การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา Medabon (ยาทำแท้ง) ในประเทศไทย

0
ปี 2555 ประเทศไทยได้นำยายุติการตั้งครรภ์ หรือ Medabon ซึ่งมีตัวยยามิฟิพริสโตน (หรือที่รู้จักในชื่อการค้า RU486) และ ไมโซโพรสตอล (ไซโตเทค) บรรจุในแผงเดียวกัน เพื่อใช้ในโครงการศึกษาวิจัยนำร่อง ผลการวิจัยพบว่า ยา Medabon มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการยุติตั้งครรภ์มากกว่าร้อยละ 95 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขึ้นทะเบียนยาตัวนี้ และบรรจุยาไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ในทางการแพทย์ และเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น มีให้บริการเฉพาะที่สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนสมัครรับยาจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อยาทำแท้งได้จากร้านยา...

1663 สายด่วนท้องไม่พร้อม ! นโยบายจากกระทรวง สธ. แก้ไขปัญหาการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย

2
https://www.youtube.com/watch?time_continue=102&v=oS_gMZ_qbl0 "... ด้วยข้อกฎหมายในอดีตมันเหมือนมองว่าการยุติการตั้งครรภ์ที่เราเรียกว่าทำแท้งมันถูกตราว่าผิดกฎหมาย แต่ในปัจจุบันต้องทำความเข้าใจใหม่ว่ากฎหมายได้เปิดช่องให้มารดาได้มีลูกที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันแพทย์ก็มีข้อบังคับแพทยสภาที่จะดูแลทุกคนให้ยุติตั้งครรภ์ปลอดภัย ต้องลบความคิดที่ว่า การทำแท้งผิดกฎหมาย แต่การทำแท้งที่มีกฎหมายรองรับและมีกระบวนการที่ถูกต้องเท่านั้นที่กรมอนามัยให้นโยบายไว้เป็นแนวทางที่ต้องปฎิบัติให้ถูกต้อง..." นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย ที่มา : https://med.mahidol.ac.th พบหมอรามา ช่วง RamaHealthTalk โดย นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย ออกอากาศเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562

Live ประชุมเปิดโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม

0
โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดำเนินงานโดยความร่วมมือระหว่าง เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ภายใต้สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายในการพัฒนาเครือข่ายบริการทั้งตั้งครรภ์ต่อและยุติการตั้งครรภ์ ให้มีความเข้มแข็ง เข้าถึงได้ ให้บริการได้อย่างปลอดภัยและเป็นมิตร รวมทั้งการแสวงหาความต่อเนื่องในการดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนในระบบต่อไป โดยมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับโครงการสายปรึกษาทางเลือกท้องไม่พร้อม 1663 ระยะเวลาดำเนินการ 24 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561...

“หนัง (มัน)สั้น แต่รักฉันยาว” มุมมองของคนทำหนังโดยเยาวชนกับประเด็นท้องวัยรุ่น

0
จากการประกวดคลิป "หนัง(มัน)สั้น แต่รักฉันยาว" ให้เยาวชนส่งผลงานเข้าประกวดคลิปหนังสั้น โดยมีผลงานส่งเข้าประกวดกว่า 260 เรื่อง ซึ่งผ่านเข้ารอบเพียง 10 เรื่อง ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลายและประกาศนียบัตร (ปวช.) และระดับมหาวิทยาลัยและประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งเรื่องที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ เรื่อง "รักผิดชอบ" จากทีม เจค ว.2 และ เรื่อง...

ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ

0
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย 2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก 2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ 2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...

มุมมองของแพทย์ต่อการทำแท้งที่ปลอดภัย

0
นำทีมโดย ศ.คลินิกเกียรติคุณ พญ.วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก ศ.เกียรติคุณ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นพ.พิษณุ ขันติพงษ์ และ ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ “งานช่วยเหลือท้องไม่พร้อม ต้องเริ่มที่เรื่องของทัศนคติ/มุมมอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ กฎหมายอาญาและข้อบังคับแพทยสภาได้ระบุชัดเจน ให้สามารถทำแท้งได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของแพทย์ก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่ง "ทัศนคติ" จะเป็นตัวกำหนดว่าเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย” หากปรับเปลี่ยนทัศนคติได้ ก็จะสามารถให้บริการได้ “แพทย์ควรมองว่าคนที่ตั้งครรภ์ คือคนที่กำลังทุกข์ ต้องการรักษา...

การบาดเจ็บการตายจากการทำแท้งเถื่อนยังมีอยู่จริง

0
Sex symposium มันมีชื่อไทยว่า “การประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ ๓ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน” จะยาวไปไหนวะ มันถูกจัดขึ้นมาโดย สสส. และหน่วยงานใหญ่ๆร่วมด้วยอีกหลายหน่วยงาน เค้าเชิญผมมาร่วมในการบรรยายในหัวเรื่อง “มุมมองของแพทย์ต่อการทำแท้งที่ปลอดภัย” “ชื่อเชยจังครับอาจารย์” ผมบอกกับอาจารย์ที่เคารพรักในฐานะที่ท่านจะเป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงผม ท่านเคยเป็นประธานราชวิทยาลัยสูติฯ ของผมเอง ท่านบอกว่า กลัวคนไม่เข้าฟัง “ก็เล่นตั้งขื่อเสียแบบนี้” ผมยังไม่เลิก“แล้วแป๊ะจะตั้งขื่อว่าอย่างไร” เลยถูกท่านย้อนกลับ“หมอ ช่วยหนูด้วย หนูท้อง” ผมเสนอ ห้องของผม...

สำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ย้ำ “วัยรุ่นท้อง ต้องได้เรียนต่อ”

0
สพฐ. ย้ำ “วัยรุ่นท้อง ต้องได้เรียนต่อ” หลักการของสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คือ เมื่อนักเรียนตั้งครรภ์-เด็กต้องได้เรียนต่อ ด้วยการปรึกษากับครอบครัว ร่วมกันจัดการเงียบๆ อย่างเหมาะสม เมื่อคลอดแล้วกลับมาเรียน ประคับประคองให้สามารถเลี้ยงดูได้อย่างดี ต้องไม่ทิ้งเด็ก ช่วยให้เด็กก้าวผ่านวิกฤตและได้ประโยชน์สูงสุด หากสำนักงานพื้นที่การศึกษาเขตจัดการไม่ได้ ขอให้ประสานระดับเขต โดยทางโรงเรียนอาจช่วยเด็กและครอบครัวประสานสำนักงานพัฒนาสังคมฯ จังหวัด กรณีไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ด้วยตนเอง เพื่อขอความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ที่จำเป็น นอกจากการช่วยเหลือแล้ว ยังร่วมกันกับทุกฝ่าย พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเรื่องเพศเพื่อส่งเสริมการป้องกัน ร่วมกับ...

กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำพ.ร.บ. ตั้งครรภ์วัยรุ่นสู่การปฏิบัติ อย่างไร ?

0
นำทีมโดย นายพีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากการบังคับใช้กฎหมายจาก พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เด็กในระบบการศึกษา มีส่วนเกี่ยวข้องครอบคลุมทุกระบบการศึกษา จากระบบข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า เด็กขาดการดูแลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปฐมวัย ในแต่ละปีมีเด็กเกิด 600,000 - 700,000 คน โดยเกิดจากแม่วัยใส 100,000 คน ซึ่งคุณแม่วัยใสขาดทั้งไอโอดีน ธาตุเหล็ก ส่งผลกระทบถึงเด็กปฐมวัย คิดว่า...

สาระการประชุมจากห้อง Overview of adolescent health and teenage pregnancy: from global analysis to community actions

0
วัยรุ่น มีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคตของโลกได้ สิ่งสำคัญคือ การสร้างความมั่นใจว่าวัยรุ่นจะได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ ที่จะช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีได้จริง การทำความเข้าใจกับสุขภาพวัยรุ่น จึงมีความสำคัญ ผู้เชี่ยวชาญเสนอว่า การลงทุนที่วัยรุ่นมีความสำคัญได้ผลตอบแทน 3 เท่า คือ ปัจจุบันที่สุขภาพดี เป็นผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี และเป็นพ่อแม่ที่มีลูกสุขภาพดี การพัฒนาสุขภาพวัยรุ่น ควรทำความเข้าใจประเด็นสุขภาพวัยรุ่นให้ถ่องแท้ในมุมของวัยรุ่น ซึ่ง “ท้องไม่พร้อม” ก็คือปัญหาสุขภาพด้านหนึ่ง การศึกษาโดย LANCET พบว่า สำหรับวัยรุ่น “เพื่อน” และ...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย