การยุติการตั้งครรภ์คืออะไร และทำได้อย่างไรในประเทศไทย
การยุติการตั้งครรภ์คืออะไร และทำได้อย่างไรในประเทศไทย
การยุติการตั้งครรภ์คืออะไร?
การยุติการตั้งครรภ์ (Abortion) เป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ที่ตั้งครรภ์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย โดยมีทั้งวิธีใช้ยาและการดูดสุญญากาศ ซึ่งต้องดำเนินการภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับบริการได้รับการดูแลที่ปลอดภัยและเหมาะสม
การยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทยทำได้ถึงกี่สัปดาห์?
ตามกฎหมายไทย ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์: สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่มีเงื่อนไข
อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์: สามารถทำได้ โดยต้องเข้ารับบริการปรึกษาทางเลือก
ทุกอายุครรภ์: สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้หาก ผู้ตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 15 ปี มีความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและสุขภาพจิตของผู้ตั้งครรภ์ ตัวอ่อนมีความผิดปกติรุนแรง หรือเกิดจากการล่วงละเมินทางเพศ โดยไม่ต้องแจ้งความ
วิธีการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
การใช้ยา (Medical...
ยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา VS การดูดสุญญากาศ ต่างกันอย่างไร
การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา (Medical Abortion)
การใช้ยาเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สำหรับอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถใช้ยาด้วยตัวเองที่บ้าน โดยได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หากอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ สามารถใช้ยายุติการตั้งครรภ์ได้ อาจมีการพักค้างที่สถานพยาบาล
กระบวนการ
ใช้ ไมเฟพริสโตน (Mifepristone) เพื่อยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน ทำให้ผนังมดลูกไม่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
ใช้ ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) ทำให้ปากมดลูกนิ่ม ทำให้มดลูกบีบตัวและขับเนื้อเยื่อออก คล้ายกับการทำแท้งตามธรรมชาติ
ข้อดี
มีความเป็นส่วนตัว สามารถทำที่บ้านได้
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย
ข้อจำกัด
มีเลือดออกคล้ายการมีประจำเดือนหลายวัน
อาจมีอาการปวดท้อง...
เข้าใจสุขภาพจิตของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและแนวทางการดูแล
เข้าใจสุขภาพจิตของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและแนวทางการดูแล
การตั้งครรภ์ไม่พร้อมเป็นภาวะที่สร้างความเครียด ความวิตกกังวล และส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้หญิงหลายคน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกกลัว อับอาย รู้สึกผิด หรือแม้แต่ภาวะซึมเศร้า
หากไม่มีการดูแลทางจิตใจที่ดี อาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิตระยะยาวได้ การเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้น และรู้แนวทางการดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ
1. ผลกระทบทางจิตใจของผู้ที่เผชิญภาวะท้องไม่พร้อม
1. ความเครียดและความวิตกกังวล
กังวลเกี่ยวกับอนาคต การเงิน การศึกษา หรือการยอมรับจากครอบครัวและสังคม
คิดมากเกี่ยวกับการตัดสินใจว่าจะตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์
2. ความรู้สึกผิดและความกดดันทางสังคม
บางคนรู้สึกผิดเพราะกลัวว่าตนเองทำผิดศีลธรรม
สังคมอาจสร้างแรงกดดันให้ต้องทำในสิ่งที่ไม่ตรงกับความต้องการของตัวเอง
3. ภาวะซึมเศร้า
บางคนอาจรู้สึกโดดเดี่ยว สูญเสียความมั่นใจ หรือไม่สามารถหาทางออกได้
หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ อาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาทางอารมณ์ในระยะยาว
2. แนวทางการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่เผชิญการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
1. หาคนที่สามารถพูดคุยและให้กำลังใจได้
พูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ เช่น เพื่อนสนิท...
ท้องไม่พร้อม ควรปรึกษาใครดี? แหล่งช่วยเหลือที่คุณเข้าถึงได้
เมื่อตั้งครรภ์ไม่พร้อม ความรู้สึกสับสน วิตกกังวล และกลัวเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่สำคัญคือ คุณไม่ได้อยู่คนเดียว มีหลายหน่วยงานและบุคคลที่สามารถให้คำปรึกษาและช่วยเหลือคุณได้ การปรึกษาผู้ที่เข้าใจสามารถช่วยให้คุณได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และช่วยคุณประเมินทางเลือกที่เหมาะสม
ใครที่สามารถให้คำปรึกษาเรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อม?
ครอบครัวหรือคนที่ไว้ใจได้
หากรู้สึกสบายใจพอ คุณสามารถพูดคุยกับ พ่อแม่ ญาติ หรือเพื่อนสนิท ที่พร้อมรับฟังและช่วยเหลือ
คำแนะนำจากคนที่ห่วงใยคุณอาจช่วยให้คุณมองเห็นทางเลือกที่คุณไม่เคยคิดถึง
หน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
RSA Online: ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและทางเลือกที่ปลอดภัย
ศูนย์สุขภาพทางเพศของโรงพยาบาลรัฐ: โรงพยาบาลหลายแห่งมีแผนกที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการตั้งครรภ์
บุคลากรทางการแพทย์
แพทย์และพยาบาล สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ สุขภาพของคุณ และแนวทางในการดูแลตนเอง
หากคุณพิจารณายุติการตั้งครรภ์ แพทย์สามารถแนะนำวิธีที่ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย
ถ้ายังไม่พร้อมปรึกษาใคร ควรทำอย่างไร?
หากยังไม่กล้าบอกใคร การเริ่มต้นด้วย การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญผ่านช่องทางออนไลน์...
ทำแท้งในไทย ผิดกฎหมายจริงไหม? ไขข้อสงสัยที่หลายคนยังเข้าใจผิด
ทำแท้งในไทย ผิดกฎหมายจริงไหม? ไขข้อสงสัยที่หลายคนยังเข้าใจผิด
การทำแท้งในประเทศไทยผิดกฎหมายหรือไม่?
หลายคนยังเข้าใจผิดว่า การทำแท้งในประเทศไทยผิดกฎหมายทั้งหมด แต่ในความเป็นจริง กฎหมายไทยได้มีการแก้ไขและปรับปรุงให้ผู้หญิงสามารถ ยุติการตั้งครรภ์ได้ในบางเงื่อนไข โดยไม่ผิดกฎหมาย
กฎหมายการทำแท้งในประเทศไทย อัปเดตล่าสุด
ตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 การทำแท้งในไทยสามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์: สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่มีเงื่อนไข
อายุครรภ์ระหว่าง 12-20 สัปดาห์: สามารถทำได้ โดยได้รับคำปรึกษาทางเลือก
ทุกอายุครรภ์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ : การตั้งครรภ์เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจของผู้ตั้งครรภ์...
รู้ก่อน ป้องกันได้! ทำไมการตั้งครรภ์ไม่พร้อมถึงยังเกิดขึ้น?
รู้ก่อน ป้องกันได้! ทำไมการตั้งครรภ์ไม่พร้อมถึงยังเกิดขึ้น?
การตั้งครรภ์ไม่พร้อมเกิดจากอะไร?
การตั้งครรภ์ไม่พร้อมยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกช่วงวัย ไม่ใช่แค่เฉพาะในวัยรุ่นเท่านั้น แต่รวมถึงผู้หญิงที่ยังไม่มีความพร้อมด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ หรือจิตใจ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ได้แก่
การคุมกำเนิดที่ผิดพลาด เช่น ลืมกินยาคุมกำเนิด ใช้ถุงยางอนามัยผิดวิธี หรือถุงยางขาด
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ เช่น การใช้ “หลั่งนอก” หรือ “นับวันปลอดภัย” ซึ่งแท้จริงไม่ใช่วิธีป้องกันการตั้งครรภ์
การขาดความรู้ด้านเพศศึกษา ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุมกำเนิด
แรงกดดันทางสังคมและครอบครัว เช่น การไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้การคุมกำเนิด หรือไม่สามารถปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ได้
การถูกบังคับหรือขาดความพร้อมในการมีเพศสัมพันธ์ เช่น...
ยุติการตั้งครรภ์ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่
ยุติการตั้งครรภ์ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่
การยุติการตั้งครรภ์เป็นทางเลือกของผู้ที่ไม่พร้อมมีบุตร แต่หลายคนยังคงกังวลว่า หลังยุติการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีผลกระทบระยะยาวหรือไม่ และ จะสามารถตั้งครรภ์ในอนาคตได้หรือไม่
ในความเป็นจริง การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และดำเนินการโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว หากได้รับการดูแลที่เหมาะสม
1. การยุติการตั้งครรภ์มีผลต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่
หากดำเนินการอย่างปลอดภัย และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในบางกรณี ได้แก่:
การติดเชื้อในโพรงมดลูก หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
ภาวะมดลูกเป็นพังผืด กรณีที่เคยใช้วิธีขูดมดลูก ซึ่งปัจจุบัน WHO ไม่แนะนำให้ใช้
ผลกระทบทางอารมณ์ เช่น ความรู้สึกผิด หรือความเครียด ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของแต่ละบุคคล
แต่สิ่งที่ควรรู้คือ
การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา หรือการดูดสุญญากาศ...
