วิธีการใช้ยา และผลข้างเคียงของยาทำแท้ง
การใช้ยาทำแท้ง คือ การยุติการตั้งครรภ์โดยใช้ Mifepristone (หรือ RU-486 ชื่อการค้าที่เห็นในอินเทอร์เน็ตจากเว็บขายยาเถื่อน) และ Misoprostal (ไซโตเทค) สองตัวร่วมกัน พบว่า มีประสิทธิภาพดีกว่า หรือ อาจใช้ Misoprostal เพียงตัวเดียวก็ได้ แต่ประสิทธิภาพจะลดลงเล็กน้อย โดยยาทั้งสองมีวิธีการใช้และอาการข้างเคียงดังนี้
Mifepristone ใช้โดยการกินและดื่มน้ำตาม ไม่มีอาการข้างเคียง Misoprostal ใช้โดยการอมใต้ลิ้นห้ามกลืน...
ผลการศึกษาทางคลินิกของยาทำแท้งในประเทศไทย ในอายุครรภ์ไม่เกิน 63 วัน พบว่าประสิทธิภาพของยาอยู่ที่ร้อยละ 96.09
ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 โดยสภาประชากร (Population Council) สำนักงานประเทศไทย ร่วมกับ Gynuity Health Project สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มนำยาไมโซพรอสตอล (ไซโตเทค) มาใช้รักษาอาการแท้งไม่ครบในผู้รับบริการที่มีอายุครรภ์ที่ไม่เกิน 63 วัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ทางสภาประชากร ร่วมกับ Gynuity Health Project สหรัฐอเมริกา...
ข้อมูลเบื้องต้นของยายุติตั้งครรภ์ ยาทำแท้ง
องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยาม “การยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยา” (Medical Termination of Pregnancy: MTP) ที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงโดยไม่ต้องใช้วิธีการทางหัตถการอื่นๆ เช่น การใช้เครื่องดูดสุญญากาศ หรือการขูดมดลูก เพื่อทำให้แท้งครบ (complete abortion)
การยุติตั้งครรภ์โดยใช้ยามิฟิพริสโตน (Mifepristone) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม RU486 ร่วมกับ ยาไมโซพรอสตอล (Misoprostol) ในผู้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 49...
การขึ้นทะเบียนสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา
โรงพยาบาล สถานบริการ ที่ต้องการสมัครรับยา Medabon® ทางสปสช. กำหนดการขึ้นทะเบียนทุก 3 เดือน เพื่อรับยาผ่านระบบ Smart VMI รอบขึ้นทะเบียนต่อไปคือ มกราคม 2564
โรงพยาบาล สถานบริการต่างๆ ที่มีความพร้อมในการให้บริการยุติตั้งครรภ์โดยการใช้ยา สามารถแสดงความจำนงมายังกรมอนามัย โดยกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ตามแบบรายงานที่กรมอนามัยกำหนด
สนใจสมัครรับยา ให้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการกับกรมอนามัย โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขึ้นทะเบียน MTP-1 และ MTP-2 ได้ที่ http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=safe_abortion
ขั้นตอนการเข้าร่วมขึ้นทะเบียนของสถานพยาบาล เพื่อให้บริการยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยา
สถานพยาบาลต่างๆ...
การประเมินข้อบ่งชี้การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย
การประเมินข้อบ่งชี้การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย
ประเทศไทย เกณฑ์ในการยุติตั้งครรภ์นั้น อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 โดยในมาตรา 305 ประกอบด้วย 2 วรรคที่เกี่ยวข้อง ที่กล่าวว่าการยุติตั้งครรภ์สามารถทำได้ ดังต่อไปนี้
วรรคแรก
คือ 1) การตั้งครรภ์ที่ครรภ์นั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดย “สุขภาพ”...
5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยายุติตั้งครรภ์ (Medical abortion)
5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยายุติการตั้งครรภ์ (Medical abortion)
การใช้ยายุติการตั้งครรภ์เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอน โดยมียาเกี่ยวข้อง 2 ตัว (มิฟิพริสโตน: mifepristone (หรือ RU486 ชื่อการค้าที่พบในเว็บไซต์ขายยาทำแท้งเถื่อน) และไมโซพรอสตอล :misoprostol) หรือ ไซโตเทค และ/หรือมียาตัวเดียวแต่ใช้หลายครั้ง (ไมโซพรอสตอลตัวเดียว: misoprostol alone)
การใช้ยามิฟิพริสโตน ร่วมกับ ไมโซพรอสตอล จะได้ผลมากกว่าการใช้ยา ไมโซพรอสตอลอย่างเดียว
การใช้ยาไมโซพรอสตอล...
