ทางเลือกท้องไม่พร้อม

สิทธิทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม คือ หนึ่งในสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ที่กล่าวไว้ว่า

“สิทธิในการเลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่ ตามความพร้อมของร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ โดยไม่มีเงื่อนไขอุปสรรคจากศาสนา ประเพณี และกฏหมาย”

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคน มีสิทธิที่จะได้รับบริการดูแลทั้งด้านสุขภาพกายและใจ เช่น การตรวจตั้งครรภ์ การรับคำปรึกษา และการดูแลรักษาจากแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักสาธารณสุข โดยไม่มีการเลือกปฎิบัติ ไม่ว่าการตั้งครรภ์นั้นจะมีความพร้อมหรือไม่
โดยทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม มีสองแนวทางหลัก
คือ ตั้งครรภ์ต่อ และยุติการตั้งครรภ์

การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมในไทย มีกระบวนการอย่างไร

0
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถมีบุตร หรือผู้ที่ต้องการให้โอกาสแก่เด็กที่ขาดครอบครัว การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถให้ชีวิตใหม่แก่เด็กและสร้างครอบครัวที่อบอุ่นได้ แต่การรับบุตรบุญธรรมในประเทศไทย ต้องดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าทั้งเด็กและผู้รับเลี้ยงจะได้รับสิทธิที่ถูกต้อง 1. ใครสามารถขอรับบุตรบุญธรรมได้ ตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีคุณสมบัติดังนี้ มีอายุ 25 ปีขึ้นไป และต้องมีอายุมากกว่าเด็กอย่างน้อย 15 ปี เป็นผู้มี ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย อย่างน้อย 6 เดือน ก่อนยื่นคำขอ มีความสามารถในการเลี้ยงดูและดูแลเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี หากเป็น คู่สมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน 2. กระบวนการรับบุตรบุญธรรมในประเทศไทย 1. ยื่นคำขอรับบุตรบุญธรรม ยื่นใบสมัครที่ กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แสดงเอกสาร...

คลอดลูกแล้วอยากเรียนต่อ ต้องทำอย่างไร

0
สำหรับผู้หญิงหลายคน การตั้งครรภ์ไม่พร้อมอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา แต่การมีลูกไม่ได้หมายความว่าต้องหยุดเรียนเสมอไป ปัจจุบันมีทางเลือกที่ช่วยให้แม่วัยรุ่นสามารถศึกษาต่อได้ โดยไม่ต้องเสียอนาคต 1. วางแผนและจัดลำดับความสำคัญ หลังคลอด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวางแผนทั้งเรื่องการดูแลลูกและการกลับไปเรียน กำหนดเป้าหมายการศึกษา เช่น ต้องการเรียนต่อระดับไหน เรียนเต็มเวลาหรือแบบออนไลน์ จัดลำดับความสำคัญ ระหว่างการดูแลลูก และการเรียน ขอคำแนะนำจากครู ที่ปรึกษา หรือองค์กรที่ช่วยเหลือแม่วัยรุ่น 2. ทางเลือกในการเรียนต่อสำหรับแม่วัยรุ่น ทางเลือกรายละเอียดเรียนต่อในโรงเรียนเดิมโรงเรียนหลายแห่งมีโครงการช่วยเหลือแม่วัยรุ่นเพื่อให้สามารถเรียนต่อได้เรียนผ่านระบบการศึกษาทางเลือก (กศน.)สำหรับผู้ที่ต้องการยืดหยุ่นเวลาเรียนให้เหมาะกับการดูแลลูกเรียนออนไลน์หรือมหาวิทยาลัยเปิดช่วยให้สามารถเรียนจากที่บ้าน และบริหารเวลาการดูแลลูกได้ดีขึ้นขอทุนการศึกษาสำหรับแม่วัยรุ่นมีหลายองค์กรที่สนับสนุนทุนการศึกษาให้ผู้ที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว 3. ขอรับการสนับสนุนจากครอบครัวหรือองค์กรช่วยเหลือ ขอความช่วยเหลือจาก ครอบครัว หรือผู้ที่สามารถช่วยดูแลลูกได้ ติดต่อองค์กรที่ให้การสนับสนุนแม่วัยรุ่น เช่น มูลนิธิเพื่อเด็กและสตรี หรือบ้านพักเด็กและครอบครัว หาเครือข่ายของแม่วัยรุ่นที่เคยผ่านประสบการณ์คล้ายกัน...

