5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยายุติตั้งครรภ์ (Medical abortion)
5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยายุติการตั้งครรภ์ (Medical abortion)
การใช้ยายุติการตั้งครรภ์เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอน โดยมียาเกี่ยวข้อง 2 ตัว (มิฟิพริสโตน: mifepristone (หรือ RU486 ชื่อการค้าที่พบในเว็บไซต์ขายยาทำแท้งเถื่อน) และไมโซพรอสตอล :misoprostol) หรือ ไซโตเทค และ/หรือมียาตัวเดียวแต่ใช้หลายครั้ง (ไมโซพรอสตอลตัวเดียว: misoprostol alone)
การใช้ยามิฟิพริสโตน ร่วมกับ ไมโซพรอสตอล จะได้ผลมากกว่าการใช้ยา ไมโซพรอสตอลอย่างเดียว
การใช้ยาไมโซพรอสตอล...
บ้านพักรอคลอด/หลังคลอด ที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
บ้านพักรอคลอด/หลังคลอด ที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
คลินิกดาวชมพู หน่วยฝากครรภ์ที่ตั้ง : โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ 10700 หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราชการติดต่อ : 02 419 7866 ถึง 80 ต่อ...
บ้านพักรอคลอด หลังคลอด
บ้านพักรอคลอด หลังคลอด คือ สถานที่พักพิงเพื่อรอคลอดและพักฟื้นหลังคลอด ผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตัดสินใจท้องต่อ สามารถเข้าสู่ระบบบริการของบ้านพักรอคลอด เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะได้มีโอกาสทบทวนค้นหาสาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตในอนาคต ได้มีโอกาสประเมินถึงปัจจัยที่จะให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ เช่น ประเมินศักยภาพของตนเองในการเลี้ยงดูลูก ประเมินความพร้อมในการทำหน้าที่แม่เลี้ยงเดี่ยว ประเมินความพร้อมและการยอมรับของครอบครัวและชุมชนที่มีต่อลูก ผ่านการให้คำปรึกษา ทั้งก่อนคลอด และหลังคลอด เพื่อให้หลุดพ้นจากภาวะสับสน และการลงโทษตนเองจากเรื่องที่เกิดขึ้น
นอกจากการให้การปรึกษาแล้วกิจกรรมระหว่างที่ได้เข้าร่วมระหว่างที่พักในบ้านพักเป็นสิ่งสำคัญ เพราะกิจกรรมจะช่วยเสริมคุณค่าในตัวเอง ค้นพบศักยภาพในตนเองที่จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตหลังออกจากบ้านพักได้ดีขึ้น
ปัจจุบัน บ้านพักรอคลอดในประเทศไทยมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งหลายแห่งยังมีประเด็นในด้านคุณภาพของการจัดบริการ สภาพแวดล้อม และกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพ รวมทั้งบุคลากรที่มีทัศนคติที่เข้าใจต่อปัญหา
สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ สวท 9 สาขา
คลินิก สวท เวชกรรม (องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) ดำเนินงานภายใต้ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยฯ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2513 สวท ทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการท้องไม่พร้อม ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี พัฒนาคุณภาพประชากรผู้สูงอายุ ดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ให้กับประชากรในถิ่นธุรกันดารห่างไกล พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยความเท่าเที่ยมกัน โดยไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา หรือชาติพันธุ์ภารกิจของสวท1. บริการวางแผนครอบครัวอย่างมีคุณภาพผ่านคลินิก สวท ทั้ง 10...
ตำรับยายุติตั้งครรภ์(ทำแท้ง)ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย
ตำรับยายุติตั้งครรภ์(ทำแท้ง)ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย
คณะกรรรมการอาหารและยา ได้มีการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนยาชนิดเม็ด 2 ชนิดที่บรรจุในแผงเดียวกัน เพื่อยุติการตั้งครรภ์ ทำแท้งในผู้หญิงที่ไม่มีข้อห้ามการใช้ยาทางการแพทย์ โดยมีข้อบ่งชี้ในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ภายใต้ ข้อกฎหมาย ข้อกำหนดของแพทยสภา โดยสามารถสั่งจ่ายยาได้โดยแพทย์ที่ผ่านการอบรมและไม่พบข้อห้ามใช้ทางการแพทย์
สำหรับตำรับยาดังกล่าว ประกอบด้วยยาเม็ด 2 ชนิด คือ ยามิฟิพริสโตน(mifepristone) หรือที่ใช้ชื่อทางการค้าว่า RU486 ที่สามารถพบเห็นได้ในเว็บไซต์ขายยาทำแท้งเถื่อน ซึ่งเป็นยาต่อต้านฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน(anti-progesterone)ขนาด 200 มิลลิกรัม จำนวน 1 เม็ด...
6 บทบาทหน้าที่ของกรมอนามัยต่อการบริหารจัดการยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ (มิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน)
หลังจากยามิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน ได้รับการขึ้นทะเบียนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ขอให้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บริหารจัดการยามิฟิพริสโตน และไมโซโพรสตอลที่บรรจุในแผงเดียวกัน ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและวางแผนดูแลกำกับการใช้ยาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 2 ปี โดยทำหน้าที่ต่อไปนี้คือ
ประสานงานกับสถานพยาบาลทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประเมินความพร้อมในการให้บริการ และการอนุญาตให้จัดให้มี ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลในการบริการยุติการตั้งครรภ์
จัดทำคู่มือการใช้ยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอล และจัดส่งคู่มือไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่มียาให้บริการ
รวบรวมรายงานยามิฟิพริสโตนและไมโซโพรสตอลที่นำเข้าโดย บริษัทผู้นำเข้ายาและจัดจำหน่าย
รวบรวมและวิเคราะห์การให้ยาและการยุติการตั้งครรภ์จากรายงานของสถานพยาบาลต่างๆ
เฝ้าระวังและติดตามผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
...
อาการท้องนอกมดลูก
อาการและอาการแสดงของการตั้งครรภ์นอกมดลูก ท้องนอกมดลูก
มีอาการเจ็บปวดที่ท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานบ่อยครั้งเป็นข้างเดียว และเลือดออกทางช่องคลอดอาการเจ็บปวดและเลือดออกอาจมีติดต่อกันไป หรือเป็น ๆ หาย ๆ และในบางกรณีอาจไม่มีอาการอะไรเลย ปัจจัยเสี่ยงสูงสำหรับครรภ์นอกมดลูก ท้องนอกมดลูก คือ การผ่าตัดท่อนำไข่ ทำหมันโดยตัดท่อนำไข่ เคยมีประวัติการตั้งครรภ์นอกมดลูก การได้รับยาไดเอธิลสติลเบสตรอล (diethylstilbestrol) ขณะเป็นทารกในครรภ์ การใส่ห่วงอนามัย และโรคของท่อนำไข่ที่มีบันทึกไว้ การผ่าตัดทำหมันที่ท่อนำไข่และอื่นๆ ทำให้มีตำแหน่งตีบตันเป็นจุดที่ตัวอ่อนจะเดินทางมาติดอยู่ตรงนั้น ไม่สามารถเดินทางไปฝังตัวในโพรงมดลูกได้ การใส่ห่วงอนามัยเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูก แต่ไม่อาจป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูก โดยปกติโอกาสที่จะตั้งครรภ์หลังทำหมันหรือใส่ห่วงอนามัยนั้นต่ำมากเนื่องจากเป็น...
ท้องนอกมดลูกใช้ยาทำแท้งไม่ได้ผล
ยาสำหรับหรับยุติการตั้งครรภ์จะไม่ได้ผลในผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์นอกมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่สามารถจะอยู่ต่อไปจนครบกำหนดได้ ต้องรักษาเพื่อช่วยชีวิตผู้หญิง และการทำแท้งด้วยยาจะไม่สามารถรักษาการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
ครรภ์นอกมดลูก ท้องนอกมดลูก คือ การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นภายนอกโพรงมดลูกพบได้ร้อยละ 1 - 2 ของการตั้งครรภ์ยาทำแท้งไม่ได้ผลสำหรับการท้องนอกมดลูก ภายหลังการได้รับยาทำแท้งถุงการตั้งครรภ์ที่นอกมดลูกก็ยังมีโอกาสแตก ทำให้ตกเลือดในช่องท้องเป็นอันตรายได้ ผู้หญิงที่มาขอยุติการตั้งครรภ์อาจมีภาวะครรภ์นอกมดลูกอยู่แล้ว ซึ่งวินิจฉัยได้ยาก
ในอายุครรภ์น้อย ๆ การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ช่วยวินิจฉัยครรภ์ได้ว่าไม่ใช่ครรภ์นอกมดลูก หากพบถุงการตั้งครรภ์อยู่ภายในโพรงมดลูก การตรวจเนื้อเยื่อที่ขับออกจากมดลูกหลังจากการใช้ยายุติตั้งครรภ์จะช่วยยืนยันการตั้งครรภ์ในมดลูกได้
ในรายที่สงสัยหากผู้หญิงอาจยังมีเลือดออกและปวดเกร็งในท้อง ภายหลังการใช้ยาต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่ามีภาวะท้องนอกมดลูกหรือไม่
ที่มา : คู่มือประกอบการให้บริการก่อน...
ทัศนคติและแนวคิดของคนในสังคมต่อเรื่องการยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้ง
ทัศนคติและแนวคิดของคนในสังคมต่อเรื่องการยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้ง เราอาจแบ่งแนวคิดในเรื่องดังกล่าวออกเป็น 2 ด้านที่แตกต่างกัน คือ แนวคิดสนับสนุนชีวิต (Pro-life) หรือแนวคิดต่อต้านการทำแท้ง (Anti-abortion) กับแนวคิดสนับสนุนทางเลือก (Pro-choice) หรือแนวคิดสิทธิในการทำแท้ง (Abortion right)
แนวคิดสนับสนุนชีวิต (Pro-life) เป็นแนวคิดที่ไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง และอาจรวมถึงการสนับสนุนให้รัฐออกกฎหมายห้ามการทำแท้ง โดยให้เหตุผลว่าชีวิตมนุษย์เริ่มต้นตั้งแต่การปฏิสนธิ และตัวอ่อนในครรภ์ถือได้ว่ามีสถานะเทียบเท่าบุคคล จึงมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ซึ่งใครจะละเมิดมิได้ และผู้สนับสนุนแนวคิดนี้จำนวนไม่น้อย มองว่าการทำแท้งขัดต่อหลักความเชื่อทางศาสนาและถือเป็นบาปร้ายแรง
แนวคิดสนับสนุนทางเลือก (Pro-choice) เห็นว่าผู้หญิงควรมีสิทธิในเนื้อตัวร่างกาย...
ใช้ยายุติการตั้งครรภ์ ยาทำแท้ง ให้ปลอดภัยได้อย่างไร?
ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม มักไม่สามารถบอกหรือปรึกษาใครได้ เมื่อหาทางออกไม่ได้ มักจะคิดถึงการยุติตั้งครรภ์ไว้ก่อน หลังจากนั้นก็จะหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และถูกชักนำไปให้ซื้อยาทำแท้งทางไปรษณีย์ โดยไม่อาจรู้ได้ว่า ยาที่จะได้รับนั้นเป็นยาจริงหรือยาปลอม ขนาดยาเหมาะสม และวิธีการใช้ถูกต้องตามอายุครรภ์หรือไม่
เพียงหวังให้ผู้หญิงและทุกๆ คน มีข้อมูล มีความเข้าใจที่รอบด้านเกี่ยวกับยาทำแท้ง เพื่อเตือนให้ฉุกคิดถึงอันตรายจากการใช้ยาทำแท้งไม่ถูกต้อง เข้าใจอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น และแนวทางปฎิบัติหากพบอาการที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยไม่รอช้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อและรักษาชีวิตอันมีค่าของตัวเองไว้ ไม่ได้ต้องการให้เป็นคำแนะนำสำหรับการหาซื้อยายุติการตั้งครรภ์มาใช้เอง เนื่องจากการดูแลรักษาผู้ที่ท้องไม่พร้อมและต้องการยุติการตั้งครรภ์ ยังมีองค์ประกอบอย่างอื่นที่สำคัญอีกมาก เช่น การให้การปรึกษา การให้กำลังใจ หรือ...