Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี
Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการเพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา วันที่ 10 มีนาคมของทุกปี ถือเป็นวัน Abortion Provider Appreciation Day หรือ วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการ ทั้งแพทย์ พยาบาล นักสังคม นักจิตวิทยา ผู้ให้การปรึกษา...
ศาล รธน. รับเรื่องร้องเรียนกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง กรณีแรกที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน #BalanceforBetter
วันสตรีสากล ปี 2562 เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี #BalanceforBetter โดยขอให้มีความเท่าเทียมกันในมิติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เพราะการตั้งครรภ์นั้น ไม่ได้เกิดจากผู้หญิงฝ่ายเดียว ต้องมีผู้ชายมีส่วนร่วมด้วยทุกครั้ง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับเรื่องร้องเรียนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง โดยคำร้องได้ให้เหตุผลว่า บทบัญญัติมาตรา 301 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560...
กฎหมายอาญามาตรา 301 กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง
กฎหมายอาญามาตรา 301 "หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" เป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิงเลย เพราะว่า กฎหมายนี้ เอาผิดกับผู้หญิงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่การท้องได้ต้องเกิดจากผู้หญิงและชายร่วมกัน กฎหมายนี้ ส่งผลให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมต้องหลบซ่อนไม่กล้าปรึกษาขอความช่วยเหลือ แล้วอาจไปลงเอยที่การทำแท้งเถื่อน กฎหมายนี้ ซ้ำเติมผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ ช่วงที่ชีวิตเปราะบางและอ่อนแอที่สุดให้เลวร้ายลงไปอีก
เรื่องจริงของความไม่ยุติธรรมนั้น คลิกอ่านได้ที่นี่ เรื่องของดา : https://rsathai.org/contents/13887เรื่องของพร : https://rsathai.org/contents/13838เรื่องของหนู : https://rsathai.org/contents/13912ขอบคุณเรื่องจากชีวิตจริงที่ทำให้สังคมออนไลน์ตื่นขึ้นจากความไม่เท่าเทียม
เครือข่ายอาสา RSA เครือข่ายท้องไม่พร้อม ชวนร่วม #BalanceforBetter เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2562
นานาชาติกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล ประเด็นหลักในการรณรงค์ปีนี้คือ #BalanceforBetter “สร้างสมดุลหญิงชายเพื่อก้าวไกล” การรณรงค์ในบางประเทศ เช่น แคนาดา มีการปรับคำให้ชัดเจนขึ้นโดยใช้คำว่า Getting to Equal คือ ให้มีความเท่าเทียมระหว่างหญิงชายในทุกมิติ สำหรับประเทศไทย เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี#BalanceforBetter เนื่องในวันสตรีสากล...
โครงการตลาดนัดสุขภาวะเยาวชน “การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จังหวัดตาก
โครงการตลาดนัดสุขภาวะเยวชน “การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จังหวัดตาก
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก จัดโครงการตลาดนัดสุขภาวะเยาวชน “การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จังหวัดตาก โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ หอประชุมกาญจนาภิเษก (ชั้น 2) โรงเรียนตากพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดตาก เพื่อสร้างกระแสสื่อสารด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่่น และส่งเสริมให้วัยรุ่นได้แสดงศักยภาพความรู้ความสามารถ การมีส่วนร่วมของวัยรุ่นในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
โดยได้รับเกียรติจาก นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์...
ความเป็นธรรมของกฎหมายอยู่ที่ไหน ?
การทำแท้งในประเทศไทยเป็นหนึ่งในบริการสุขภาพที่อยู่ภายใต้กฎหมายอาญา ในขณะที่ 74 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งจีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป การทำแท้งในประเทศไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 - 305 อธิบายโดยย่อให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ได้ดังต่อไปนี้
มาตรา 301 ผู้หญิงทำให้ตัวเองหรือให้คนอื่นทำให้แท้ง จะติดคุกถึงสามปี และ/หรือปรับถึงหกหมื่นบาท มาตรา 302 ใครไปทำให้แท้งโดยผู้หญิงยินยอม...
ทำไมต้องแก้กฎหมายเกี่ยวกับทำแท้ง ?
มาทำความเข้าใจกันก่อนนะ คือในโลกนี้มี 74 ประเทศที่การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป จึงไม่ต้องมีกฎหมายใดๆ มารองรับ ส่วนใหญ่คือประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจคือ จีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ส่วนไทยไม่ใช่หนึ่งในนั้นแน่นอน
เดิมบ้านเราก็ไม่มีกฎหมายทำแท้งนะ ผู้หญิงไทยแต่โบราณทำแท้งได้โดยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ ประมาณว่า การตัดสินใจว่าจะท้องต่อหรือไม่ท้องต่อนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่พอประเทศเรามาเริ่มพัฒนากฎหมายเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน ก็เลยเขียนกฎหมายนี้ตามประเทศเยอรมัน ให้การทำแท้งผิดกฎหมายอาญาทุกกรณี...
มุมมองของแพทย์ต่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย – นพ.สุรพันธ์ แสงสว่าง
"..ถ้าเราสามารถเข้ามาช่วยเหลือกันได้ ช่วยกันเถอะครับ ในการที่จะช่วยเหลือผู้หญิงให้ผ่านพ้นวิกฤตชีวิตไปได้อย่างปลอดภัยที่สุด.."
https://www.youtube.com/watch?v=7_Us400b6iQ&t=2s
นพ.สุรพันธ์ แสงสว่าง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
มุมมองของแพทย์ต่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย – นพ.ชาญชัย บุญอยู่
https://www.youtube.com/watch?v=f3_k04fLAKo
นพ.ชาญชัย บุญอยู่ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ผู้มีปัญหาท้องไม่พร้อม โทรสายด่วน 1663 เพื่อรับบริการปรึกษา ความช่วยเหลืออื่นๆ และส่งต่อไปยังสถานบริการเครือข่ายแพทย์อาสา RSA ทั้งรัฐและเอกชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวท้องไม่พร้อมได้ที่ www.rsathai.org และ facebook : https://web.facebook.com/rsathai.org/
ราชกิจจานุเบกษา : กฏกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562
รู้หรือไม่ว่า...กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 25 มกราคม 2562 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 (60 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 โดยมีสาระสำคัญประกอบไปด้วย
สถานบริการทุกแห่งต้องให้บริการข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์กับวัยรุ่นในเรื่องสิทธิของวัยรุ่นตาม พ.ร.บ. เพศวิถีศึกษา การคุมกำเนิด การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี/เอดส์...