จากการศึกษาเรื่อง รูปแบบการจัดบริการและการยอมรับการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยาในประเทศไทย The study on “Service Management Sy stems and Acceptability of Medical Termination of Pregnancy in Thailand” พบว่ามี 5 ข้อดี 4 ข้อจำกัดจากผู้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาเมื่อเปรียบเทียบวิธีการทางหัตถการในทัศนะของผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้
5 ข้อดี
1. เป็นวิธีการยุติการตั้งครรภ์ที่ผู้รับบริการสามารถดำเนินการเองได้ ภายใต้การได้รับคำแนะนำและการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์
2. ลดภาระต่อบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากคนไข้สามารถนำยาตัวที่สอง (ไมโซโพรสตอล ”) กลับไปใช้ที่บ้านได้
3. ผู้ให้บริการสามารถบริหารจัดการเรื่องการให้บริการคนไข้แบบ one stop service ได้โดยไม่เป็นการรบกวนคนไข้กลุ่มอื่น
4. เป็นบริการที่ง่ายสะดวก
5. เกิดความสบายใจในการให้บริการมากกว่าวิธีทางหัตถการผู้ให้บริการไม่ต้องลงมือโดยตรงช่วยลดความไม่สะดวกใจในการให้บริการของแพทย์ลงได้มาก
4 ข้อจำกัด
1. ข้อจำกัดอายุครรภ์ที่ไม่เกิน 63 วัน
2. ใช้ระยะเวลาในการสิ้นสุดกระบวนการยุติการตั้งครรภ์นานกว่าวิธีการทางหัตการ
3. ความจำเป็นในการนัดผู้รับบริการที่มีปัญหาเรื่องการเดินทางและค่าใช้จ่ายทำให้เกิดปัญหาเรื่องการไม่มาตรวจติดตามผลตามที่นัดหมาย
4. กรณีผู้รับบริการไม่ประสบความสำเร็จในการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยา ทำให้ต้องทำหัตกรรมเพิ่มเติม
หมายเหตุ : ล่าสุด เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการ พัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ (อย.) ได้พิจารณาคัดเลือกยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน (Medabon® ) เข้าอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติบัญชีย่อย จ(1) เพื่อใช้ยุติการตั้งครรภ์ด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ที่อายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ โดยสามารถใช้ในสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนกับกรมอนามัยเท่านั้น
ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยเราจะพบภายใต้ชื่อการค้า ของไมโซโพรสตอล ในชื่อ Cytotec ,ไซโตเทค และ มิฟิพริสโตน ในชื่อ Ru-486 ตามเว็บไซต์ขายยาทำแท้งเถื่อน
อ้างอิง : วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ปีที่ 39