การเกิดจากท้องที่ตั้งใจต้องให้ผู้หญิงมีส่วนตัดสินใจเลือกเอง
ในทศวรรษนี้ สังคมไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญ นั่นคือ การเป็นสังคมสูงวัย ด้วยอัตราการเกิดที่ลดลง สวนทางกับสถิติแม่วัยรุ่นที่เพิ่มขึ้นและด้วยคำถามสำคัญถึงการเกิดและการมีชีวิตอยู่ อย่างมีคุณภาพของสังคมไทย เรื่องของท้องไม่พร้อมกับการเกิดจึงสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก โดยเฉพาะเมื่อมองจากมุมของสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ แต่ความยากลำบากอย่างยิ่งของการทำความเข้าใจเรื่องท้องไม่พร้อมกับการเกิดก็คือ การที่ร่างกายผู้หญิงเป็นพื้นที่ต่อสู้รองรับอุดมการณ์หลายอย่างเกินไป เริ่มจาก...
อุดมการณ์เรื่องเพศ ที่กำหนดแบบแผนปฏิบัติไว้อย่างแข็งตัว เช่น อนุญาตให้มีได้ในสถาบันการแต่งงานในวัยอันสมควร และในความสัมพันธ์ต่างเพศ ฯลฯ
อุดมการณ์เรื่องผู้ชายเป็นใหญ่ ที่ยอมรับอิทธิพลของผู้ชายในการกำหนดความเป็นไปของชีวิตทางสังคมมากกว่าผู้หญิง แม้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิงเองก็ตาม
อุดมการณ์ครอบครัวสมบูรณ์ ที่สร้างระบบคุณค่าให้ความสำคัญกับการเกิดและการมีลูก โดยวางเฉยไม่เห็นว่าความตั้งใจ/ไม่ตั้งใจท้อง หรือความพร้อม/ไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ของผู้หญิง
เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการตัดสินใจ ผู้หญิงจำนวนมากต้องเสียลละความต้องการ...
สาเหตุของการท้องไม่พร้อมในประเทศไทย
จากการรวบรวมงานศึกษาวิจัยต่างๆ รวมทั้งข้อมูลจากการให้บริการปรึกษาทางเลือก พบว่า สาเหตุที่ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมาจากปัจจัยต่างๆ โดยประมวลตามปัจจัยได้ ดังต่อไปนี้
สาเหตุจากที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้
ไม่ใช้วิธีการใดๆ ในการคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จากประสบการณ์ของสมาชิกเครือข่ายฯ ในการให้การปรึกษาทั้งตั้งต่อตัวและทางโทรศัพท์ พบว่าผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมกว่าร้อยละ 50 ตั้งครรภ์เพราะไม่ได้คุมกำเนิด
ใช้วิธีการคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง เช่น ลืมกินยา กินยาไม่ตรงเวลา ถุงยางอนามัยแตกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ไม่ไปฉีดยาตรงตามกำหนดนัด เป็นต้น
ใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การนับระยะปลอดภัย การหลั่งภายนอก หรือ การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีการคุมกำเนิดหลักแทนที่จะใช้เมื่อฉุกเฉินเท่านั้น
สาเหตุที่ทำให้การตั้งครรภ์นั้นไม่พร้อม
เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ความไม่พร้อมอาจจะมาจากเหตุในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
ด้านสุขภาพผู้หญิง
...
สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2560
ที่มา : กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข
รายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ออกรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561 โดยเน้น "พลังของทางเลือก" และมีชื่อรายงานเต็มว่า "พลังของทางเลือก: สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และการเปลี่ยนผ่านทางโครงสร้างประชากร" รายงานฉบับนี้นำเสนอมุมมองเชิงลึกเพื่อให้เห็นถึงพลังที่มาจากการได้เลือกจำนวนบุตร ช่วงเวลาในการมีบุตร และ ระยะเว้นห่างการมีบุตรว่าสามารถช่วยสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกได้อย่างไร
อ่านรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561
https://www.youtube.com/watch?v=u0qH40svEF8
ที่มา : https://thailand.unfpa.org/
Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี
Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการเพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา วันที่ 10 มีนาคมของทุกปี ถือเป็นวัน Abortion Provider Appreciation Day หรือ วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการ ทั้งแพทย์ พยาบาล นักสังคม นักจิตวิทยา ผู้ให้การปรึกษา...
ศาล รธน. รับเรื่องร้องเรียนกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง กรณีแรกที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน #BalanceforBetter
วันสตรีสากล ปี 2562 เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี #BalanceforBetter โดยขอให้มีความเท่าเทียมกันในมิติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เพราะการตั้งครรภ์นั้น ไม่ได้เกิดจากผู้หญิงฝ่ายเดียว ต้องมีผู้ชายมีส่วนร่วมด้วยทุกครั้ง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับเรื่องร้องเรียนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง โดยคำร้องได้ให้เหตุผลว่า บทบัญญัติมาตรา 301 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560...
ทำไมต้องแก้กฎหมายเกี่ยวกับทำแท้ง ?
มาทำความเข้าใจกันก่อนนะ คือในโลกนี้มี 74 ประเทศที่การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป จึงไม่ต้องมีกฎหมายใดๆ มารองรับ ส่วนใหญ่คือประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจคือ จีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ส่วนไทยไม่ใช่หนึ่งในนั้นแน่นอน
เดิมบ้านเราก็ไม่มีกฎหมายทำแท้งนะ ผู้หญิงไทยแต่โบราณทำแท้งได้โดยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ ประมาณว่า การตัดสินใจว่าจะท้องต่อหรือไม่ท้องต่อนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่พอประเทศเรามาเริ่มพัฒนากฎหมายเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน ก็เลยเขียนกฎหมายนี้ตามประเทศเยอรมัน ให้การทำแท้งผิดกฎหมายอาญาทุกกรณี...
การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา Medabon (ยาทำแท้ง) ในประเทศไทย
ปี 2555 ประเทศไทยได้นำยายุติการตั้งครรภ์ หรือ Medabon ซึ่งมีตัวยยามิฟิพริสโตน (หรือที่รู้จักในชื่อการค้า RU486) และ ไมโซโพรสตอล (ไซโตเทค) บรรจุในแผงเดียวกัน เพื่อใช้ในโครงการศึกษาวิจัยนำร่อง ผลการวิจัยพบว่า ยา Medabon มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการยุติตั้งครรภ์มากกว่าร้อยละ 95
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขึ้นทะเบียนยาตัวนี้ และบรรจุยาไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ในทางการแพทย์ และเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น มีให้บริการเฉพาะที่สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนสมัครรับยาจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อยาทำแท้งได้จากร้านยา...
ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย
2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก
2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ
2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...
ข่าวดี !! ลูกจ้างในโรงงานได้รับสิทธิด้านการตั้งครรภ์
กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561 เพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างวัยรุ่น (อายุ 15-20 ปีบริบูรณ์) ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การฝากครรภ์ และการทำแท้งที่ปลอดภัย ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการจะต้องจัดระบบส่งต่อให้วัยรุ่นที่ตั้งท้องได้รับสวัสดิการทางสังคม และบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมต่อไป ผู้สื่อข่าวสังเกตว่าลูกจ้างและนายจ้างรับรู้กฎกระทรวงนี้ค่อนข้างน้อย และไม่มีบทลงโทษกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างวัยรุ่นเข้าไม่ถึงสิทธิที่จำเป็น
รายงานจากการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น...