ดูแลตั้งครรภ์ต่อ

ดูแลตั้งครรภ์ต่อ

เตรียมตัวเตรียมใจเผชิญการตั้งครรภ์
เพราะการท้องโดยไม่มีความพร้อม แตกต่างจากการท้องทั่วไป

เมื่อตัดสินใจท้องต่อ การเรียนรู้ การเตรียมตัวเผชิญและรับมือการท้องไม่พร้อม เป็นสิ่งสำคัญ ตั้งสติ หาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือขอรับการปรึกษาจากหน่วยงานช่วยเหลือต่างๆที่จะช่วยบรรเทาและคลี่คลายทีละเรื่อง เพื่อให้เห็นทางออก
ถ้าไม่สามารถบอกใครๆได้ และไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไง ควรหาที่ปรึกษาเพื่อเป็นตัวช่วย หรือเจ้าหน้าที่ให้บริการปรึกษาจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์พึ่งได้ คลินิกวัยรุ่นของโรงพยาบาล หรือบ้านพักเด็กและครอบครัวในทุกจังหวัด หรือขอรับการปรึกษาจากสายด่วนต่างๆ ซึ่งหลายแห่งก็มีการส่งต่อบริการ โดยการให้บริการดูแลกรณีท้องต่อ
มี 2 ช่วง ได้แก่ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด

บ้านพักฉุกเฉิน ดอนเมือง กรุงเทพ สำหรับผู้หญิงท้องไม่พร้อม

4
บ้านพักรอคลอด/หลังคลอด คือ สถานที่พักพิงเพื่อรอคลอดและพักฟื้นหลังคลอด ผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตัดสินใจท้องต่อ สามารถเข้าสู่ระบบบริการของบ้านพักรอคลอด เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะได้มีโอกาสทบทวนค้นหาสาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตในอนาคต ได้มีโอกาสประเมินถึงปัจจัยที่จะให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ เช่น ประเมินศักยภาพของตนเองในการเลี้ยงดูลูก ประเมินความพร้อมในการทำหน้าที่แม่เลี้ยงเดี่ยว ประเมินความพร้อมและการยอมรับของครอบครัวและชุมชนที่มีต่อลูก ผ่านการให้คำปรึกษา ทั้งก่อนคลอด และหลังคลอด เพื่อให้หลุดพ้นจากภาวะสับสน และการลงโทษตนเองจากเรื่องที่เกิดขึ้น นอกจากการให้การปรึกษาแล้วกิจกรรมระหว่างที่ได้เข้าร่วมระหว่างที่พักในบ้านพักเป็นสิ่งสำคัญ เพราะกิจกรรมจะช่วยเสริมคุณค่าในตัวเอง ค้นพบศักยภาพในตนเองที่จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตหลังออกจากบ้านพักได้ดีขึ้น บ้านพักฉุกเฉิน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นที่พักพิงชั่วคราวทั้งทางกายและใจให้แก่ผู้หญิง และเด็กที่เดือดร้อนซึ่งประสบปัญหาครอบครัว...

วิธีรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีขั้นตอนอย่างไร

0
การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม สังกัด กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2520 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2520 และตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการและดูแลด้านการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม โดยปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2533 และตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว...

4 ข้อเสนอเชิงนโยบายฉบับที่ 2 เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนา “แนวทางการบริการและคุ้มครองสิทธิ์ของวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ”

0
ผู้หญิงท้องไม่พร้อมและต้องท้องต่อนั้นส่วนมากต้องเผชิญปัญหาที่ซับซ้อนและยากลำบากตามบริบทชีวิตของผู้หญิง ว่าเป็น “ท้องต่อในโรงเรียน” “ท้องต่อในชุมชน” และ “ท้องระหว่างอยู่ในเรือนจำ/สถานพินิจ”อย่างไรก็ตาม ทุกคนต้องเผชิญต่อแรงกดดันและแรงเสียดทานที่ถาโถมเข้ามาหา ดังนั้นเมื่อผู้หญิงตัดสินใจท้องต่อไม่ว่าจะอยู่ในบริบทชีวิตแบบไหนช่วงเวลาตั้งครรภ์ต่อจนถึงคลอดจึงเป็นช่วงวิกฤตของชีวิตที่สังคมละเลยและมองไม่เห็น จากประสบการณ์ในการทำงานให้ความช่วยเหลือและจัดบริการสำหรับผู้หญิงท้องไม่พร้อมและท้องต่อ สรุปได้ว่า (1) ผู้ให้บริการจะต้องรับมือกับภาวะอารมณ์ที่ไม่นิ่งของผู้ประสบปัญหาในตลอดช่วงของการทำงานให้ความช่วยเหลือ ดังนั้นผู้ให้บริการจะต้องเข้าใจเงื่อนไขและสถานการณ์เช่นนี้(2) ทักษะสำคัญของผู้ให้บริการคือ ความรอบรู้และสามารถเชื่อมต่อบริการที่มีอยู่กระจัดกระจายในหน่วยงานต่างๆ เนื่องจากการช่วยคลี่คลายสถานการณ์ชีวิตของผู้หญิงนั้นจำเป็นต้องได้รับบริการที่หลากหลายขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของชีวิตระบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ พบว่าหน่วยงานต่างๆ มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการให้บริการกับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แต่ยังขาดรูปธรรมในระดับปฏิบัติการที่ชัดเจน หน่วยให้บริการเน้นการทำงานตามกรอบบริการของหน่วยงานของตน ขาดการบูรณการทำให้บริการไม่สามารถรองรับปัญหาของผู้หญิงที่มีความซับซ้อน ยังคงเป็นการทำงานตั้งรับในกรอบการให้บริการของหน่วยงานตนเองเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อให้เกิดการบริการและคุ้มครองสิทธิผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ...

6 ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนา “แนวทางการบริการและคุ้มครองสิทธิ์ของวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ”

0
จากการประชุมเรื่อง “สังคม (ไม่)ทําอะไรกับท้องของวัยรุ่น” จัดโดยเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมครั้งที่46 (1/2562 ) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 ในงานประชุมวิชาการสุขภาวะทางเพศระดับชาติครั้งที่ 3 ณ โรงแรม เซ็นทราศูนย์ประชุมวายุภักดิ์ สาระสำคัญของการประชุม ผู้หญิงท้องต่อส่วนใหญ่อยู่ในภาวะจำยอม เพราะไม่สามารถทำแท้งได้เนื่องจากมีอายุครรภ์ที่สูง มีความเสี่ยงสูงต่อการทำแท้งเองและไม่ปลอดภัยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่จะรู้สึกโดดเดี่ยว และต้องปรับตัวเพื่อให้เกิดการยอมรับที่ตนเองจะต้องท้องต่อจนคลอดต่อไปผู้หญิงท้องไม่พร้อมและท้องต่อในลักษณะนี้จำนวนมากจึงไม่ได้ฝากครรภ์หรือมาฝากเมื่ออายุครรภ์มากแล้วใกล้คลอดและอาจตกอยู่ในสภาวการณ์เปราะบาง ต่อการตัดสินใจทิ้งลูกเมื่อคลอดแล้ว พบตัวอย่างกรณีวัยรุ่นท้องในชุมชน จากประสบการณ์ของโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดนครพนมวัยรุ่นยังไม่รู้สึกปลอดภัยหรือไว้วางใจเมื่อต้องเข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือที่ซับซ้อน...

โตแล้วไปไหน … หรือไม่ได้ไปไหน !?

0
มีคำถามคำถามหนึ่งที่นานๆ ทีจะมีคนนึกได้แล้วถามขึ้นมา คือ มีไหม เด็กที่แม่ยกมอบให้มูลนิธิแล้ว แต่เราหาครอบครัวบุญธรรมให้ไม่ได้ ตกค้างเพราะปัญหาเอกสาร การไม่ยินยอม (สักที) มีปัญหาสุขภาพหนักๆ หรือมีปัญหาอะไรก็ตามที่ทำให้ไปไหนไม่ได้และตกค้างอยู่จนโต และเริ่มแน่ใจว่า ต้องเตรียมตัวเด็กให้เติบโตอยู่ที่เมืองไทยแบบพึ่งพาตนเองได้มีค่ะ มีแน่นอน แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น เราจะต้องทำงานกับเด็กโตกลุ่มนี้อย่างเข้มข้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เขาพึ่งพาตัวเองได้... คนเราเติบโตขึ้นทุกวัน ก็เรียนรู้มากขึ้นทุกวัน และแข็งแรงมากขึ้นทุกวันด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะหมดห่วงได้ง่ายๆ เด็กเหล่านี้เติบโตในครอบครัวอุปถัมภ์ มีพ่อแม่พี่น้องญาติโยมให้การดูแล ให้ความรักความอบอุ่นเต็มที่ แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง...

สำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ย้ำ “วัยรุ่นท้อง ต้องได้เรียนต่อ”

0
สพฐ. ย้ำ “วัยรุ่นท้อง ต้องได้เรียนต่อ” หลักการของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คือ เมื่อนักเรียนตั้งครรภ์-เด็กต้องได้เรียนต่อ ด้วยการปรึกษากับครอบครัว ร่วมกันจัดการเงียบๆ อย่างเหมาะสม เมื่อคลอดแล้วกลับมาเรียน ประคับประคองให้สามารถเลี้ยงดูได้อย่างดี ต้องไม่ทิ้งเด็ก ช่วยให้เด็กก้าวผ่านวิกฤตและได้ประโยชน์สูงสุด หากสำนักงานพื้นที่การศึกษาเขตจัดการไม่ได้ ขอให้ประสานระดับเขต โดยทางโรงเรียนอาจช่วยเด็กและครอบครัวประสานสำนักงานพัฒนาสังคมฯ จังหวัด กรณีไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ด้วยตนเอง เพื่อขอความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ที่จำเป็น นอกจากการช่วยเหลือแล้ว ยังร่วมกันกับทุกฝ่าย พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเรื่องเพศเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ร่วมกับ...

ทำอย่างไร หากไม่เลี้ยงดูเองแต่ต้องการยกให้ผู้อื่นเลี้ยงดูถาวร 

0
กรณีนี้เป็นการยกสิทธิการเลี้ยงดูบุตรให้ผู้อื่น หรือหน่วยงานอื่น เป็นผู้เลี้ยงดูและมีสิทธิในตัวเด็กแทนมารดา โดยมีข้อกฎหมายผูกพันรองรับ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกรณีคือ 1. ส่งเข้าสถานสงเคราะห์ถาวร เด็กจะได้รับการดูแลในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน จนกระทั่งมีผู้มาขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรณีนี้หลังจากยกเด็กให้แล้ว ไม่สามารถขอเด็กคืนกลับมาเลี้ยงดูเองได้เช่นเดียวกับการฝากเลี้ยงชั่วคราว 2. ยกบุตรให้ผู้ต้องการอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งต้องทำตามขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม การไม่ผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องเด็กอาจถูกนำไปขายต่อในขบวนการค้ามนุษย์ได้ ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ในการเตรียมเอกสารเพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของเด็กในระยะยาว เพราะแม้เราจะไม่สามารถเลี้ยงดูเองได้ ก็ขอให้ส่งเด็กไปในที่ที่ดีและปลอดภัย

ทำอย่างไร เมื่อไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูเด็กหลังคลอด

4
สามารถขอคำปรึกษาหรือติดต่อหน่วยงานรองรับ โดยขอปรึกษาศูนย์พึ่งได้ หรือฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ของโรงพยาบาลที่เราฝากท้องคลอด บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ ปรึกษาหน่วยงานเอกชนที่ทำงานในด้านนี้ ส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน ด้วยการฝากเลี้ยงชั่วคราวในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยในระหว่างนี้ สามารถไปเยี่ยมเด็กได้จนกระทั่งมีความพร้อมแล้วจึงรับเด็กมาเลี้ยงดูเองข้อจำกัด สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนมีบริการในบางจังหวัด มีสัดส่วนพี่เลี้ยงต่อจำนวนเด็กมาก การดูแลไม่ทั่วถึงการส่งเด็กไปอยู่ในครอบครัวอุปถัมภ์ชั่วคราว ด้วยการฝากเลี้ยงในวันธรรมดา เพื่อให้มารดาได้ทำงานหรือเรียนหนังสือ และรับเด็กมาเลี้ยงเองในวันหยุด โดยสามารถรับเด็กมาเลี้ยงดูเองได้เมื่อมีความพร้อมข้อจำกัด มีบริการที่หน่วยบริการของเอกชน เช่น สหทัยมูลนิธิ ครอบครัวอุปถัมภ์มีจำกัดอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ

เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท เริ่มจ่ายวันที่ 31 ม.ค. 62 เป็นต้นไป

0
สำนักงานประกันสังคมเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท ให้แก่ผู้ประกันตน โดยจะเริ่มจ่ายในวันที่ 31 ม.ค.2562 เป็นต้นไป เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2562 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง การเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากสำนักงานประกันสังคมจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท...

สงเคราะห์เด็กอ่อน และอุปการะเด็กโดยภาคเอกชน

0
สงเคราะห์เด็กอ่อน และอุปการะเด็ก ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา ที่ตั้ง : 384 หมู่6 ถนนสุขุมวิท กม.144 ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี การติดต่อ : 038 423 468 , 038 416 426 เว็บไซต์ : www.thepattayaorphanage.org อีเมล์ : info@thepattayaorphanage.org บริการที่ให้และเงื่อนไขการรับบริการ...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย