ทางเลือกท้องไม่พร้อม

สิทธิทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม คือ หนึ่งในสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ที่กล่าวไว้ว่า

“สิทธิในการเลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่ ตามความพร้อมของร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ โดยไม่มีเงื่อนไขอุปสรรคจากศาสนา ประเพณี และกฏหมาย”

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคน มีสิทธิที่จะได้รับบริการดูแลทั้งด้านสุขภาพกายและใจ เช่น การตรวจตั้งครรภ์ การรับคำปรึกษา และการดูแลรักษาจากแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักสาธารณสุข โดยไม่มีการเลือกปฎิบัติ ไม่ว่าการตั้งครรภ์นั้นจะมีความพร้อมหรือไม่
โดยทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อม มีสองแนวทางหลัก
คือ ตั้งครรภ์ต่อ และยุติการตั้งครรภ์

ทางเลือกของคนที่ท้องไม่พร้อมแต่ไม่อยากยุติการตั้งครรภ์

0
ไม่ใช่ทุกคนที่ท้องไม่พร้อมจะเลือกยุติการตั้งครรภ์ หากคุณต้องการเก็บลูกไว้หรือยังลังเล นี่คือทางเลือกที่สามารถพิจารณาได้ 1. เลี้ยงดูลูกด้วยตัวเอง ขอความช่วยเหลือจากครอบครัว คนใกล้ชิด หรือองค์กรสนับสนุนแม่วัยรุ่น วางแผนชีวิตใหม่ เช่น เรียนทางไกล ทำงานพาร์ทไทม์ เข้ารับบริการฝากครรภ์และตรวจสุขภาพทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ หาข้อมูลสวัสดิการ การช่วยเหลือจากภาครัฐ ทั้งการฝากครรภ์ และการเลี้ยงบุตร 2. ยกให้ผู้อื่นอุปการะ สามารถดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย เช่น สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนทั้งภาครัฐและเอกชน มีทั้งแบบเปิดเผยตัวตนและไม่เปิดเผย เหมาะกับคนที่ไม่พร้อมเลี้ยงดูแต่ไม่ต้องการทำแท้ง การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้คุณประเมินทางเลือกต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online : https://abortion.rsathai.orgหรือ Line Official...

ท้องไม่พร้อม…ในฐานะคนใกล้ชิด เราควรอยู่ข้างเขายังไง

0
เมื่อคนที่เรารักหรือห่วงใยกำลังเผชิญกับภาวะ “ท้องไม่พร้อม” หลายครั้งเรารู้สึกอยากช่วย อยากให้เขาตัดสินใจ “ถูก” แต่สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดอาจไม่ใช่คำแนะนำ แต่คือ พื้นที่ปลอดภัยและความเข้าใจ สิ่งที่ควรทำ ฟังโดยไม่ตัดสิน  ฟังเขาอย่างตั้งใจ ไม่เร่ง ไม่บังคับให้ตัดสินใจเร็ว ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง  แนะนำให้เขาเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือบริการที่ปลอดภัย เช่น RSA Online ถามว่าเขาต้องการความช่วยเหลือแบบไหน  บางคนต้องการแค่คนอยู่ข้าง ๆ ไม่ได้ต้องการคำตอบ ให้กำลังใจ และย้ำว่าเขาไม่จำเป็นต้องเผชิญคนเดียว  แสดงออกว่าเราจะอยู่ตรงนี้ ไม่ว่าทางเลือกของเขาคืออะไร สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง อย่าพูดว่า “ไม่ควรท้องตั้งแต่แรก” หรือ “บอกแล้วใช่ไหม” อย่าบีบบังคับให้เขาทำในสิ่งที่คุณคิดว่าดี อย่าคิดแทนว่าเขาควรยุติหรือควรเก็บไว้ การเป็น...

ท้องไม่พร้อม ทำไงดี

0
เมื่อรู้ว่าท้องโดยไม่ตั้งใจ ความรู้สึกสับสน วิตกกังวล หรือกลัว เป็นเรื่องปกติแต่สิ่งสำคัญคือ “คุณไม่จำเป็นต้องเผชิญสิ่งนี้เพียงลำพัง”ยังมีทางเลือกและหน่วยงานที่พร้อมช่วยเหลือคุณอย่างปลอดภัย 1. ตรวจให้ชัดเจนก่อนว่า "ท้องจริงหรือไม่" ใช้ชุดตรวจปัสสาวะแบบบ้าน หรือตรวจเลือดที่สถานพยาบาล หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที 2. ประเมินตัวเอง และขอคำปรึกษา คุณมีความพร้อมจะตั้งครรภ์ต่อหรือไม่ หากไม่พร้อม ควรพูดคุยกับบุคลากรที่เข้าใจ เช่น นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา หรือทีมแพทย์ 3. ทางเลือกหากท้องไม่พร้อม ตั้งครรภ์ต่อและเลี้ยงดูด้วยตนเอง ยกเด็กให้ครอบครัวอื่นอุปการะ ยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ภายใต้การดูแลของแพทย์และตามกฎหมาย สิ่งสำคัญคือ อย่าด่วนตัดสินใจเพียงลำพัง คุณมีสิทธิเลือกสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง และคุณมีสิทธิรับข้อมูลที่ถูกต้อง ปลอดภัย และไม่ถูกตัดสิน ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA...

แม่วัยรุ่นมีสิทธิ์เรียนต่อหรือไม่?

0
ใช่ แม่วัยรุ่น มีสิทธิ์เรียนต่อ ตามกฎหมาย โดยสถานศึกษาต้องไม่ปฏิเสธการให้โอกาสทางการศึกษากับนักเรียนที่ตั้งครรภ์ โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งต้องคุ้มครองสิทธิของแม่วัยรุ่นให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม กฎหมายและนโยบายที่คุ้มครองแม่วัยรุ่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้สิทธิทุกคนในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จัดให้มีระบบการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนหรือนักศึกษา ซึ่งตั้งครรภ์ ให้ได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมและต่อเนื่อง รวมทั้งจัดให้มีระบบ การส่งต่อให้ได้รับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ และการจัดสวัสดิการสังคม อย่างเหมาะสม   นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนนักศึกษาที่ตั้งครรภ์สามารถเรียนต่อในสถานศึกษาเดิมได้อย่างปกติ โดยไม่ถูกกดดันให้ออกจากสถานศึกษาเดิม เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของนักเรียนนักศึกษา ต้องจัดการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นสำหรับแม่วัยรุ่น สิทธิของแม่วัยรุ่นในระบบการศึกษา มีสิทธิ์กลับไปเรียนต่อในโรงเรียนเดิม หรือย้ายไปโรงเรียนได้ตามความสมัครใจ มีสิทธิ์เข้าร่วมการสอบและได้รับวุฒิการศึกษา มีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนจากสถานศึกษา เช่น หลักสูตรเรียนทางไกลหรือหลักสูตรเร่งรัด สถานศึกษาต้อง...

จะเลี้ยงลูกคนเดียวได้อย่างไร หากไม่มีคนช่วยเหลือ

0
ปรับตัวและวางแผนชีวิตหลังคลอด การเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวอาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่การวางแผนที่ดีจะช่วยให้คุณรับมือกับสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น เช่น การจัดสรรเวลา ดูแลสุขภาพ และเตรียมแผนการเงิน ขอความช่วยเหลือจากแหล่งสนับสนุน แม้ว่าคุณอาจไม่มีคู่หรือครอบครัวช่วยเหลือโดยตรง แต่ยังมีองค์กรหรือหน่วยงานที่สามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือ เช่น กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว  ศูนย์ประสานงานแม่เลี้ยงเดี่ยวและครอบครัว  บริหารการเงินให้มั่นคง การมีลูกต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม การวางแผนการเงินล่วงหน้าจะช่วยลดความเครียด ควรตั้งงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายของลูกและหาทางเลือกที่ประหยัด เช่น การขอรับสิทธิประโยชน์จากรัฐ ดูแลสุขภาพจิตของตัวเอง การเลี้ยงลูกคนเดียวอาจทำให้รู้สึกเครียดและโดดเดี่ยว ควรหาเวลาพักผ่อน และมองหากลุ่มสนับสนุนที่ช่วยให้คุณไม่รู้สึกโดดเดี่ยว วางแผนอนาคตของลูก ควรเตรียมแผนด้านการศึกษาของลูก และหาทางเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณ เช่น การศึกษาฟรีหรือทุนการศึกษา คุณสามารถเลี้ยงลูกคนเดียวได้ แต่คุณจะไม่โดดเดี่ยว แม้จะเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่คุณสามารถสร้างเส้นทางของตัวเองได้โดยการวางแผน จัดการทรัพยากร และขอรับการสนับสนุนจากแหล่งช่วยเหลือที่มีอยู่ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ...

