การเกิดจากท้องที่ตั้งใจต้องให้ผู้หญิงมีส่วนตัดสินใจเลือกเอง

0
ในทศวรรษนี้ สังคมไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญ นั่นคือ การเป็นสังคมสูงวัย ด้วยอัตราการเกิดที่ลดลง สวนทางกับสถิติแม่วัยรุ่นที่เพิ่มขึ้นและด้วยคำถามสำคัญถึงการเกิดและการมีชีวิตอยู่ อย่างมีคุณภาพของสังคมไทย เรื่องของท้องไม่พร้อมกับการเกิดจึงสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก โดยเฉพาะเมื่อมองจากมุมของสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ แต่ความยากลำบากอย่างยิ่งของการทำความเข้าใจเรื่องท้องไม่พร้อมกับการเกิดก็คือ การที่ร่างกายผู้หญิงเป็นพื้นที่ต่อสู้รองรับอุดมการณ์หลายอย่างเกินไป เริ่มจาก... อุดมการณ์เรื่องเพศ ที่กำหนดแบบแผนปฏิบัติไว้อย่างแข็งตัว เช่น อนุญาตให้มีได้ในสถาบันการแต่งงานในวัยอันสมควร และในความสัมพันธ์ต่างเพศ ฯลฯ อุดมการณ์เรื่องผู้ชายเป็นใหญ่ ที่ยอมรับอิทธิพลของผู้ชายในการกำหนดความเป็นไปของชีวิตทางสังคมมากกว่าผู้หญิง แม้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิงเองก็ตาม อุดมการณ์ครอบครัวสมบูรณ์ ที่สร้างระบบคุณค่าให้ความสำคัญกับการเกิดและการมีลูก โดยวางเฉยไม่เห็นว่าความตั้งใจ/ไม่ตั้งใจท้อง หรือความพร้อม/ไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ของผู้หญิง เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการตัดสินใจ ผู้หญิงจำนวนมากต้องเสียลละความต้องการ...

สาเหตุของการท้องไม่พร้อมในประเทศไทย

0
จากการรวบรวมงานศึกษาวิจัยต่างๆ รวมทั้งข้อมูลจากการให้บริการปรึกษาทางเลือก พบว่า สาเหตุที่ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมาจากปัจจัยต่างๆ โดยประมวลตามปัจจัยได้ ดังต่อไปนี้ สาเหตุจากที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ ไม่ใช้วิธีการใดๆ ในการคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จากประสบการณ์ของสมาชิกเครือข่ายฯ ในการให้การปรึกษาทั้งตั้งต่อตัวและทางโทรศัพท์ พบว่าผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมกว่าร้อยละ 50 ตั้งครรภ์เพราะไม่ได้คุมกำเนิด ใช้วิธีการคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง เช่น ลืมกินยา กินยาไม่ตรงเวลา ถุงยางอนามัยแตกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ไม่ไปฉีดยาตรงตามกำหนดนัด เป็นต้น ใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การนับระยะปลอดภัย การหลั่งภายนอก หรือ การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีการคุมกำเนิดหลักแทนที่จะใช้เมื่อฉุกเฉินเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้การตั้งครรภ์นั้นไม่พร้อม เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ความไม่พร้อมอาจจะมาจากเหตุในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ด้านสุขภาพผู้หญิง ...

สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2560

0
ที่มา : กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข

รายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561

0
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ออกรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561 โดยเน้น "พลังของทางเลือก" และมีชื่อรายงานเต็มว่า "พลังของทางเลือก: สิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์และการเปลี่ยนผ่านทางโครงสร้างประชากร" รายงานฉบับนี้นำเสนอมุมมองเชิงลึกเพื่อให้เห็นถึงพลังที่มาจากการได้เลือกจำนวนบุตร ช่วงเวลาในการมีบุตร และ ระยะเว้นห่างการมีบุตรว่าสามารถช่วยสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกได้อย่างไร อ่านรายงานสถานการณ์ประชากรโลกประจำปี 2561 https://www.youtube.com/watch?v=u0qH40svEF8 ที่มา : https://thailand.unfpa.org/

Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี

0
Abortion Provider Appreciation Day 10 มีนาคมของทุกปี วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการเพื่อให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา วันที่ 10 มีนาคมของทุกปี ถือเป็นวัน Abortion Provider Appreciation Day หรือ วันยกย่องบุคลากรผู้ให้บริการ ทั้งแพทย์ พยาบาล นักสังคม นักจิตวิทยา ผู้ให้การปรึกษา...

ศาล รธน. รับเรื่องร้องเรียนกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง กรณีแรกที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน #BalanceforBetter

0
วันสตรีสากล ปี 2562 เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี #BalanceforBetter โดยขอให้มีความเท่าเทียมกันในมิติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เพราะการตั้งครรภ์นั้น ไม่ได้เกิดจากผู้หญิงฝ่ายเดียว ต้องมีผู้ชายมีส่วนร่วมด้วยทุกครั้ง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับเรื่องร้องเรียนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้ง โดยคำร้องได้ให้เหตุผลว่า บทบัญญัติมาตรา 301 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560...

ทำไมต้องแก้กฎหมายเกี่ยวกับทำแท้ง ?

0
มาทำความเข้าใจกันก่อนนะ คือในโลกนี้มี 74 ประเทศที่การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป จึงไม่ต้องมีกฎหมายใดๆ มารองรับ ส่วนใหญ่คือประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจคือ จีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ส่วนไทยไม่ใช่หนึ่งในนั้นแน่นอน  เดิมบ้านเราก็ไม่มีกฎหมายทำแท้งนะ ผู้หญิงไทยแต่โบราณทำแท้งได้โดยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ ประมาณว่า การตัดสินใจว่าจะท้องต่อหรือไม่ท้องต่อนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่พอประเทศเรามาเริ่มพัฒนากฎหมายเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน ก็เลยเขียนกฎหมายนี้ตามประเทศเยอรมัน ให้การทำแท้งผิดกฎหมายอาญาทุกกรณี...

การยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา Medabon (ยาทำแท้ง) ในประเทศไทย

0
ปี 2555 ประเทศไทยได้นำยายุติการตั้งครรภ์ หรือ Medabon ซึ่งมีตัวยยามิฟิพริสโตน (หรือที่รู้จักในชื่อการค้า RU486) และ ไมโซโพรสตอล (ไซโตเทค) บรรจุในแผงเดียวกัน เพื่อใช้ในโครงการศึกษาวิจัยนำร่อง ผลการวิจัยพบว่า ยา Medabon มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการยุติตั้งครรภ์มากกว่าร้อยละ 95 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขึ้นทะเบียนยาตัวนี้ และบรรจุยาไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ในทางการแพทย์ และเป็นยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น มีให้บริการเฉพาะที่สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนสมัครรับยาจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อยาทำแท้งได้จากร้านยา...

ความสำเร็จในการเดินทางของยายุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) จากใต้ดินสู่ระบบบริการสุขภาพ

0
2541 แพทย์และนักวิชาการทั่วโลกมีการปรึกษาหารือเรื่องยายุติการตั้งครรภ์เพื่อลดการตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย 2547 องค์การอนามัยโลก ศึกษาวิจัยระดับโลก ผลยืนยันว่ายาปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ และบรรจุในบัญชียาหลักของโลก 2548 เริ่มศึกษายาครั้งแรกในประเทศไทย แต่การที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การทำแท้งเป็นเรื่องบาป เชื่อว่าผู้หญิงท้องไม่พร้อมไม่ดี เด็กวัยรุ่นสำส่อน อีกทั้งกฎหมายคลุมเครือ สังคมเชื่อว่าการทำแท้งผิดกฎหมายทุกกรณี มายาคติเหล่านี้ส่งผลให้มียาทำแท้งเถื่อนคุณภาพต่ำเกลื่อน ราคาแพง หาซื้อได้ทางออนไลน์ แต่กลับไม่มีบริการในระบบสุขภาพ 2554 เริ่มความพยามอีกครั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมียาที่มีประสิทธิภาพในระบบสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ขับเคลื่อน เริ่มจากการศึกษาวิจัยการใช้ยาในระบบบริการ ไปพร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจต่อคนในสังคม...

ข่าวดี !! ลูกจ้างในโรงงานได้รับสิทธิด้านการตั้งครรภ์

0
กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561 เพื่อสนับสนุนให้ลูกจ้างวัยรุ่น (อายุ 15-20 ปีบริบูรณ์) ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การฝากครรภ์ และการทำแท้งที่ปลอดภัย ทั้งนี้ สถานประกอบกิจการจะต้องจัดระบบส่งต่อให้วัยรุ่นที่ตั้งท้องได้รับสวัสดิการทางสังคม และบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสมต่อไป ผู้สื่อข่าวสังเกตว่าลูกจ้างและนายจ้างรับรู้กฎกระทรวงนี้ค่อนข้างน้อย และไม่มีบทลงโทษกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างวัยรุ่นเข้าไม่ถึงสิทธิที่จำเป็น รายงานจากการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3 การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น...

อายุครรภ์ของคุณประมาณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
RSA Prompt คืออะไร
ปรึกษาท้องไม่พร้อม
คำนวณอายุครรภ์
คำถามที่พบบ่อย