ถามมาบ่อย “อาการแบบนี้ใช่ท้องไหม?”
Q: พุงป่อง แต่ประจำเดือนมาทุกเดือน แบบนี้จะท้องไหม?
A: ถ้าประจำเดือนมาปกติทุกเดือน โอกาสท้องค่อนข้างน้อย แต่ถ้าเคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และกังวลจริง ๆ แนะนำให้ตรวจครรภ์เพื่อความชัวร์ เพราะอาการ “พุงป่อง” อย่างเดียวไม่พอจะบอกว่าใช่หรือไม่ใช่การตั้งครรภ์
Q: ประจำเดือนยังไม่มา แต่มีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยาง แบบนี้จะท้องไหม?
A: ถ้าใช้ถุงยาง “ถูกวิธี” และไม่มีรั่ว/หลุด โอกาสท้องน้อยมาก แต่หากกังวล หรือจำไม่ได้ว่าใช้ถูกไหมแนะนำให้ตรวจครรภ์หลังมีเพศสัมพันธ์ 14 วัน...
ถามมาบ่อย “ทำแบบนี้ท้องไหม?”
Q: Oral sex หรือหลั่งในปาก ท้องไหม?
A: ไม่ค่ะ เพราะไม่มีการสัมผัสอสุจิกับช่องคลอดโดยตรง แต่อาจเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ได้
Q: ใช้นิ้วช่วย แต่ไม่รู้ว่านิ้วเปื้อนอสุจิไหม แบบนี้จะท้องไหม?
A: โอกาสเป็นศูนย์ อสุจิต้องเข้าสู่ช่องคลอดโดยตรง และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมถึงจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้
Q: ถูไถภายนอกแต่ไม่ได้สอดใส่ จะท้องไหม?
A: หากไม่มีการสอดใส่ ไม่มีโอกาสตั้งครรภ์
Q: มีเพศสัมพันธ์ตอนมีประจำเดือน จะท้องไหม?
A: ส่วนใหญ่โอกาสน้อยมาก แต่ถ้ารอบเดือนสั้น...
RSA ช่วยอะไรได้บ้างในวันที่คุณไม่รู้จะพึ่งใคร
ถ้าคุณรู้ตัวว่าท้องไม่พร้อม แต่ไม่กล้าคุยกับใคร ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน หรือไม่อยากให้ใครรู้แม้แต่ชื่อของคุณ RSA คือที่ที่คุณเริ่มได้ทันที โดยไม่มีใครตัดสินคุณ
ทำไมหลายคนเลือกปรึกษา RSA?
พิมพ์มาคุยได้เลย ไม่ต้องใช้ชื่อจริง
ได้ข้อมูลครบทุกทางเลือก ทั้งการตั้งครรภ์ต่อ การยุติ และการขอคำปรึกษาเพิ่มเติม
ไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่ถูกเร่งรัดให้ตัดสินใจ
ปรึกษาเรื่องอะไรได้บ้าง?
สงสัยว่าท้องไหม จะตรวจยังไงให้ชัวร์
ถ้าไม่พร้อมจะท้องต่อ จะมีทางเลือกอะไร
ถ้าอยากยุติการตั้งครรภ์ ต้องเริ่มจากอะไร
เรื่องค่าใช้จ่ายหรือสถานที่ปลอดภัยใกล้ตัว
คุณไม่จำเป็นต้องมีคำตอบตอนนี้ แค่เริ่มต้นด้วยข้อความสั้น ๆ เช่น “คิดว่าท้องค่ะ” RSA พร้อมฟัง และอยู่ข้างคุณ
ติดต่อ RSA...
ก็ถูกกฎหมายแล้ว แต่ทำไมถึงซื้อยาจากอินเตอร์เน็ตไม่ได้
หลายคนสงสัยว่า… “ในเมื่อการยุติการตั้งครรภ์ในไทยทำได้ถูกกฎหมายแล้ว ทำไมเราถึงยังซื้อยาออนไลน์เองไม่ได้?” คำตอบคือ เพราะแม้จะถูกกฎหมาย แต่การยุติการตั้งครรภ์ต้องมี ‘กระบวนการดูแล’ ที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับแต่ละคน
3 เหตุผลสำคัญที่ “ไม่ควรซื้อยาเองจากอินเทอร์เน็ต”
ไม่รู้ว่ายาเป็นของจริงหรือเปล่า
ยาที่ขายออนไลน์อาจเป็นของปลอม หมดอายุ หรือยาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์เลย
บางครั้งระบุชื่อผิด ใช้ภาษาคลุมเครือ ทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิด
ไม่รู้ว่าเหมาะกับอายุครรภ์ตัวเองไหม
การใช้ยาทำแท้งมีข้อจำกัด เช่น หากใช้ยาที่บ้านอายุครรภ์ไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์
ถ้าอายุครรภ์มากกว่านั้น ต้องทำในสถานพยาบาลและพักค้าง
ไม่มีคนดูแลหากเกิดภาวะแทรกซ้อน
ถ้ามีเลือดออกมาก ปวดท้องรุนแรง หรือแท้งไม่สมบูรณ์
การไม่มีทีมแพทย์ติดตาม อาจนำไปสู่การติดเชื้อหรือเสียชีวิตได้
แล้วถ้าท้องไม่พร้อม ต้องทำยังไง?
ไม่ต้องหายาเอง ไม่ต้องเสี่ยงกับคนแปลกหน้าในอินเทอร์เน็ต ...
เคยทำพลาดมาแล้ว กลัวซ้ำอีก ต้องเริ่มจากอะไร
คุณอาจเคยผ่านเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกเคยท้องไม่พร้อม เคยใช้ยาฉุกเฉิน เคยยุติการตั้งครรภ์หรือเคยรู้สึกว่า “น่าจะป้องกันได้ดีกว่านี้” ถ้าตอนนี้คุณรู้สึกกลัวว่าจะ “พลาดอีก” อย่าตำหนิตัวเองแค่เริ่มต้นใหม่ ด้วยวิธีที่เหมาะกับตัวเอง ก็เพียงพอแล้ว
เริ่มจากถามตัวเองตรง ๆ ว่า…
วิธีที่เคยใช้มาก่อนคืออะไร?
มันพลาดเพราะอะไร — ลืมกิน? ใช้ผิด? ไม่ได้ใช้เลย?
ตอนนี้ชีวิตเราเปลี่ยนไปยังไงบ้าง? มีแฟนประจำหรือเปล่า? มีเวลาจัดการชีวิตไหม?
คำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะกับตัวเองมากขึ้น
วิธีเริ่มต้นใหม่อย่างมั่นใจ
เลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะกับตัวเองจริง ๆ ไม่ต้องฝืนใช้แบบที่ไม่ถนัด หรือทำให้เครียด
หาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจ หาข้อมูลจากแหล่งที่เชื้อถือได้ หรือปรึกษา RSA ช่วยให้คำแนะนำแบบไม่ตัดสิน...
เจ็บตรงไหนไม่เท่าเจ็บในใจ ดูแลจิตใจหลังการยุติ
หลายคนเข้าใจว่าเมื่อการยุติการตั้งครรภ์ผ่านไป ทุกอย่างจะจบแต่ความจริงคือ บางความรู้สึกยังไม่จากไปพร้อมกับร่างกายบางคนรู้สึกโล่งใจ บางคนรู้สึกผิด บางคนเศร้า และบางคนก็ไม่รู้จะรู้สึกยังไงดี
วิธีดูแลจิตใจของตัวเองในช่วงเวลาแบบนี้
ให้เวลากับตัวเอง ไม่ต้องรีบรู้สึกดีขึ้นทันที ไม่ต้องแสร้งเข้มแข็ง ถ้ายังไม่พร้อม
ไม่ตัดสินตัวเอง การรู้สึกเจ็บหรือเศร้า ไม่ได้แปลว่าคุณตัดสินใจผิด
พูดกับคนที่ฟังคุณอย่างเข้าใจ เพื่อนสนิท พี่น้อง หรือที่ปรึกษาที่ไม่ตัดสิน
ขอความช่วยเหลือเมื่อรู้สึกไม่ไหว ถ้าอารมณ์เศร้าไม่หายไปเลย หรือกระทบกับการใช้ชีวิต คุณสามารถพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางจิตใจได้ หรือเริ่มจากปรึกษาแบบไม่เปิดเผยตัวตนผ่าน RSA
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลจิตใจหลังยุติการตั้งครรภ์ ติดต่อเราได้ที่นี่ ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online :...
ยุติแล้วจะมีลูกได้อีกไหม?
“ถ้าทำแท้งแล้วจะมีลูกไม่ได้อีก” คือหนึ่งในความกลัวที่คนท้องไม่พร้อมได้ยินบ่อยที่สุด แต่ในความเป็นจริง ข้อมูลทางการแพทย์ให้คำตอบชัดเจนว่า “ไม่ใช่แบบนั้น”
ความจริงจากมุมแพทย์
หากยุติการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีที่ปลอดภัย และอยู่ในความดูแลของแพทย์ โอกาสในการมีบุตรในอนาคตจะ ไม่ลดลง
ร่างกายสามารถกลับเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ได้ในเวลาไม่นาน
บางคนสามารถตั้งครรภ์ใหม่ได้เร็วหลังจากประจำเดือนกลับมา
ความเสี่ยงเกิดจากอะไร?
การทำแท้งไม่ปลอดภัย หรือใช้ยาผิดวิธีโดยไม่มีการดูแล อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ
หากมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูกเสียหายจากหัตถการที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ได้
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการฟื้นตัวหลังยุติการตั้งครรภ์ ติดต่อเราได้ที่นี่
ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online : https://abortion.rsathai.orgLine Official : @rsathaiInbox Facebook Page : rsathaiบริการให้คำปรึกษาออนไลน์...
หลังยุติการตั้งครรภ์ ประจำเดือนจะกลับมาเมื่อไหร่
หลายคนสงสัยหลังจากยุติการตั้งครรภ์ “ประจำเดือนจะกลับมาเมื่อไหร่?”โดยทั่วไป ประจำเดือนจะกลับมาในช่วง...
4–6 สัปดาห์ หลังการยุติการตั้งครรภ์ ร่างกายจะเริ่มปรับระดับฮอร์โมนให้เข้าสู่ภาวะปกติ ระยะเวลานี้อาจเร็วหรือช้ากว่านี้เล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละคน
สิ่งที่ควรสังเกต
ประจำเดือนรอบแรกอาจมีลักษณะไม่เหมือนเดิม เช่น มากหรือน้อยกว่าปกติ
หากประจำเดือนไม่มานานเกิน 8 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์
หากมีเลือดออกติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ หรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ ควรรีบพบแพทย์ทันที
ต้องการคำปรึกษาหลังยุติการตั้งครรภ์ ติดต่อเราได้ที่นี่
ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online : https://abortion.rsathai.orgLine Official :...
เตรียมร่างกายก่อนยุติยังไง
การยุติการตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ต้องใช้การตัดสินใจอย่างรอบคอบ เมื่อคุณตัดสินใจได้แล้ว การเตรียมร่างกายและสภาพจิตใจให้พร้อม จะช่วยให้กระบวนการปลอดภัย และฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
สิ่งที่ควรทำก่อนเข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์
พักผ่อนให้เพียงพอ อย่านอนดึกก่อนวันนัด เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด
กินอาหารให้เหมาะสม
หากแพทย์แจ้งว่าสามารถทานอาหารได้ตามปกติ ให้ทานก่อนเข้ารับบริการ
ถ้าแพทย์แนะนำให้งดอาหาร เช่น ในกรณีใช้ยาสลบ ควรงดตามคำแนะนำ
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระหว่างหรือหลังการรักษา
จัดเตรียมผ้าอนามัยหรือแผ่นรองซับ หลังใช้ยาอาจมีเลือดออกคล้ายประจำเดือน
พาคนที่ไว้ใจไปด้วยหากรู้สึกไม่มั่นใจ ไม่จำเป็นต้องไปคนเดียวเสมอ คุณสามารถมีคนที่คุณสบายใจไปด้วยได้
ตั้งคำถามที่อยากรู้ไว้ล่วงหน้า เช่น ผลข้างเคียง, การดูแลหลังใช้ยา, การติดตามอาการ เพื่อให้คุณมั่นใจและพร้อมมากขึ้นก่อนเริ่มกระบวนการ
การเตรียมร่างกายเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลตัวเองอย่างรับผิดชอบ คุณมีสิทธิได้รับข้อมูลครบถ้วน และการดูแลที่ปลอดภัยในทุกขั้นตอน
ต้องการคำปรึกษาก่อนยุติการตั้งครรภ์ ติดต่อเราได้ที่นี่ ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม...
ยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ใกล้ฉัน
หากคุณกำลังท้องไม่พร้อม และตัดสินใจที่จะยุติการตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ความปลอดภัย” และ “การดูแลจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญ” ปัจจุบันการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทยสามารถทำได้อย่างถูกกฎหมาย และมีสถานพยาบาลจำนวนมากที่ให้บริการอย่างปลอดภัย ใกล้บ้านของคุณ
ที่ไหนให้บริการได้บ้าง?
โรงพยาบาลในเครือข่าย RSA
ให้บริการตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข
มีทีมแพทย์ให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด
คลินิกหรือหน่วยบริการที่ผ่านการรับรอง
เช่น คลินิกเวชกรรมที่เข้าร่วมกับเครือข่าย RSA
มีแพทย์ที่ผ่านการอบรมเรื่องการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ต้องทำอย่างไรถึงจะเข้าใช้บริการได้?
ติดต่อทีมปรึกษา RSA เพื่อดูว่าสถานที่ใดใกล้คุณที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนทันที RSA จะช่วยประสานงาน และให้ข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็น
ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับสถานที่ยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ติดต่อเราได้ที่นี่ ระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม RSA Online : https://abortion.rsathai.orgLine...