ท้องไม่พร้อม ควรปรึกษาใครดี? แหล่งช่วยเหลือที่คุณเข้าถึงได้

0
ท้องไม่พร้อม ไม่ควรเผชิญปัญหาคนเดียว เมื่อตั้งครรภ์ไม่พร้อม ความรู้สึกสับสน วิตกกังวล และกลัวเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่สำคัญคือ คุณไม่ได้อยู่คนเดียว มีหลายหน่วยงานและบุคคลที่สามารถให้คำปรึกษาและช่วยเหลือคุณได้ การปรึกษาผู้ที่เข้าใจสามารถช่วยให้คุณได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และช่วยคุณประเมินทางเลือกที่เหมาะสม ใครที่สามารถให้คำปรึกษาเรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อม? ครอบครัวหรือคนที่ไว้ใจได้ หากรู้สึกสบายใจพอ คุณสามารถพูดคุยกับ พ่อแม่ ญาติ หรือเพื่อนสนิท ที่พร้อมรับฟังและช่วยเหลือ คำแนะนำจากคนที่ห่วงใยคุณอาจช่วยให้คุณมองเห็นทางเลือกที่คุณไม่เคยคิดถึง หน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม RSA Online: ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและทางเลือกที่ปลอดภัย ศูนย์สุขภาพทางเพศของโรงพยาบาลรัฐ: โรงพยาบาลหลายแห่งมีแผนกที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการตั้งครรภ์ บุคลากรทางการแพทย์ แพทย์และพยาบาล สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ สุขภาพของคุณ และแนวทางในการดูแลตนเอง หากคุณพิจารณายุติการตั้งครรภ์ แพทย์สามารถแนะนำวิธีที่ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย ถ้ายังไม่พร้อมปรึกษาใคร ควรทำอย่างไร? หากยังไม่กล้าบอกใคร การเริ่มต้นด้วย...

ท้องไม่พร้อม ควรเริ่มต้นพูดคุยกับใคร

0
ควรเริ่มต้นพูดคุยกับใครเมื่อตั้งครรภ์ไม่พร้อม? เมื่อพบว่าตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม อาจเกิดความรู้สึกกลัว เครียด และไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร การพูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้จะช่วยให้คุณได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและมีแนวทางในการตัดสินใจที่ดีขึ้น พูดคุยกับตัวเองก่อน ให้เวลาตัวเองทำความเข้าใจกับสถานการณ์ สำรวจความรู้สึกและความต้องการของตนเอง ลองพิจารณาหาทางเลือกที่เป็นไปได้ และส่งผลกระทบน้อยที่สุด ปรึกษาคู่ของคุณ (หากเป็นไปได้) หากมีความสัมพันธ์ที่ดี ควรเปิดใจพูดคุยถึงทางเลือกที่เหมาะสม แชร์ความกังวลและตัดสินใจร่วมกัน คนที่สามารถให้คำปรึกษาได้ ครอบครัวหรือเพื่อนสนิท หากมีคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ การพูดคุยจะช่วยให้คุณรู้สึกไม่โดดเดี่ยว ขอความช่วยเหลือทางอารมณ์หรือคำแนะนำในการตัดสินใจ องค์กรหรือหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ศูนย์ให้คำปรึกษาสุขภาพทางเพศ เช่น RSA Online โรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีบริการปรึกษาสุขภาพทางเพศ แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ แพทย์สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกที่ปลอดภัย ทั้งการฝากครรภ์และการยุติการตั้งครรภ์ ให้คำแนะนำด้านสุขภาพและแนวทางในการดูแลตัวเอง หากไม่พร้อมพูดคุยกับใคร ควรทำอย่างไร? หากยังไม่พร้อมที่จะบอกใครหรือรู้สึกกังวลเกี่ยวกับปฏิกิริยาของคนรอบข้าง การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผ่านช่องทางออนไลน์ หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือโดยไม่เปิดเผยตัวตน อาจเป็นทางเลือกที่ดี ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ติดต่อเราได้ที่นี่ RSA Online : https://abortion.rsathai.orgLine Official :...

เข้าใจสุขภาพจิตของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและแนวทางการดูแล

0
การตั้งครรภ์ไม่พร้อมเป็นภาวะที่สร้างความเครียด ความวิตกกังวล และส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้หญิงหลายคน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกกลัว อับอาย รู้สึกผิด หรือแม้แต่ภาวะซึมเศร้า หากไม่มีการดูแลทางจิตใจที่ดี อาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิตระยะยาวได้ การเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้น และรู้แนวทางการดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ 1. ผลกระทบทางจิตใจของผู้ที่เผชิญภาวะท้องไม่พร้อม 1. ความเครียดและความวิตกกังวล กังวลเกี่ยวกับอนาคต การเงิน การศึกษา หรือการยอมรับจากครอบครัวและสังคม คิดมากเกี่ยวกับการตัดสินใจว่าจะตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์ 2. ความรู้สึกผิดและความกดดันทางสังคม บางคนรู้สึกผิดเพราะกลัวว่าตนเองทำผิดศีลธรรม สังคมอาจสร้างแรงกดดันให้ต้องทำในสิ่งที่ไม่ตรงกับความต้องการของตัวเอง 3. ภาวะซึมเศร้า บางคนอาจรู้สึกโดดเดี่ยว สูญเสียความมั่นใจ หรือไม่สามารถหาทางออกได้ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ อาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาทางอารมณ์ในระยะยาว 2. แนวทางการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่เผชิญการตั้งครรภ์ไม่พร้อม 1. หาคนที่สามารถพูดคุยและให้กำลังใจได้ พูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ เช่น เพื่อนสนิท...

การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมในไทย มีกระบวนการอย่างไร

0
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถมีบุตร หรือผู้ที่ต้องการให้โอกาสแก่เด็กที่ขาดครอบครัว การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถให้ชีวิตใหม่แก่เด็กและสร้างครอบครัวที่อบอุ่นได้ แต่การรับบุตรบุญธรรมในประเทศไทย ต้องดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าทั้งเด็กและผู้รับเลี้ยงจะได้รับสิทธิที่ถูกต้อง 1. ใครสามารถขอรับบุตรบุญธรรมได้ ตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีคุณสมบัติดังนี้ มีอายุ 25 ปีขึ้นไป และต้องมีอายุมากกว่าเด็กอย่างน้อย 15 ปี เป็นผู้มี ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย อย่างน้อย 6 เดือน ก่อนยื่นคำขอ มีความสามารถในการเลี้ยงดูและดูแลเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี หากเป็น คู่สมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน 2. กระบวนการรับบุตรบุญธรรมในประเทศไทย 1. ยื่นคำขอรับบุตรบุญธรรม ยื่นใบสมัครที่ กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แสดงเอกสาร...

คลอดลูกแล้วอยากเรียนต่อ ต้องทำอย่างไร

0
สำหรับผู้หญิงหลายคน การตั้งครรภ์ไม่พร้อมอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา แต่การมีลูกไม่ได้หมายความว่าต้องหยุดเรียนเสมอไป ปัจจุบันมีทางเลือกที่ช่วยให้แม่วัยรุ่นสามารถศึกษาต่อได้ โดยไม่ต้องเสียอนาคต 1. วางแผนและจัดลำดับความสำคัญ หลังคลอด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวางแผนทั้งเรื่องการดูแลลูกและการกลับไปเรียน กำหนดเป้าหมายการศึกษา เช่น ต้องการเรียนต่อระดับไหน เรียนเต็มเวลาหรือแบบออนไลน์ จัดลำดับความสำคัญ ระหว่างการดูแลลูก และการเรียน ขอคำแนะนำจากครู ที่ปรึกษา หรือองค์กรที่ช่วยเหลือแม่วัยรุ่น 2. ทางเลือกในการเรียนต่อสำหรับแม่วัยรุ่น ทางเลือกรายละเอียดเรียนต่อในโรงเรียนเดิมโรงเรียนหลายแห่งมีโครงการช่วยเหลือแม่วัยรุ่นเพื่อให้สามารถเรียนต่อได้เรียนผ่านระบบการศึกษาทางเลือก (กศน.)สำหรับผู้ที่ต้องการยืดหยุ่นเวลาเรียนให้เหมาะกับการดูแลลูกเรียนออนไลน์หรือมหาวิทยาลัยเปิดช่วยให้สามารถเรียนจากที่บ้าน และบริหารเวลาการดูแลลูกได้ดีขึ้นขอทุนการศึกษาสำหรับแม่วัยรุ่นมีหลายองค์กรที่สนับสนุนทุนการศึกษาให้ผู้ที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว 3. ขอรับการสนับสนุนจากครอบครัวหรือองค์กรช่วยเหลือ ขอความช่วยเหลือจาก ครอบครัว หรือผู้ที่สามารถช่วยดูแลลูกได้ ติดต่อองค์กรที่ให้การสนับสนุนแม่วัยรุ่น เช่น มูลนิธิเพื่อเด็กและสตรี หรือบ้านพักเด็กและครอบครัว หาเครือข่ายของแม่วัยรุ่นที่เคยผ่านประสบการณ์คล้ายกัน...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
ฉันต้องการทำแท้ง
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย