ผู้ใหญ่-เยาวชน ใส่ใจ และลงมือทำ : บทเรียนทำงานป้องกันตั้งครรภ์วัยรุ่นในพื้นที่ (1)

0
พระราชบัญญัติป้องกันแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ มีสาระสำคัญให้กระทรวงหลัก ๕ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกันทำงานแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น โดยมีหลักการอยู่บนฐานของการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีของวัยรุ่น กล่าวคือวัยรุ่นต้องได้รับการปกปิดข้อมูลส่วนตัวและการรับบริการเป็นความลับ สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง ได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าถึงการรับบริการโดยมีสวัสดิการของรัฐรองรับ การประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนการทำงานเรื่องการแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์วัยรุ่น เพราะทำให้หลายๆ หน่วยงานในพื้นที่ เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด...

การทำแท้งอย่างปลอดภัย ผศ.นพ.สัญญา ภัทราชัย

0
https://www.youtube.com/watch?v=R0vyTvPOzvc คลิปสัมภาษณ์ ผศ.นพ.สัญญา ภัทราชัย โดย IFMSA-Thailand สมาพันธ์นักศึกษาแพทย์ ประเทศไทย เป็นความร่วมมือเพื่อสร้างแนวคิดเรื่อง Reproductive Rights รวมทั้ง Safe Abortion การดูแลสุขภาพเพศหญิง  บางส่วนบางตอน...อาจารย์สัญญา ภัทราชัย ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำแท้งแบบปลอดภัยในปัจจุบัน โดย 4 คำหลักว่า “Save women, Safe abortion.“...

เปิดรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงในภาวะวิกฤตจากความรุนแรงทางเพศและตั้งครรภ์ไม่พร้อม เพื่อระดมทุนนำรายได้ทั้งหมดเข้ากองทุนช่วยเหลือผู้หญิง

0
ลิงค์สำหรับ ร่วมบริจาคเพื่อสั่งซื้อเสื้อยืดรณรงค์ RSA ออนไลน์ https://rsathai.org/campaign-aug2019 โครงการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงในภาวะวิกฤด จากความรุนแรงทางเพศและตั้งครรภ์ไม่พร้อมภายใต้เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ในช่วง 5 ปีแรกของการดำเนินงานเครือข่ายฯ ส่วนใหญ่เข้าถึงผู้หญิงที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมผ่านศูนย์พึ่งได้ และองค์กรสมาชิกเครือข่ายฯ จำนวนผู้หญิงที่เครือข่ายฯ ให้การสนับสนุนช่วยเหลือจึงมีไม่มากนัก แต่เมื่อมีองค์กรสมาชิกที่เปิดให้บริการสายด่วนเพื่อรับปรึกษาเรื่องท้องไม่พร้อมทางโทรศัพท์เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มทำทาง สายด่วน 1663 และสายด่วน 1300 ช่วยเหลือสังคม ทำให้เครือข่ายฯ ได้รับการประสานเพื่อส่งต่อผู้หญิงท้องไม่พร้อมจำนวนปีละหลายร้อยราย โดยมีผู้หญิงจำนวนหนึ่งอยู่ในภาวะยากลำบาก ยากจน...

เหตุใดยังมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ที่ท้องไม่พร้อมกลับถูกปฏิเสธการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

0
  การยุติการตั้งครรภ์ในกรณีจำเป็นหรือกรณีที่มีผลต่อสุขภาพแม้จะมีกฎหมายรองรับ หรือกรณีที่มีผลต่อสุขภาพ แม้จะมีกฎหมายรองรับ 
แต่ในทางปฏิบัติ ก็ยังมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ถูกปฏิเสธการยุติการตั้งครรภ์ อย่างปลอดภัย “บาปหรือไม่ หากเป็นผู้ยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงเคยท้องไม่พร้อม" เป็นสิ่งที่นายแพทย์ นิธิวัชร์ แสงเรือง เครือข่ายแพทย์อาสา RSA เคยตั้งคำถาม กับตัวเองไม่ต่างจากคนอื่นๆ จากประสบการณ์ทำงานพบเห็นภาพของผู้หญิงที่เข้ามารับการรักษาด้วยผลข้างเคียง
ด้วยการทำแท้งเถื่อน บางคนถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิต จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเครือข่ายอาสา
RSA โดยกรมอนามัย ยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมตามกฎหมาย “เราไม่ได้มีหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน เป็นศาล เป็นตำรวจ หรือเป็นครูที่คอยสั่งสอน หมอจะถูกสั่งสอนให้ inform และ...

Webcast Women’s health online ครั้งที่ 5

0
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ร่วมกับบริษัท MSD (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมให้ความรู้ โดยมีหัวข้อการบรรยาย ดังนี้ (1) สถานการณ์และนโยบายด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ เพื่อการป้องกันควบคุมการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในสตรี วิทยากรโดย นายแพทย์พีระยุทธ สานุกูล ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์...

ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ

0
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย 2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก 2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ 2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...

ข้อเรียกร้องต่อการที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องต่อการแก้กฎหมายทำแท้ง

0
https://www.youtube.com/watch?v=ysQ65YuyVLQ&feature=youtu.be ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม และเครือข่ายอาสา RSA มีข้อเสนอต่อผู้บังคับใช้กฎหมายและผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1. ขอให้ประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รับรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การตีความกฎหมายทำแท้งที่ศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณานั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้หญิงและครอบครัว ตามสิทธิความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ 2. ขอให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับ ตระหนักและไม่หวาดหวั่นต่อการช่วยเหลือผู้หญิงให้เข้าถึงการทำแท้งทางการแพทย์ที่ปลอดภัย รวมทั้งลดอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการดังกล่าว 3. ขอให้ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ ทนายความ และศาล รับรู้และให้ความสำคัญต่อการรับคำร้องนี้ 4. ขอให้ตำรวจหยุดจับและดำเนินคดีกับการให้บริการทำแท้งที่ปลอดภัยโดยแพทย์ 5. ขอให้ตำรวจมุ่งเป้าหมายไปที่การกวาดล้างการทำแท้งเถื่อน...

พันธกิจที่ต้องสานต่อ : กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเรื่องการทำแท้ง ทำไมต้องยกเลิกมาตรา 301

0
กฎหมายที่มีอยู่ไม่เป็นธรรมอย่างไร ?คุณสุไลพร ชลวิไล กลุ่มทำทาง ยังมองว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง ยังเป็นปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไข โดยอยากให้มองว่าการทำแท้งเป็นสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่สามารถมีสิทธิในการตัดสินใจต่อเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง จากเดิมที่ผ่านมาการขอแก้ไขกฎหมายมีความยากลำบากในการเข้าร่วมเสนอ หรือ ข้อเรียกร้องต่างๆ อยากให้มีการรับฟังจากเสียงที่เรียกร้องอย่างจริงจังและจะต้องตั้งอยู่ในความเป็นธรรมที่ควรยึดถือตามนานาชาติได้แล้ว กฎหมายของไทยยังใช้การอิงสมัยเก่าโบราณที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมเสียงของหมอทำแท้งที่ไม่มีใครได้ยินนพ.วรชาติ มีวาสนา เครือข่ายอาสา RSA ให้ความเห็นว่า การเปิดให้สังคมมีเวทีสาธารณะในการพูดคุยถกเถียงในเรื่องการทำแท้งอย่างไรจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในปัจจุบัน จะต้องตั้งคำถามการให้สิทธิในการทำแท้งของผู้หญิงตลอดการตั้งครรภ์หรือไม่ สิทธิการเกิดของตัวอ่อนอยู่ตรงไหน การทำแท้งเป็นการบริการสุขภาพที่ทุกแห่งต้องให้บริการหรือไม่ รัฐจะมีบทบาทอย่างไรในการโอบอุ้มผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ทั้งในแง่การท้องต่อและการทำแท้ง หมดยุคแล้วที่จะต้องบังคับให้ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมของทุกคนในประเทศไทย ไม่เลือกปฏิบัติต่อหญิงหรือชาย...

Thailand Celebrating Abortion Rights เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล International Safe Abortion Day เดือนกันยายน 2564

0
วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี นานาชาติจัดให้เป็นวันยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสากล เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้สังคมโลกตระหนักต่อสิทธิของผู้หญิงในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ด้วยการกำจัดอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งในด้านกฎหมาย ระบบบริการ และทัศนคติของสังคม ที่ทำให้ผู้หญิงเข้าไม่ถึงบริการจนเกิดการบาดเจ็บและตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย ในปีที่ผ่านมาพบว่า มีความก้าวหน้าของการปรับแก้กฎหมายที่สำเร็จในหลายประเทศ เช่น อาเจนติน่า เกาหลีใต้ เอควาดอร์ ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทย คำขวัญสำหรับการรณรงค์ในปี 2564 นี้ คือ Safe...

พันธสัญญาต่อการพัฒนาสิทธิและบริการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย

0
พันธสัญญาต่อการพัฒนาสิทธิและบริการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย : นพ.พรเพชร ปัญจปิยะกุล กองบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัด กระทรวงสาธารณสุข 

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย