเมิดทางเพศ เพศสัมพันธ์ร่วมสายเลือดเดียวกัน 4) ปัญหาสุขภาพของตัวอ่อนในครรภ์ และ 5) ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเกณฑ์ที่เปิดกว้างมากที่สุดคือ 6) เมื่อผู้หญิงต้องการเกณฑ์ของประเทศต่างๆ ในโลกถูกทําให้เป็นปัจจุบันทุกปี สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ผ่าน interactive map ที่เว็บไซต์ http://worldabortionlaws. com/