รู้หรือไม่ ยายุติตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ใช้ในอายุครรภ์เท่าไรจึงปลอดภัย
รู้หรือไม่ ? ยายุติตั้งครรภ์ใช้ในอายุครรภ์เท่าไรจึงปลอดภัย
ตอบ อายุครรภ์มีความสำคัญมากต่อขนาดยา จำนวนเม็ดยา และระยะห่างของการใช้ การนับอายุครรภ์เองอาจพบความผิดพลาดได้ ดังนั้นจึงควรอัลตร้าซาวด์เพื่อความแน่นอน ผลตรวจอัลตร้าซาวด์ควรเป็นผลล่าสุด เช่น ตรวจเมื่อสองสัปดาห์ก่อน อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ ปัจจุบันอายุครรภ์ก็จะเป็น 9+2 คือ 11 สัปดาห์
ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาสามารถใช้ได้จนถึงอายุครรภ์ที่ 24 สัปดาห์ แต่ว่าในแต่ละช่วงนั้นใช้ขนาดยา วิธีการใช้ ระยะห่างการใช้ยา และวิธีการดูแล...
สิทธิประโยชน์ทางเลือกคุมกำเนิด ฟรี สำหรับวัยรุ่น
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการ “การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้วัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่อยู่ ในภาวะหลังคลอด หรือแท้ง หรือต้องการคุมกำเนิด ได้เว้นช่วงการมีบุตรด้วยการใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวรที่ออกฤทธิ์ได้นาน 3, 5 ปี
หลักเกณฑ์การให้บริการคุมกำเนิดแก่วัยรุ่น
เป็นการให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวร หมายถึง...
สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2560
ที่มา : กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข
รายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ออกรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561 โดยเน้น "พลังของทางเลือก" และมีชื่อรายงานเต็มว่า "พลังของทางเลือก: สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และการเปลี่ยนผ่านทางโครงสร้างประชากร" รายงานฉบับนี้นำเสนอมุมมองเชิงลึกเพื่อให้เห็นถึงพลังที่มาจากการได้เลือกจำนวนบุตร ช่วงเวลาในการมีบุตร และ ระยะเว้นห่างการมีบุตรว่าสามารถช่วยสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกได้อย่างไร
อ่านรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561
https://www.youtube.com/watch?v=u0qH40svEF8
ที่มา : https://thailand.unfpa.org/
โตแล้วไปไหน … หรือไม่ได้ไปไหน !?
มีคำถามคำถามหนึ่งที่นานๆ ทีจะมีคนนึกได้แล้วถามขึ้นมา คือ มีไหม เด็กที่แม่ยกมอบให้มูลนิธิแล้ว แต่เราหาครอบครัวบุญธรรมให้ไม่ได้ ตกค้างเพราะปัญหาเอกสาร การไม่ยินยอม (สักที) มีปัญหาสุขภาพหนักๆ หรือมีปัญหาอะไรก็ตามที่ทำให้ไปไหนไม่ได้และตกค้างอยู่จนโต และเริ่มแน่ใจว่า ต้องเตรียมตัวเด็กให้เติบโตอยู่ที่เมืองไทยแบบพึ่งพาตนเองได้มีค่ะ มีแน่นอน แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น เราจะต้องทำงานกับเด็กโตกลุ่มนี้อย่างเข้มข้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เขาพึ่งพาตัวเองได้...
คนเราเติบโตขึ้นทุกวัน ก็เรียนรู้มากขึ้นทุกวัน และแข็งแรงมากขึ้นทุกวันด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะหมดห่วงได้ง่ายๆ เด็กเหล่านี้เติบโตในครอบครัวอุปถัมภ์ มีพ่อแม่พี่น้องญาติโยมให้การดูแล ให้ความรักความอบอุ่นเต็มที่ แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง...
Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี
Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการเพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา วันที่ 10 มีนาคมของทุกปี ถือเป็นวัน Abortion Provider Appreciation Day หรือ วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการ ทั้งแพทย์ พยาบาล นักสังคม นักจิตวิทยา ผู้ให้การปรึกษา...
ศาล รธน. รับเรื่องร้องเรียนกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง กรณีแรกที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน #BalanceforBetter
วันสตรีสากล ปี 2562 เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี #BalanceforBetter โดยขอให้มีความเท่าเทียมกันในมิติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เพราะการตั้งครรภ์นั้น ไม่ได้เกิดจากผู้หญิงฝ่ายเดียว ต้องมีผู้ชายมีส่วนร่วมด้วยทุกครั้ง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับเรื่องร้องเรียนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง โดยคำร้องได้ให้เหตุผลว่า บทบัญญัติมาตรา 301 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560...
กฎหมายอาญามาตรา 301 กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง
กฎหมายอาญามาตรา 301 "หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" เป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิงเลย เพราะว่า กฎหมายนี้ เอาผิดกับผู้หญิงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่การท้องได้ต้องเกิดจากผู้หญิงและชายร่วมกัน กฎหมายนี้ ส่งผลให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมต้องหลบซ่อนไม่กล้าปรึกษาขอความช่วยเหลือ แล้วอาจไปลงเอยที่การทำแท้งเถื่อน กฎหมายนี้ ซ้ำเติมผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ ช่วงที่ชีวิตเปราะบางและอ่อนแอที่สุดให้เลวร้ายลงไปอีก
เรื่องจริงของความไม่ยุติธรรมนั้น คลิกอ่านได้ที่นี่ เรื่องของดา : https://rsathai.org/contents/13887เรื่องของพร : https://rsathai.org/contents/13838เรื่องของหนู : https://rsathai.org/contents/13912ขอบคุณเรื่องจากชีวิตจริงที่ทำให้สังคมออนไลน์ตื่นขึ้นจากความไม่เท่าเทียม
ความเป็นธรรมของกฎหมายอยู่ที่ไหน ?
การทำแท้งในประเทศไทยเป็นหนึ่งในบริการสุขภาพที่อยู่ภายใต้กฎหมายอาญา ในขณะที่ 74 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งจีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป การทำแท้งในประเทศไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 - 305 อธิบายโดยย่อให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ได้ดังต่อไปนี้
มาตรา 301 ผู้หญิงทำให้ตัวเองหรือให้คนอื่นทำให้แท้ง จะติดคุกถึงสามปี และ/หรือปรับถึงหกหมื่นบาท มาตรา 302 ใครไปทำให้แท้งโดยผู้หญิงยินยอม...
ทำไมต้องแก้กฎหมายเกี่ยวกับทำแท้ง ?
มาทำความเข้าใจกันก่อนนะ คือในโลกนี้มี 74 ประเทศที่การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป จึงไม่ต้องมีกฎหมายใดๆ มารองรับ ส่วนใหญ่คือประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจคือ จีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ส่วนไทยไม่ใช่หนึ่งในนั้นแน่นอน
เดิมบ้านเราก็ไม่มีกฎหมายทำแท้งนะ ผู้หญิงไทยแต่โบราณทำแท้งได้โดยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ ประมาณว่า การตัดสินใจว่าจะท้องต่อหรือไม่ท้องต่อนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่พอประเทศเรามาเริ่มพัฒนากฎหมายเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน ก็เลยเขียนกฎหมายนี้ตามประเทศเยอรมัน ให้การทำแท้งผิดกฎหมายอาญาทุกกรณี...