ปรึกษา RSAThai แล้ว ข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับไหม?
ปรึกษา RSAThai แล้ว ข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับไหม?
คำตอบคือ: ใช่ค่ะ ข้อมูลของคุณจะถูกเก็บเป็นความลับอย่างเคร่งครัด ทุกคนที่มาปรึกษาผ่าน RSA ไม่ว่าจะออนไลน์หรือในสถานพยาบาล ข้อมูลจะถูกดูแลภายใต้นโยบายความเป็นส่วนตัว และไม่มีการเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบโดยไม่ได้รับอนุญาต
RSAThai ให้ความสำคัญกับอะไร?
ความเป็นส่วนตัวของผู้ปรึกษา คือสิ่งสำคัญที่สุด
ข้อมูลทั้งหมดใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการดูแลและส่งต่อเท่านั้น
ไม่มีการเก็บหลักฐานในแชท หรือเรียกชื่อจริงหากคุณไม่สะดวก
คุณสามารถเลือกปรึกษาแบบไม่เปิดเผยตัวตนได้ในเบื้องต้น
ถ้ากังวล ไม่อยากให้ใครรู้เลย ต้องทำยังไง?
ใช้ชื่อเล่น หรือชื่อสมมติในการเริ่มต้นพูดคุย
เลือกใช้ช่องทางออนไลน์ เช่น Line, Facebook หรือระบบของ RSA Online
ทุกช่องทางไม่มีการแชร์ข้อมูลไปยังหน่วยงานอื่น
คุณมีสิทธิได้รับการดูแลโดยไม่ถูกตัดสิน และข้อมูลของคุณจะถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยเสมอระบบปรึกษาท้องไม่พร้อม...
ท้องเกิน 24 สัปดาห์ ยังมีทางออกไหม? มาดูกัน
ท้องเกิน 24 สัปดาห์ ยังมีทางออกไหม? มาดูกัน
หากคุณเพิ่งรู้ตัวว่าท้อง แล้วพบว่าอายุครรภ์เกิน 24 สัปดาห์ อาจจะรู้สึกตกใจ วิตก หรือไม่แน่ใจว่าจะมีทางออกหรือไม่ แม้ว่าโรงพยาบาลบางแห่งจะ รับดูแลการยุติครรภ์ได้ไม่เกิน 24 สัปดาห์ แต่ คุณยังสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้
ต้องทำยังไง?
โทรหา สายด่วนท้องไม่พร้อม 1663 เพื่อขอคำปรึกษาเฉพาะราย
หรือเข้า ศูนย์พึ่งได้ (OSCC) ในโรงพยาบาลตามสิทธิของคุณ
เจ้าหน้าที่จะช่วยประเมินสถานการณ์ และดูว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง
ทีมสหวิชาชีพจะร่วมกันพิจารณาเพื่อหาแนวทางที่ปลอดภัยและเหมาะสมที่สุดกับคุณ
ไม่ต้องเจอเรื่องนี้คนเดียว
การเจอสถานการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องผิด...
ดูแลตัวเองหลังยุติการตั้งครรภ์ให้ปลอดภัย
ดูแลตัวเองหลังยุติการตั้งครรภ์ให้ปลอดภัย
หลังจากยุติการตั้งครรภ์ ร่างกายและจิตใจต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ฟื้นตัวเร็วและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน บทความนี้แนะนำแนวทางดูแลตัวเองหลังการใช้ยาและการดูดสุญญากาศ
1. การพักฟื้นทางร่างกาย
พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้แรงมาก เช่น การยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนัก
ในช่วง 7 วันแรก
หากมีไข้ ปวดท้องรุนแรง หรือมีเลือดออกมากผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์
2. การดูแลความสะอาดและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
ใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่น แทนผ้าอนามัยแบบสอด หรือถ้วยอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด
อาบน้ำตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำนานๆ
3. การรับประทานอาหารเพื่อฟื้นฟูร่างกาย
เลือกอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ ผักใบเขียว ไข่แดง...