บ้านพักฉุกเฉินสำหรับแม่ที่ท้องไม่พร้อม เข้าใช้บริการได้อย่างไร

0
หากคุณกำลังเผชิญกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและไม่มีที่พึ่ง บ้านพักฉุกเฉิน เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้คุณได้รับที่พักชั่วคราว พร้อมการดูแลด้านสุขภาพและสวัสดิการ 1. บ้านพักฉุกเฉินคืออะไร เป็นสถานที่รองรับ ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและไม่มีที่พักอาศัย ให้บริการ ที่พักชั่วคราว อาหาร และการดูแลสุขภาพ มีนักสังคมสงเคราะห์และเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา 2. ใครสามารถขอรับบริการได้ ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและไม่มีที่พัก ผู้ที่ถูกครอบครัวปฏิเสธ หรือไม่มีผู้ดูแล แม่วัยรุ่นที่ต้องการความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยชั่วคราว 3. บ้านพักฉุกเฉินมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ บ้านพักฉุกเฉินของภาครัฐและมูลนิธิส่วนใหญ่ ให้บริการฟรี บางแห่งอาจมีเงื่อนไขเกี่ยวกับ ระยะเวลาการเข้าพัก หรือการดูแลเด็กหลังคลอด ควรสอบถามล่วงหน้าเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หรือสิทธิ์ช่วยเหลือด้านอาหารและค่าฝากครรภ์ 4. ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง บัตรประชาชน (หากมี) เอกสารแสดงการตั้งครรภ์ เช่น สมุดฝากครรภ์ (ถ้ามี) กรณีฉุกเฉิน สามารถติดต่อโดยไม่ต้องใช้เอกสาร 5. ติดต่อขอรับบริการได้ที่ไหน บ้านพักฉุกเฉินของกรมกิจการเด็กและเยาวชน มูลนิธิและองค์กรที่ช่วยเหลือแม่ที่ท้องไม่พร้อม โรงพยาบาลและศูนย์สาธารณสุขที่ให้บริการช่วยเหลือ 6....

ท้องไม่พร้อม ไม่อยากยุติการตั้งครรภ์ มีทางเลือกอะไรบ้าง

0
เมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม หลายคนอาจรู้สึกสับสนและกังวลกับอนาคต แต่หากคุณตัดสินใจที่จะตั้งครรภ์ต่อ ยังมีทางเลือกและแหล่งช่วยเหลือที่สามารถเข้าถึงได้ 1. ขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินและสวัสดิการ หากกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย คุณสามารถเข้าถึงสิทธิ์ที่ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินได้ เช่น ฝากครรภ์ ตามสิทธิ์ สปสช. หรือประกันสังคม เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ซึ่งสามารถขอรับจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ความช่วยเหลือด้านอาหารและของใช้จำเป็น จากองค์กรที่ช่วยเหลือแม่และเด็ก 2. ขอคำปรึกษาและที่พักฉุกเฉิน หากไม่มีที่พึ่ง สามารถติดต่อหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม เช่น ศูนย์ให้คำปรึกษา ที่ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การวางแผนอนาคต และการดูแลสุขภาพ บ้านพักฉุกเฉิน สำหรับแม่ที่ต้องการที่พักชั่วคราวระหว่างตั้งครรภ์ 3. การให้บุตรบุญธรรมเป็นอีกทางเลือก หากรู้สึกว่ายังไม่พร้อมดูแลลูกเอง สามารถเลือกให้บุตรบุญธรรมผ่านหน่วยงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถเลือกครอบครัวอุปถัมภ์ที่ผ่านการคัดกรองเพื่อให้เด็กได้รับการดูแลที่ดี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและองค์กรที่รับดูแลกระบวนการนี้ 4. วางแผนอนาคตหลังคลอด หากต้องการเรียนต่อ มีโครงการช่วยเหลือแม่วัยรุ่นที่ต้องการศึกษาต่อหลังคลอด สำรวจโอกาสทางอาชีพ และการฝึกอบรมสำหรับแม่ที่ต้องการสร้างรายได้ ขอคำแนะนำจากหน่วยงานที่สนับสนุนแม่เลี้ยงเดี่ยว 5....

ท้องไม่พร้อม แต่ไม่อยากยุติการตั้งครรภ์ ทำอย่างไรได้บ้าง

0
ท้องไม่พร้อม แต่ไม่อยากยุติการตั้งครรภ์ ทำอย่างไรได้บ้าง หากคุณกำลังเผชิญกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และต้องการหาทางออกโดยไม่ยุติการตั้งครรภ์ ขอให้รู้ว่าคุณมีทางเลือก และสามารถได้รับการสนับสนุนจากหลายแหล่ง 1. ขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ อย่าตัดสินใจเพียงลำพัง คุณสามารถขอคำปรึกษาจากองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านการตั้งครรภ์ ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าสุขภาพของคุณและทารกแข็งแรง ขอคำแนะนำจากองค์กรที่ช่วยเหลือแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม 2. ประเมินความพร้อมและวางแผนการดูแลเด็ก พิจารณาว่าคุณมีทรัพยากรอะไรบ้าง เช่น การสนับสนุนจากครอบครัว หรือความสามารถในการเลี้ยงดู วางแผนทางการเงินและการดูแลเด็ก เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของแม่และเด็ก สำรวจหน่วยงานที่สามารถช่วยเหลือได้ เช่น โรงพยาบาลรัฐที่มีบริการฝากครรภ์ฟรี หากกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย สามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิที่คุณได้รับจากรัฐและองค์กรช่วยเหลือได้ 3. มองหาการสนับสนุนจากคนรอบข้าง พูดคุยกับครอบครัวหรือคนที่ไว้ใจได้ บางครั้งการสนับสนุนจากคนใกล้ชิดสามารถช่วยให้คุณรู้สึกมั่นใจมากขึ้น เข้าร่วมกลุ่มที่สนับสนุนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และรับกำลังใจจากผู้ที่เคยผ่านสถานการณ์คล้ายกัน 4. พิจารณาการให้บุตรบุญธรรม หากไม่สามารถเลี้ยงดูเองได้ หากคุณรู้สึกว่ายังไม่พร้อมดูแลเด็ก การให้บุตรบุญธรรม...

เลือกวิธียุติการตั้งครรภ์อย่างไร ให้เหมาะกับตัวเอง

0
"หากคุณกำลังพิจารณายุติการตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับอายุครรภ์ของคุณ” อายุครรภ์มีผลต่อวิธีการอย่างไร ? การใช้ยา (Medical Abortion) ใช้มิเฟพริสโตน (Mifepristone) และ ไมโซพรอสทอล(Misoprostol) ทำให้มดลูกบีบตัวและขับเนื้อเยื่อออก คล้ายกับการแท้งธรรมชาติ มีประสิทธิภาพสูง 95-98% อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถใช้ ยายุติการตั้งครรภ์ด้วยตนเองที่บ้านได้ โดยได้รับการแนะนำจากแพทย์ อายุครรภ์มากกว่า 12  สัปดาห์ สามารถใช้ยายุติการตั้งครรภ์ได้ โดยอาจมีการพักค้างที่ รพ. 1-3 คืน การใช้หัตถการทางการแพทย์ (MVA) คือ...

ท้องไม่พร้อม ทำยังไงดี

0
เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้หญิงเพียงคนเดียว แต่เป็นเรื่องของทั้งสองฝ่ายที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบ การตัดสินใจครั้งนี้ควรมีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ คำนึงถึงทุกปัจจัย และเลือกทางที่เหมาะสมที่สุด ตั้งสติ และให้เวลากับตัวเอง อย่าตัดสินใจด้วยความกลัว หรือแรงกดดันจากใคร ให้เวลาตัวเองทบทวนสถานการณ์ คิดถึงผลกระทบที่จะตามมา หาข้อมูลที่ถูกต้องจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ. คำถามที่ควรพิจารณาสำหรับผู้หญิง ฉันรู้สึกอย่างไรกับการตั้งครรภ์ครั้งนี้ ฉันมีความพร้อมทางร่างกายและจิตใจที่จะเลี้ยงดูเด็กหรือไม่ ฉันมีแผนชีวิตที่สามารถรองรับการเป็นแม่ได้หรือไม่ ฉันได้รับการสนับสนุนจากคู่ ครอบครัว หรือคนรอบข้างแค่ไหน ทางเลือกอื่น ๆ เช่น ยกมอบบุตรบุญธรรม หรือการยุติการตั้งครรภ์ ปลอดภัยและเหมาะสมกับฉันหรือไม่. คำถามที่ควรพิจารณาสำหรับผู้ชาย ฉันพร้อมรับผิดชอบต่อสถานการณ์นี้หรือไม่ ฉันสนับสนุนคู่ของฉันอย่างเต็มที่หรือเปล่า ฉันได้เปิดใจรับฟังความรู้สึกและความต้องการของคู่ของฉันหรือยัง ฉันสามารถช่วยเหลือทั้งด้านอารมณ์ การเงิน และการดูแลในอนาคตได้แค่ไหน ฉันเข้าใจผลกระทบของการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อคู่ของฉันและลูกในอนาคตหรือไม่. ทางเลือกที่ควรพิจารณา ทั้งสองฝ่าย ควรพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ตั้งครรภ์ต่อและเลี้ยงดูเอง โดยประเมินความพร้อมในทุกด้าน ยกมอบบุตรบุญธรรม ครอบครัวอุปถัมป์...

เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์และยังไม่พร้อม การรู้อายุครรภ์ = ทางเลือก

0
หลังจากตรวจพบว่าท้อง การรู้อายุครรภ์จะช่วยประเมินแนวทางการจัดการหลังรู้ว่าตั้งครรภ์ได้ ไม่ว่าเลือกจะตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์ หากต้องการตั้งครรภ์ต่อการรู้อายุครรภ์เร็วช่วยให้วางแผนเรื่องการฝากครรภ์ เพราะเมื่อไปฝากครรภ์จะมีประโยชน์ในด้านการป้องกันภาวะอื่นๆ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การดูสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์และคลอด โดยควรฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าท้องก่อน 12 สัปดาห์ หากต้องยุติการตั้งครรภ์ จากความไม่พร้อมทั้งด้านสุขภาพกายหรือจิตใจ อายุครรภ์จะเป็นเกณฑ์ที่จะบอกว่าสามารถทำได้หรือไม่ ด้วยวิธีการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ หรือการใช้ยา ซึ่งในประเทศไทยอยู่ได้มีการขึ้นทะเบียนยายุติการตั้งครรภ์ (Medabon) เมื่อปลายปี 2557 และกระจายไปใช้ในสถานบริการสุขภาพที่ขึ้นทะเบียนกับกรมอนามัยเท่านั้น ไม่มีขายทั่วไป การจะยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาต้องรับการบริการจากแพทย์และพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการเอง ทั้งนี้ระยะเวลาจะสัมพันธ์กับอายุครรภ์ของผู้รับบริการที่สำคัญคือโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพก็ลดลงตามขนาดของอายุครรภ์ คืออายุครรภ์น้อย ความเสี่ยงก็น้อย ใช้เวลาไม่มาก หากอายุครรภ์มาก การยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องเหมาะสมโดยแพทย์แม้จะมีความปลอดภัย แต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์และสุขภาพกายของผู้รับบริการด้วย ดังนั้น...

สิทธิที่จะเลือกเมื่อท้องไม่พร้อมคืออะไรได้บ้าง

0
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมทุกคน มีสิทธิจะได้รับบริการดูแลทั้งทางด้านสุขภาพกายและใจ และในแต่ละคนอาจไม่จำเป็นต้องเลือกเหมือนกัน โดยเราเคารพการตัดสินใจนั้นแบบไม่ตีตรา และหวังว่าทางเลือกนั้น จะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย ทางเลือกต่อทางออกของปัญหาท้องไม่พร้อม มีสองแนวทางหลัก คือ ตั้งครรภ์ต่อ และ ไม่ตั้งครรภ์ต่อ หรือ การยุติการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ต่อ ให้คำนึงถึงวิธีการจัดการผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ทั้งทางอารมณ์และการแสดงออก เช่น ความวิตกกังวล อับอาย เสียใจ การประชด การตัดสินใจชั่ววูบ ผลกระทบทางสังคม เช่น ไม่มีที่อยู่ ไม่มีงานทำ...

ทางออกของท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น.. ไม่ใช่การแต่งงาน !!

0
การมีความสัมพันธ์ทางเพศและตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นเรื่องที่ผู้ชายมีความผิดทางกฎหมายอาญา ดังนั้น จำเป็นต้องมีการแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เพื่อให้ตำรวจดำเนินคดีทางกฎหมาย (หากฝ่ายชายอายุต่ำกว่า 18 ปี จะถูกดำเนินคดีในสถานพินิจเด็กและเยาวชน) กรณีนี้ที่พบมากคือ ครอบครัวของฝ่ายชายมักขอหมั้นหมาย หรือบังคับแต่งงานเพื่อให้จบเรื่องทางคดี การให้ลูกสาวที่ตั้งครรภ์แต่งงานในลักษณะนี้อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกว่ามีทางออกของตนเองในลักษณะไม่เสียหน้า แต่ทางออกนั้นอาจทำให้ลูกสาวต้องเสียใจ และเสียอนาคตไปตลอดชีวิตเพราะการแต่งงานในอายุที่น้อยและไม่พร้อมนี้ในระยะต่อมา...ทางฝ่ายชายมีแนวโน้มที่จะไม่รับผิดชอบใดๆ ในที่สุด... แต่ก็มีพ่อแม่ผู้หญิงจำนวนมากที่ใช้ช่องทางกฎหมายนี้ เรียกร้องค่าเสียหายจากครอบครัวของฝ่ายชาย การทำเช่นนี้ทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ได้รักลูกเห็นแก่ได้เห็นลูกเป็นสิ่งของที่จะนำมาซึ่งเงินทองซึ่งกลับไปซ้ำเติมความรู้สึกของลูกที่กำลังประสบปัญหา ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองต้องถามความคิดเห็นของลูก ต้องไม่บังคับแต่งงาน ไม่เห็นแก่ได้...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
ฉันต้องการทำแท้ง
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย