วัยรุ่นและผู้หญิงยังบาดเจ็บ มีภาวะจากการแทรกซ้อน และเสียชีวิตจากการทำแท้งเถื่อนที่ไม่ปลอดภัย และราคาแพงในเกือบทุกจังหวัดของประเทศ ทั้งๆ ที่หลายรายมีความจำเป็น และเข้าข่ายการทำแท้งตามกฎหมายโดยแพทย์ได้ แต่หาแพทย์ให้บริการได้ยาก เช่น ผู้ตั้งครรภ์เป็นผู้เยาว์อายุน้อยกว่า 15 ปี การเจ็บป่วยทางกายของผู้หญิง ภาวะทางจิต เครียด ซึมเศร้า ตัวอ่อนในท้องป่วย หรือพิการรุนแรงในครรภ์ การคุมกำเนิดผิดพลาด การถูกข่มขืน/ล่อลวง หรืออื่นๆ และมีผลกระทบต่อสังคม เช่น การทิ้งเด็ก ทิ้งซากเด็ก มีเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้น เป็นต้น 

RSA (Referral system for Safe abortion) คือ เครือข่ายแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักสาธารณสุข เภสัชกร ครู และสหวิชาชีพอื่นๆ จากภาครัฐและเอกชน อาสารวมตัวกันอาสาให้การปรึกษา ส่งต่อ หรือให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยตามแนวทางราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ด้วยการใช้ยา หรือใช้เครื่องดูดโพรงมดลูก ด้วยข้อบ่งชี้ที่สอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับของแพทยสภาให้กับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมที่มีปัญหาสุขภาพกายและใจ 

การดำเนินงานของ RSA  ร่วมมือกับองค์กรหน่วยงานต่างๆ ในการช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมเพื่อลดปัญหาการแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาสานำร่องระบบบริการและระบบส่งต่อที่มีมาตรฐานตามหลักวิชาการตอบสนองมาตราการ ลดปัญหาสาธารณสุข ลดอัตราการตายของแม่ ( MMR) และเด็ก (NMR) พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรไทย โดยมีการทำงานเป็นเครือข่ายส่งต่อบริการ ดังต่อไปนี้ 

  • ร่วมมือกับสายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 ศูนย์พึ่งได้ คลินิกวัยรุ่น และหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การปรึกษาทางเลือกผู้หญิงและวัยรุ่นที่ท้องไม่พร้อม 
  • ร่วมมือกับสถานพยาบาลในเครือข่ายอาสา RSA และสถานพยาบาลอื่นๆ เพื่อรับส่งต่อเมื่อทางเลือกคือตั้งครรภ์ต่อไปไม่ได้ เพื่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย 
  • ร่วมมือกับเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เมื่อทางเลือกคือ ตั้งครรภ์ต่อ หรือ อายุครรภ์เกินกว่ายุติการตั้งครรภ์ได้ เพื่อประสานส่งต่อให้ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างรอบด้าน 
  • ร่วมมือกับหน่วยบริการสุขภาพ ให้เข้าถึงการให้บริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพหลังยุติการตั้งครรภ์ หรือ หลังคลอดบุตรเพื่อป้องกันท้องไม่พร้อมในอนาคต 
นพ.นิธิวัชร์ แสงเรือง ผู้ประสานงานเครือข่าย RSA (Referral system for safe abortion)

ขอบคุณคลิป : รายการ TNN : ประเด็นใหญ่ (17.00-18.00 น.) คุยข่าวใหญ่ ขยายข่าวดัง กับเคนโด้ เกรียงไกรมาศ และเก๋ กมลพรวรกุล เผยแพร่ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2562

ร่วมเป็นสมาชิก RSA บุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข และสหวิชาชีพ ดาวน์โหลดเอกสารวิชาการ การสมัครรับยา และใบสมัครสมาชิกอาสา RSA ได้ที่เว็บไซต์สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข : http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=safe_abortion

สอบถามโครงการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาในระบบสุขภาพได้ที่ : กลุ่มงานประชากร สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 02-509-4243 (ในวันและเวลาราชการ)

หากกำลังเผชิญสถานการณ์ท้องไม่พร้อม ต้องการรับบริการปรึกษาทางเลือก ความช่วยเหลือในประเด็นเกี่ยวเนื่อง การเข้าถึงหน่วยบริการ RSA และคุมกำเนิดเพื่อป้องกันท้องไม่พร้อม สามารถเข้าถึงบริการที่ปลอดภัยที่สถานบริการในเครือข่ายอาสา RSA โดยผ่านทาง

1) สายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 เปิดให้บริการทุกวัน 9.00 – 21.00 น.
2) ห้องแชทของเว็บไซต์ : www.lovecarestation.com
3) Facebook Fanpage สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม :https://web.facebook.com/1663telephonecsg/ ช่วยเหลือส่งต่อเพื่อให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีบริการปรึกษาทางกล่องข้อความ 4 ช่วงเวลา คือ 08.00-10.00 น., 12.00-14.00 น., 17.00-19.00 น., และ 21.00-23.00 น.
4) Facebook Fanpage Lovecare Station : https://web.facebook.com/lovecarestation/

ติดตามข่าวสารการทำงานของเครือข่ายอาสา RSA ได้ที่ :
Website : www.rsathai.org
Facebook : https://web.facebook.com/rsathai.org/
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCq9HuP3Ot6tFwl4luc_Xi2g

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 4.5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 16

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้