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ สวท 9 สาขา
คลินิก สวท เวชกรรม (องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) ดำเนินงานภายใต้ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2513 สวท ทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการท้องไม่พร้อม ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี พัฒนาคุณภาพประชากรผู้สูงอายุ ดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ให้กับประชากรในถิ่นธุรกันดารห่างไกล พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยความเท่าเที่ยมกัน โดยไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา หรือชาติพันธุ์ภารกิจของสวท1. บริการวางแผนครอบครัวอย่างมีคุณภาพผ่านคลินิก สวท ทั้ง 10...
6 บทบาทหน้าที่ของกรมอนามัยต่อการบริหารจัดการยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ (มิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน)
หลังจากยามิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน ได้รับการขึ้นทะเบียนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ขอให้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บริหารจัดการยามิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและวางแผนดูแลกำกับการใช้ยาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 2 ปี โดยทำหน้าที่ต่อไปนี้คือ
ประสานงานกับสถานพยาบาลทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประเมินความพร้อมในการให้บริการ และการอนุญาตให้จัดให้มี ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลในการบริการยุติการตั้งครรภ์
จัดทำคู่มือการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอล และจัดส่งคู่มือไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่มียาให้บริการ
รวบรวมรายงานยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลที่นำเข้าโดย บริษัทผู้นำเข้ายาและจัดจำหน่าย
รวบรวมและวิเคราะห์การให้ยาและการยุติการตั้งครรภ์จากรายงานของสถานพยาบาลต่างๆ
เฝ้าระวังและติดตามผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
...
ท้องนอกมดลูกใช้ยาทำแท้งไม่ได้ผล
ยาสำหรับหรับยุติการตั้งครรภ์จะไม่ได้ผลในผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์นอกมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่สามารถจะอยู่ต่อไปจนครบกำหนดได้ ต้องรักษาเพื่อช่วยชีวิตผู้หญิง และการทำแท้งด้วยยาจะไม่สามารถรักษาการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
ครรภ์นอกมดลูก ท้องนอกมดลูก คือ การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นภายนอกโพรงมดลูกพบได้ร้อยละ 1 - 2 ของการตั้งครรภ์ยาทำแท้งไม่ได้ผลสำหรับการท้องนอกมดลูก ภายหลังการได้รับยาทำแท้งถุงการตั้งครรภ์ที่นอกมดลูกก็ยังมีโอกาสแตก ทำให้ตกเลือดในช่องท้องเป็นอันตรายได้ ผู้หญิงที่มาขอยุติการตั้งครรภ์อาจมีภาวะครรภ์นอกมดลูกอยู่แล้ว ซึ่งวินิจฉัยได้ยาก
ในอายุครรภ์น้อย ๆ การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ช่วยวินิจฉัยครรภ์ได้ว่าไม่ใช่ครรภ์นอกมดลูก หากพบถุงการตั้งครรภ์อยู่ภายในโพรงมดลูก การตรวจเนื้อเยื่อที่ขับออกจากมดลูกหลังจากการใช้ยายุติตั้งครรภ์จะช่วยยืนยันการตั้งครรภ์ในมดลูกได้
ในรายที่สงสัยหากผู้หญิงอาจยังมีเลือดออกและปวดเกร็งในท้อง ภายหลังการใช้ยาต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่ามีภาวะท้องนอกมดลูกหรือไม่
ที่มา : คู่มือประกอบการให้บริการก่อน...
ใช้ยายุติการตั้งครรภ์ ยาทำแท้ง ให้ปลอดภัยได้อย่างไร?
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม มักไม่สามารถบอกหรือปรึกษาใครได้ เมื่อหาทางออกไม่ได้ มักจะคิดถึงการยุติตั้งครรภ์ไว้ก่อน หลังจากนั้นก็จะหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และถูกชักนำไปให้ซื้อยาทำแท้งทางไปรษณีย์ โดยไม่อาจรู้ได้ว่า ยาที่จะได้รับนั้นเป็นยาจริงหรือยาปลอม ขนาดยาเหมาะสม และวิธีการใช้ถูกต้องตามอายุครรภ์หรือไม่
เพียงหวังให้ผู้หญิงและทุกๆ คน มีข้อมูล มีความเข้าใจที่รอบด้านเกี่ยวกับยาทำแท้ง เพื่อเตือนให้ฉุกคิดถึงอันตรายจากการใช้ยาทำแท้งไม่ถูกต้อง เข้าใจอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น และแนวทางปฎิบัติหากพบอาการที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยไม่รอช้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อและรักษาชีวิตอันมีค่าของตัวเองไว้ ไม่ได้ต้องการให้เป็นคำแนะนำสำหรับการหาซื้อยายุติการตั้งครรภ์มาใช้เอง เนื่องจากการดูแลรักษาผู้ที่ท้องไม่พร้อมและต้องการยุติการตั้งครรภ์ ยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นที่สำคัญอีกมาก เช่น การให้การปรึกษา การให้กำลังใจ หรือ...