ชวนวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยเรื่องการทำแท้ง

0
ชวนวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยเรื่องการทำแท้ง มาตรา 302 จากเรื่องจริง กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องการทำแท้ง มาตรา 302 กล่าวว่า ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ มาวิเคราะห์กฎหมายข้อนี้จากเรื่องจริง... สา (ชื่อสมมุติ) อายุ 24 ปี ตั้งท้องกับแฟนที่เลิกกันไปแล้ว เพราะแฟนใช้สารเสพติดและทำร้ายร่างกาย สาทนไม่ไหวจึงตัดสินใจหนีจากมา หลังจากนั้นก็ขาดการติดต่อกันไปเลย สาเคยมีลูกแล้ว...

Live แนวนโยบายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขต่อการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์

0
https://youtu.be/kCeLUZWPjj0 นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยเล็งเห็นความสำคัญในการลดอันตรายของภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และการพัฒนาการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยด้วยยาในประเทศไทยจึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สามารถจัดบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนผลักดันให้เกิดเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ทั้งนี้ มาตรา 305 กำหนดข้อยกเว้นให้แพทย์ทำการยุติการตั้งครรภ์ให้หญิงมีครรภ์ได้ 2 กรณี คือ 1. มีความจำเป็นเนื่องจากสุขภาพของหญิง หรือ 2. หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา เช่น กรณีผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ตาม ความไม่พร้อมของผู้หญิงเกิดจากหลายปัจจัย  ซึ่งบางปัจจัยอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย...

ทำไมต้องแก้กฎหมายทำแท้ง ?

0
ข้อเท็จจริงคือ “กฎหมาย” ควรต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานทำให้แท้งลูก ได้ถูกใช้มากว่า 60 ปีแล้ว สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2560 คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้หยิบยกเอาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301-305 มาปรับปรุง โดยมีแนวโน้มให้ตีความสุขภาพครอบคลุมสุขภาพทางใจ และกรณีตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมด้วย ปัจจุบันการพิจารณาดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ รูปธรรมปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยจากครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม ที่ผลักดันให้ผู้หญิงตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ ได้แก่...

Thailand Celebrating Abortion Rights เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล International Safe Abortion Day เดือนกันยายน 2564

0
วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี นานาชาติจัดให้เป็นวันยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสากล เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้สังคมโลกตระหนักต่อสิทธิของผู้หญิงในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ด้วยการกำจัดอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งในด้านกฎหมาย ระบบบริการ และทัศนคติของสังคม ที่ทำให้ผู้หญิงเข้าไม่ถึงบริการจนเกิดการบาดเจ็บและตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย ในปีที่ผ่านมาพบว่า มีความก้าวหน้าของการปรับแก้กฎหมายที่สำเร็จในหลายประเทศ เช่น อาเจนติน่า เกาหลีใต้ เอควาดอร์ ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทย คำขวัญสำหรับการรณรงค์ในปี 2564 นี้ คือ Safe...

เสวนาวิชาการนักศึกษาแพทย์กับการยุติการตั้งครรภ์

0
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร ร่วมกับ สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติ แห่งประเทศไทย (IMFSA-Thailand) จัดเสวนาวิชาการ “นักศึกษาแพทย์กับการยุติการตั้งครรภ์” ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความเข้าใจสถานการณ์และสภาพปัญหาของการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับแพทย์อาสาRSA และนักกิจกรรมสังคม ในเรื่องการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย โดยมีเครือข่ายอาสา RSA นพ.ภุชงค์ ไชยชิน และ นพ.นิธิวัชร์...

เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท เริ่มจ่ายวันที่ 31 ม.ค. 62 เป็นต้นไป

0
สำนักงานประกันสังคมเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท ให้แก่ผู้ประกันตน โดยจะเริ่มจ่ายในวันที่ 31 ม.ค.2562 เป็นต้นไป เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2562 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง การเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากสำนักงานประกันสังคมจากเดิม 400 บาท เป็น 600 บาท...
Top view of blank notepad on wooden office desk

ชาวไอร์แลนด์ลงประชามติยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งร้อยละ 66.4 เห็นด้วยที่จะยกเลิก การห้ามทำแท้ง

0
https://www.youtube.com/watch?v=UwzurL8HCGM&feature=youtu.be ชาวไอร์แลนด์ลงมติเห็นชอบให้ยกเลิกการห้ามทำแท้ง โดยให้สิทธิ์แก่สตรีในการตัดสินใจเอง ซึ่งผลการลงประชามติครั้งนี้จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชาวไอร์แลนด์ต่างแสดงความยินดีหลังทราบผลการลงประชามติ โดยเสียงส่วนใหญ่คือร้อยละ 66.4 เห็นด้วยที่จะยกเลิก การห้ามทำแท้ง โดยผลการลงประชามติในครั้งนี้จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งแต่เดิมอนุญาตให้ทำแท้งได้ในกรณีที่การตั้งครรภ์ทำให้ชีวิตของมารดาตกอยู่ในความเสี่ยง แต่ไม่รวมถึงการตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืน การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีความใกล้ชิดทางสายเลือด และทารกในครรภ์มีความผิดปกติขั้นรุนแรง เนื่องจากกฎหมายให้ทารกที่อยู่ในครรภ์มีสิทธิ์ในการมีชีวิตเทียบเท่ากับมารดา ดังนั้นหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ผู้หญิงมีสิทธิ์ในการตัดสินใจว่าต้องการทำแท้งหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อปี 2558 ไอร์แลนด์เป็นประเทศแรกของโลกที่ลงประชามติยินยอมให้คนเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=UwzurL8HCGM&feature=youtu.be
Woman with guitar sitting at home

ยุติการตั้งครรภ์ด้วยยาอย่างปลอดภัย:อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับ ‘ผู้หญิงท้องไม่พร้อม’

0
การยุติการตั้งครรภ์โดยการทำแท้งเถื่อน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ได้รับบาดเจ็บ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย จากรายงานสถานการณ์ และสถิติการทำแท้งในประเทศไทย พบว่า มีการทำแท้งประมาณปีละ 300,000 คน และผู้หญิงประมาณ 300 คน ต่อ 100,000 คน ได้รับอันตรายจากการทำแท้งในปี พ.ศ. 2552 ประมาณการณ์ว่า มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งจำนวน 123.3 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมความสูญเสียทางจิตใจ นอกจากนี้ เครือข่ายท้องไม่พร้อมร่วมกับเครือข่ายอาสา...

อันตรายจากการซื้อยาทำแท้งออนไลน์

0
การใช้ขนาดของยายุติการตั้งครรภ์จะลดลงตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดช่วงห่างของการใช้ตามพัฒนาการของอาการและอายุครรภ์ ต้องใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวังอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีความเสี่ยงที่มดลูกจะแตกได้ อย่าหลงเชื่อการซื้อขายยาทำแท้งออนไลน์ เพราะเนื่องจากจะไม่ได้ยา ถูกหลอก อีกทั้งส่วนใหญ่มักจะขายยาทำแท้งในปริมาณที่มากขึ้นตามอายุครรภ์ ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงบาดเจ็บ และเสียชีวิต ไม่แนะนำซื้อยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง)มาใช้เอง เนื่องจากการดูแลรักษาผู้ที่ท้องไม่พร้อมและต้องการยุติการตั้งครรภ์ ยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นที่สำคัญอีกมาก เช่น การให้การปรึกษา การให้กำลังใจ หรือ การให้บริการคุมกำเนิดหลังยุติการตั้งครรภ์ เป็นต้น ปัจจุบันการยุติการตั้งครรภ์โดยการใช้ยาเป็นเรื่องที่ปลอดภัย หากได้จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ แต่ THE EXIT...

การเสวนาและรณรงค์ ชีวิตและสิทธิของหญิงท้องไม่พร้อม : ความสำเร็จและพันธกิจที่ต้องสานต่อ และ การแถลงข่าว ‘ความสำเร็จของโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม’

0
กรมอนามัย ร่วมกับเครือข่าย วางเป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิตและสิทธิของหญิงท้องไม่พร้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) จัดเสวนาและรณรงค์ชีวิตและสิทธิของหญิงท้องไม่พร้อม เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงท้องไม่พร้อมเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย วันนี้ (18 กันยายน 2563) นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานแถลงข่าวความสำเร็จของโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และนายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย