“ทุกทางเลือกล้วนเจ็บปวด…” อาจารย์สุจิตรา โปร่งแสง ข้าราชการ (ศึกษานิเทศก์) ที่ผันตัวมาเป็นนักวิชาการอิสระ
https://www.youtube.com/watch?v=9gavGyUCRC4
"ทุกทางเลือกล้วนเจ็บปวด…" อาจารย์สุจิตรา โปร่งแสง ข้าราชการ (ศึกษานิเทศก์) ที่ผันตัวมาเป็นนักวิชาการอิสระ
เคยเจอเด็กที่อยู่ในโครงการแล้วก็โทรมาปรึกษา ก็อยากเลือกทางเลือกนี้ ถามความรู้สึกแรกก็อึ้ง มันคล้ายๆ แบบทดสอบนึงว่า ผู้ใหญ่เชื่อจริงหรือปล่าวว่า เด็กสามารถเลือกตัดสินใจทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเองได้ มันเป็นแบบทดสอบของเราจริงๆ ในตอนนั้น หลังจากที่ผ่านอารมณ์ความรู้สึกเรื่องการอึ้งไปแล้ว เราเริ่มใช้วิชาการที่เรียนรู้มา ตั้งหลักให้ดี เช็คอีกนิดนึงว่าเขาต้องการอย่างนั้นจริงๆ มั้ย ทางเลือกอื่นเขารู้แล้วหรือยัง เมื่อเช็คแล้วว่าทุกอย่างเขารู้หมด เลือกที่จะเป็นการส่งต่อให้เขาถึงแหล่งข้อมูลที่จะยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย เพราะว่าสุดท้ายจริงๆ เราเชื่อว่าถ้าเขาไม่มีข้อมูลเหล่านี้...
แผ่นพับเครือข่ายอาสา RSA (ล่าสุด62)
ทำไมต้องมี RSA?เพราะว่า.. ยังมีผู้หญิงที่จำเป็นต้องได้รับบริการที่เข้าข่ายการทำแท้งตามกฎหมาย แต่เข้าถึงหน่วยบริการได้ยากและราคาแพง จึงต้องเข้าไปสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ทำให้บาดเจ็บ มีภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิต การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมส่งผลต่อการเกิดที่ไม่มีคุณภาพ น้ำหนักแรกคลอดต่ำ ถูกทอดทิ้ง กำพร้า ขาดสารอาหาร ขาดการดูแลเอาใจใส่ เติบโตโดยไม่มีครอบครัวดูแล สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยในอนาคต
RSA คือใคร? คือ..เครือข่าย แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักสาธารณสุข...
สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2560
ที่มา : กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข
Live ทำไมผมจึงต้องสอนนักศึกษา เรื่องยุติการตั้งครรภ์ – ผศ.นพ.สัญญา ภัทราชัย
บันทึกถ่ายทอดสด การบรรยายพิเศษ "ภารกิจวิชาการที่ไม่ธรรมดา..ทำไมผมจึงตอนสอนนักศึกษาเรื่องยุติการตั้งครรภ์ ?" โดย อาจารย์ ผศ.นพ.สัญญา ภัทราชัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2562
https://www.youtube.com/watch?v=BIA3LiYuqeE&t=14s&fbclid=IwAR0C4U5klFRbVwN-uSqsdsxGZJv09gwxOAfuPM79WtbYD9pkGOM-Q5PcXZE
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=BIA3LiYuqeE&t=14s
การท้องเป็นเหมือนอุบัติเหตุในชีวิตที่ทำให้สะดุดล้ม
ผู้หญิงที่เข้ามาบ้านพักฉุกเฉิน 90% ไม่ฝากครรภ์มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นหรือวัยใด มีทั้งคนที่ผ่านการใช้สารเสพติดมา ใช้ยา มีปัญหาสุขภาพจิต เมื่อท้องโตจิตแพทย์จะยังไม่รับจนกว่าจะคลอดเพราะว่ายาจะมีผลกระทบกับเด็กในครรภ์ มีทั้งคนที่เป็นท้องแรกและไม่ใช่ท้องแรก มีปัญหาดูแลตัวเองไม่เป็น การดูและเรื่องท้องต่อนั้นจึงยากกว่าการยุติท้องมาก “การยุติการตั้งครรภ์เปรียบเหมือนช่างเสริมสวยที่ตัดผม จะตัดสวย ถูกใจหรือไม่ ตัดแล้วตัดเลย แต่การท้องต่อเปรียบเสมือนการตัดเย็บเสื้อผ้า ตัดแล้วไม่ชอบต้องการรื้อใหม่….”
บ้านพักฉุกเฉินทำงานกับเด็กที่ท้องไม่พร้อม และทำงานกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง แต่ไม่ได้ทำงานกับผู้ชายเพราะผู้ชายหาตัวยาก เราทำงานฟื้นฟู ดูแลตั้งแต่ก่อนคลอด การท้องเป็นเหมือนอุบัติเหตุในชีวิตที่ทำให้สะดุดล้ม หลายคนไม่รู้ว่านี่คือการท้อง...
สิทธิ ! ที่ผู้หญิงพึงได้รับโดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
การฝึกอบรมอาชีพและพัฒนาคุณภาพในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์สำหรับผู้หญิงและครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคมต่างๆ ขาดโอกาสทางการศึกษา ครอบครัวที่กระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรี ถูกละเมิดทางเพศ ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพัง /การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ให้ได้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสตรีและครอบครัว เสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง ให้สามารถพึ่งตนเองได้ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยมีการเปิดอบรมอาชีพ มีทั้งหลักสูตรระยะสั้น 1 เดือน 3 เดือน และหลักสูตร 6 เดือน เป็นต้น ภายหลังสำเร็จการอบรมมีบริการจัดหางานให้ทำตามความสมัครใจ...
ห่วงอนาคตคนรุ่นใหม่ ที่พ่อแม่ใช้สารเสพติด หลายคนปฎิเสธ การรักษา
โรงพยาบาลได้นำร่องที่นำระบบเรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเข้าสู่บริการของโรงพยาบาลตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันปัญหาผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม เรื่องหนึ่งคือ การประเมินศักยภาพของตนเองผิด เป็นเรื่องจำเป็นที่บุคลากรต่างๆ ต้องช่วยประเมินและวางแนวทางในการช่วยเหลือ
ตั้งแต่ปี 2560 โรงพยาบาลเก็บข้อมูลการตั้งครรภ์ไม่พร้อม พบว่า โรงพยาบาลปทุมธานีทำคลอดเดือนละประมาณ 300 กว่าราย ทุกเดือนจะเจอเคสมาคลอดแล้วใช้สารเสพติดร่วมด้วยราว 10 ราย หรือปีละประมาณ 100 ราย ตอนนี้เจ้าหน้าที่เป็นห่วงอนาคตของคนรุ่นใหม่ที่เกิดมา เพราะทั้งพ่อทั้งแม่ใช้สารเสพติด หลายคนปฎิเสธการรักษา ส่วนใหญ่เมื่อคลอดแล้วมีแนวโน้มทำร้ายเด็ก...
ให้เขาเข้าถึงสิทธิ ที่ควรจะได้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ ในการทำแท้งหรือ ตั้งครรภ์ต่อ
การทำงานกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม คนทำงานต้องเจอกับดักหลายอย่าง อย่างแรกคือ ทัศนคติต่อการทำแท้ง ถ้ามีทัศนะคติต่อการทำแท้งว่าเป็นความผิดบาป ก็จะไม่ให้ข้อมูลแก่ผู้หญิงหรือบางครั้งก็แนะว่าไม่ควรทำ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจเหนือโดยไม่เคารพสิทธิของผู้หญิง ยิ่งเป็นเด็กยิ่งไม่อนุญาต ให้เขาเข้าใจสิทธิของตัวเอง การมีอยู่ของสิทธิ และความต้องการผู้หญิงไม่ได้รับการยอมรับ
กับดักต่อมาคือเรื่องภาวะอารมณ์ในภาวะวิกฤต ข้อมูลต่างๆ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ระหว่างผู้หญิงที่ยังรู้สึกสับสน เครียด วิตกกับภาวะที่เป็นอยู่ คนทำงานหรือคนที่อยู่รอบข้างจะต้องมีทักษะในการทำงานกับภาวะอารมณ์ก่อนในกระบวนการให้การปรึกษาเพื่อให้เขาเข้าใจตัวเองให้ชัดเจนและตัดสินใจบนพื้นฐานความเข้าใจ และเมื่อเขาได้ตัดสินใจแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกไหน ต้องเคารพการตัดสินใจของเขา การให้การปรึกษาเน้นในเรื่องการทำงานกับภาวะอารมณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในทุกช่วงของการช่วยเหลือ
จะต้องผลักดันให้เขาเข้าถึงสิทธิที่ควรจะได้ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการทำแท้งหากเขาตัดสินใจทำ แต่หากเขาตั้งครรภ์ต่อ...
รายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ออกรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561 โดยเน้น "พลังของทางเลือก" และมีชื่อรายงานเต็มว่า "พลังของทางเลือก: สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และการเปลี่ยนผ่านทางโครงสร้างประชากร" รายงานฉบับนี้นำเสนอมุมมองเชิงลึกเพื่อให้เห็นถึงพลังที่มาจากการได้เลือกจำนวนบุตร ช่วงเวลาในการมีบุตร และ ระยะเว้นห่างการมีบุตรว่าสามารถช่วยสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกได้อย่างไร
อ่านรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561
https://www.youtube.com/watch?v=u0qH40svEF8
ที่มา : https://thailand.unfpa.org/
ท้องไม่พร้อมมีทางเลือก คุณสายใจ โฆษิตกุลพร ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช
"…เขาสมควรที่จะมีช่องทางที่ไม่บาดเจ็บกับจิตใจเขา ที่จะสามารถยุติปัญหาเหล่านี้ลงได้…"
https://www.youtube.com/watch?v=ZWiP6eXr3oY
ที่มา : https://youtu.be/ZWiP6eXr3oY