ทำไมต้องให้ความเสมอภาคแก่ผู้หญิงในการตัดสินใจทำแท้ง
มีหลักการ 4 ข้อ ที่ควรจะให้ความเสมอภาคแก่ผู้หญิงในเรื่องการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ คือ
1) เนื้อตัวร่างกายเป็นสิทธิเสรีภาพโดยสมบูรณ์ของหญิง เมื่อไม่เคยเบียดเบียนคนอื่น หญิงควรมีสิทธิที่จะตัดสินใจได้ว่าจะทำกับตนเองอย่างไร
2) การปล่อยให้ครรภ์ที่ไม่พร้อมคลอดออกมาในสังคม โดยผู้ตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่จะดูแลเป็นการสร้างภาระให้กับผู้หญิง ส่งกระทบต่อทั้งอนาคตของเด็กที่เกิดมา และซ้ำเติมปัญหาให้แก่สังคมในอนาคต
3) สิทธิการตัดสินใจควรจะเป็นของผู้ที่สามารถใช้สิทธินั้นได้ ตราบใดที่ตัวอ่อนยังไม่อาจแยกออกจากครรภ์ จึงเป็นเพียง “อนาคต” ที่ไม่แน่นอน สังคมจะยอมให้อนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั้นทำลาย “ปัจจุบัน” ทีเดียวหรือ? ถ้าปัจจุบันถูกทำลายอนาคตก็มีไม่ได้
4) การห้ามทำแท้งโดยกฎหมายไม่เกิดประโยชน์แก่ใครเลย เพราะเมื่อผู้หญิงต้องการยุติครรภ์ของตน อย่างไรก็ต้องทำ...
ทำไมต้องแก้กฎหมายทำแท้ง ?
ข้อเท็จจริงคือ “กฎหมาย” ควรต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานทำให้แท้งลูก ได้ถูกใช้มากว่า 60 ปีแล้ว สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย
ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2560 คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้หยิบยกเอาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301-305 มาปรับปรุง โดยมีแนวโน้มให้ตีความสุขภาพครอบคลุมสุขภาพทางใจ และกรณีตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมด้วย ปัจจุบันการพิจารณาดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ
รูปธรรมปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยจากครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม ที่ผลักดันให้ผู้หญิงตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ ได้แก่...
กฎหมายไทย ทำแท้งได้กรณีไหนบ้าง?
การทำแท้งในประเทศไทยไม่ได้ผิดกฎหมายทั้งหมด กฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถตัดสินใจทำแท้งได้โดยแพทย์ โดยมีข้อบ่งชี้เหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความผิดทางเพศ ดังต่อไปนี้
การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อชีวิตหรือสุขภาพทางกายของผู้หญิงการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเราการตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าหญิงนั้นจะสมยอมหรือไม่ก็ตามการตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร สนองความใคร่การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 ขยายความ ”สุขภาพ” ให้ครอบคลุมทางกายและใจ แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย)ทารกในครรภ์มีความพิการ (เพิ่มเติมในข้อบังคับแพทยสภา พ.ศ. 2548 โดยใช้เหตุผลปัญหาสุขภาพทางใจของผู้หญิง แต่ยังไม่ถูกระบุไว้ในกฎหมาย)
ผลสำรวจโดยกรมอนามัย...
กฎหมายทำแท้งมีความเป็นมาอย่างไร?
“การทำแท้ง” หรือ “การยุติการตั้งครรภ์” อยู่คู่กับประวัติศาสตร์มายาวนาน เดิมประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติความผิดฐานทำให้แท้งลูกโดยตรง ต่อมามีการพัฒนาบทบัญญัติลงโทษผู้อื่นที่ทำให้หญิงแท้งลูก แต่ไม่ครอบคลุมการที่หญิงทำให้ตนเองแท้งลูกแต่อย่างใด
เจตนารมณ์ของการมีกฎหมายคือมุ่งเน้นการคุ้มครองชีวิตที่จะเกิดมาเป็นหลัก สภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กฎหมายจึงได้ยกเว้นเรื่องเหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ต่อมาเมื่อผู้หญิงตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศเพิ่มขึ้น กฎหมายจึงได้เพิ่มเติมทำแท้งจากความผิดทางเพศด้วย ซึ่งคือสาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้งลูก มาตรา 301-305 ใช้กันมาตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน
สิ่งที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันคือ การที่หญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นหลายด้านที่อาจต้องทำแท้งเนื่องจากปัญหาครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และความคาดหวังต่อชีวิตในอนาคต แต่กฎหมายมีข้อยกเว้นเพียงสองส่วนเท่านั้น ทำให้เกิดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต...
การศึกษาภาวะซึมเศร้าของสตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
การศึกษาภาวะซึมเศร้าของสตรีตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ โดย นพ.ภุชงค์ ไชยชิน นางวิจิตรา วาลีประโคน
...หลังการยุติการตั้งครรภ์ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีระดับภาวะซึมเศร้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งในกลุ่มที่ผิดปกติ พบว่าเป็นผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางถึงมากที่สุด จึงตอบคำถามการวิจัยได้ว่าภาวะซึมเศร้าหลังการยุติการตั้งครรภ์ของผู้รับบริการส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติและ เมื่อเปรียบเทียบระดับภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังยุติการตั้งครรภ์ พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าที่ลดลงซึ่งแสดงว่าผลการรักษาดีขึ้น แต่ก็ยังพบว่ามีผู้รับบริการร้อยละ 10.3 ที่ระดับภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ซึ่งคล้ายกับการศึกษาของ Christensen และคณะ ที่พบว่าสตรีตั้งครรภ์ไม่ตั้งใจมีภาวะซึมเศร้าในระยะหลังคลอด ร้อยละ 10.2...
6 ข้อแนะนำที่ต้องรู้ ก่อนการใช้ยาทำแท้ง เมื่อทางเลือกคือยุติการตั้งครรภ์
ข้อแนะนำ : ก่อนใช้ยายุติการตั้งครรภ์
ควรตรวจปัสสาวะ เพื่อทดสอบตั้งครรภ์และทำอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เพื่อทราบอายุครรภ์ มีการตั้งครรภ์ในมดลูกหรือไม่
ไม่ควรใช้ยานี้ ถ้ามีคนบังคับให้คุณตัดสินในยุติการตั้งครรภ์, หรือ มีโรคเลือดออกผิดปกติ , โรคต่อมหมวกไต , การตั้งครรภ์นอกมดลูก , ใส่ห่วงอนามัยค้างอยู่ (ต้องเอาห่วงออกก่อนใช้ยา) แพ้ยาไมโซโพรสตอล Misoprostol (ไซโตเทค) หรือ โพรสตาแกลนดิน
...
5 ข้อดี 4 ข้อจำกัด จากผู้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา
จากการศึกษาเรื่อง รูปแบบการจัดบริการและการยอมรับการยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ยาในประเทศไทย The study on “Service Management Sy stems and Acceptability of Medical Termination of Pregnancy in Thailand” พบว่ามี 5 ข้อดี 4 ข้อจำกัดจากผู้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาเมื่อเปรียบเทียบวิธีการทางหัตถการในทัศนะของผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้
5 ข้อดี
1. เป็นวิธีการยุติการตั้งครรภ์ที่ผู้รับบริการสามารถดำเนินการเองได้...
ท้องที่โตขึ้นต้องใช้จำนวนเม็ดยาทำแท้งมากขึ้นหรือไม่
ท้องที่โตขึ้นต้องใช้จำนวนเม็ดยาทำแท้งมากขึ้นหรือไม่
คำตอบ การใช้ขนาดของยายุติการตั้งครรภ์จะลดลงตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดช่วงห่างของการใช้ตามพัฒนาการของอาการและอายุครรภ์ ต้องใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากมีความเสี่ยงที่มดลูกจะแตกได้ อีกทั้งเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะขายยาทำแท้งในปริมาณที่มากขึ้นตามอายุครรภ์ ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิต
ทำแท้งได้มีกฎหมายรองรับ
ยุติการตั้งครรภ์(ทำแท้ง) ทำได้มีกม.รองรับ หมอสูติฯ มอ. เผยการยุติการตั้งครรภ์ทำได้เพราะมีกฎหมายรองรับ แนะควรคำนึงถึงสุขภาพใจของผู้รับบริการเป็นหลัก
จากสถิติการสำรวจสถานการณ์การยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทยของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พ.ศ. ๒๕๕๕ มีอัตราการเสียชีวิตจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยของผู้หญิงไทยปีละ ๒๕–๓๐ คน และบาดเจ็บเพราะภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยประมาน ๓๐,๐๐๐ คน
นายธนพันธ์ ชูบุญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า การยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) สามารถทำได้โดยขึ้นอยู่กับสองเหตุผล
ประการแรก : เหตุผลทางกฎหมาย...
16 ตัวอย่าง ท้องไม่พร้อมที่ยุติการตั้งครรภ์ได้ตามกฎหมาย
เมื่อทางเลือกคือยุติการตั้งครรภ์ "การทำแท้ง” หรือ “ยุติการตั้งครรภ์” ผิดกฎหมายหรือไม่?
เป็นความเข้าใจที่ “ผิด” ว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี เพราะประเทศต่างๆ ในโลกนี้ ได้ให้การยุติการตั้งครรภ์ เป็นทางเลือกที่ผู้หญิงท้องไม่พร้อม โดยมีข้อกฎหมายในแต่ละประเทศแตกต่างกัน
ประเทศไทย การยุติการตั้งครรภ์ สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายในกรณีต่อไปนี้
การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิง
การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง
ตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการรุนแรง
การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี
การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจาร...