ปฏิญญาความร่วมมือเพื่อดูแลวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม

โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม เป็นหนึ่งในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ในด้านการพัฒนาเครือข่ายบริการท้ังตั้งครรภ์ต่อ และยุติการต้ังครรภ์ ให้มีความเข้มแข็ง เข้าถึงได้ ให้บริการได้อย่างปลอดภัยและเป็นมิตร

จากผลการประชุมในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงเจตจำนงในข้อตกลงความร่วมมือดังต่อไปน้ี

1)  ทุกฝ่ายตระหนักรับรู้ต่อแนวนโยบายการดำเนินงานพัฒนาเครือข่ายบริการทั้งตั้งครรภ์ต่อ และ ยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยให้เข้มแข็ง เพื่อช่วยกันเสริมสร้างความเข้าใจในหน่วยงานของตนเอง

2)  ทุกฝ่ายร่วมมือกันประชาสัมพันธ์สายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 เพื่อให้ผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ได้เข้าสู่ บริการปรึกษาทางเลือกเพื่อส่งต่อให้ความช่วยเหลือต่อไป

3)  สายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 จัดบริการปรึกษาท้องไม่พร้อมทางโทรศัพท์ ยินดีประสานความร่วมมือ รับฟังข้อเสนอแนะและความคิดเห็นกับหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการท่ีสอดคล้องกับปัญหา

4)  สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ร่วมมือกันให้การปรึกษาทางเลือก และ/หรือส่งต่อผู้ที่ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมไปยังสายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 เพื่อรับ การปรึกษา-ประสานส่งต่อไปรับบริการที่สอดคล้องกับทางเลือก

5)  ศูนย์พึ่งได้โดยกองบริหารการสาธารณสุขสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทีมสหวิชาชีพ ให้การปรึกษาทางเลือกตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดูแล/ส่งต่อให้บริการยุติการต้ังครรภ์ที่ปลอดภัย และ การตั้งครรภ์ต่อ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในกระบวนการยุติธรรมกรณีมีความรุนแรง

6)  กระทรวงศึกษาธิการโดยศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ความร่วมมือประสานการดูแลช่วยเหลือเพื่อให้นักเรียนที่ตั้งครรภ์ได้รับ การศึกษาต่อในโรงเรียนเดิม และ/หรือร่วมมือกับผู้ปกครองและโรงเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการศึกษาต่อเนื่องโดยยึดถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ

7)  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชนที่กำกับดูแล บ้านพักเด็กและครอบครัว ในการช่วยเหลือผู้ที่ต้ังครรภ์ไม่พร้อม โดยการให้ที่พักพิง ให้การปรึกษา พัฒนาศักยภาพในการดูแลเด็ก ช่วยเหลือฉุกเฉินด้านการเงิน ประสานการฝึกอาชีพ และอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ประสบปัญหา

8) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สนับสนุนเครือข่ายศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ในการเฝ้าระวังป้องกันดูแลการตั้งครรภ์วัยรุ่น และ ส่งต่อผู้ที่มีปัญหาในการเข้ารับบริการปรึกษาทางเลือก และการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย รวมทั้ง การฝึกอาชีพในศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว

9)  บ้านพักฉุกเฉิน บ้านพักสุขฤทัย บ้านพระคุณ สหทัยมูลนิธิ ให้ความร่วมมือเพื่อรับส่งต่อการดูแล และให้ที่พักพิงผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่ต้องการความช่วยเหลือตามความต้องการของผู้ประสบปัญหา

10)  เครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (Referral system for Safe Abortion: RSA) หรือ เครือข่ายอาสา RSA โดยการสนับสนุนของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่ปลอดภัย โดยเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับแพทยสภา และ แนวทางของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

11)  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ช่วยเหลือกวาดล้างการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย และการขายยาทำแท้ง ที่ด้อยคุณภาพ ที่ทำให้ผู้ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมถูกหลอกซื้อยา ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ติดเชื้อ ในกระแสเลือด และเสียชีวิต รวมทั้งแสวงหาแนวทางในการเอื้ออำนวยให้แพทย์ในเครือข่ายอาสา RSA ได้ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างราบรื่น

12)  สำนักงานอัยการสูงสุด ให้ความร่วมมือในกระบวนการยุติธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิแพทย์ผู้ให้บริการ ภายใต้ข้อบังคับแพทยสภา และให้ความเป็นธรรมกับวัยรุ่น/ผู้หญิงที่เข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมาย

13)  แพทยสภา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สภาการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างๆ สนับสนุน ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ เพื่อเสริมสร้างการดำเนินงานเครือข่ายบริการทั้งตั้งครรภ์ต่อและยุติการตั้งครรภ์ให้มีความเข้มแข็ง

14)  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้การสนับสนุนงบประมาณสำหรับการให้บริการ คุมกำเนิดกึ่งถาวรในวัยรุ่น บริการยุติการตั้งครรภ์ และการคุมกำเนิดกึ่งถาวร เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

15)  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ให้เข้าถึงบริการที่ปลอดภัยและเป็นมิตร

16)  กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายพยาบาลในชุมชน ให้ดำเนินการเชิงรุก โดยให้เครือข่ายบุคลากรสุขภาพในชุมชนช่วยเหลือและสนับสนุนให้ข้อมูลในการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ปฏิญญา : การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง

ดาวน์โหลด
ปฏิญญาความร่วมมือเพื่อดูแลวัยรุ่นและผู้.pdf

ปฏิญญาความร่วมมือเพื่อดูแลวัยรุ่นและผู้

การดูแลหลังคลอดและทางเลือกหลังจากคลอดบุตรแล้ว

เป้าหมายของการดูแลหลังคลอด คือ ให้ผู้หญิงมีการเตรียมความพร้อมในการดูแลบุตรในระยะยาวท่ามกลางข้อจำกัด และมีความคิดชัดเจนต่อทางเลือกหลังคลอดว่าจะเลี้ยงดูเอง หรือยกมอบบุตร และการป้องกันการท้องไม่พร้อมในอนาคตด้วยการคุมกำเนิดกึ่งถาวร ส่วนเป้าหมายสำหรับเด็ก คือ เด็กมีสุขภาพดี ได้รับนมแม่ และวัคซีนตามนัด รวมทั้งมีครอบครัวเลี้ยงดูในระยะยาว

ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และตั้งครรภ์ต่อ ภาวะความไม่พร้อมอาจยังมีอย่างต่อเนื่องจนถึงหลังคลอด ดังนั้น ช่วงหลังคลอด จึงควรได้รับการปรึกษาเพื่อให้การตัดสินใจต่อทางเลือกเป็นไปอย่างสอดคล้องเหมาะสมกับชีวิตของผู้หญิงการเสริมพลัง สร้างความเชื่อมั่น และความพร้อมในสิ่งที่ผู้หญิงได้ตัดสินใจเลือกแล้ว

 

ทางเลือกหลังคลอด มีดังต่อไปนี้

  1. ต้องการเลี้ยงดูบุตรเอง แม้ว่าตัดสินใจเลี้ยงดูบุตรเอง สำหรับบางคนอาจยังไม่พร้อมในช่วงแรก เนื่องจากยังต้องกลับไปทำงาน ไปเรียนต่อ หรือมีความจำเป็นบางประการ สามารถขอคำปรึกษา หรือติดต่อหน่วยงานรองรับ โดยขอปรึกษาศูนย์พึ่งได้ หรือฝ่ายสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลที่ฝากท้องคลอด บ้านพักเด็กและครอบครัว หรือ ปรึกษาหน่วยงานเอกชนที่ทำงานในด้านนี้ ประเด็นสภาพปัญหา และแนวทางช่วยเหลือที่มีอยู่ และข้อจำกัดของแนวทางนี้
  • ต้องการที่พักพิงระหว่างรอคลอด แนวทางการช่วยเหลือที่มีอยู่ : เข้าพักที่บ้านพักรอคลอดมีทั้งดำเนินการโดยภาครัฐและเอกชน ภาครัฐ คือ บ้านพักเด็กและครอบครัว ปัจจุบันมีบริการทุกจังหวัด ภาคเอกชน ได้แก่ บ้านพักฉุกเฉิน บ้านสุขฤทัย บ้านพระคุณ เป็นต้น  ข้อจำกัด : บ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัด มีความพร้อมในการดูแลผู้หญิงท้องไม่พร้อมแตกต่างกัน  บ้านพักของรัฐและเอกชนแต่ละแห่ง มีเงื่อนไขการรับเข้าพักและเกณฑ์ในการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ควรศึกษาเงื่อนไขเหล่านั้นก่อนตัดสินใจเข้าพัก

  • ไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูหลังคลอด แนวทางการช่วยเหลือที่มีอยู่ :

    • ส่งเด็กเข้าสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน ด้วยการฝากเลี้ยงชั่วคราวในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยในระหว่างนี้สามารถไปเยี่ยมเด็กได้จนกระทั่งมีความพร้อมแล้วจึงรับเด็กมาเลี้ยงดูเอง ข้อจำกัด : สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนมีบริการในบางจังหวัด มีสัดส่วนพี่เลี้ยงต่อจำนวนเด็กมาก การดูแลไม่ทั่วถึง
    • การส่งเด็กไปอยู่ในครอบครัวอุปถัมป์ชั่วคราวด้วยการฝากเลี้ยงในวันธรรมดา เพื่อให้มารดาได้ทำงาน หรือเรียนหนังสือ และรับเด็กมาเลี้ยงเองในวันหยุด โดยสามารถรับเด็กมาเลี้ยงดูเองได้เมื่อมีความพร้อม ข้อจำกัด : มีบริการที่หน่วยบริการของเอกชน เช่น สหทัยมูลนิธิ ครอบครัวอุปถัมป์มีจำกัดอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ

  • ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้เพียงพอเพื่อเลี้ยงดู แนวทางการช่วยเหลือที่มีอยู่ :
    • ติดต่อขอรับการสงเคราะห์เงินช่วยเหลือเฉพาะหน้า 2,000 บาท นมผงเด็กอ่อน หรือความช่วยเหลือด้านการฝึกอาชีพจากหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ หรือสอบถามข้อมูลได้จาก 1300 ข้อจำกัด : มีระยะเวลาในการช่วยเหลือ ดังนี้
      • เงินสงเคราะห์ช่วยเหลือเฉพาะหน้า ขอได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี
      • นมผง ให้สงเคราะห์ประมาณ 3-6 เดือน
      • การฝึกอาชีพ มีอาชีพให้เลือกไม่หลากหลายนัก

2. ไม่เลี้ยงเองแต่ต้องการยกให้ผู้อื่นเลี้ยงดูถาวร หากรับบริการปรึกษาทางเลือก คิดทบทวนจนได้ข้อสรุปว่า ไม่มีความพร้อมที่จะสามารถเลี้ยงดูบุตรได้อย่างแน่นอนแล้ว สามารถยกมอบบุตรโดยใช้บริการรับเลี้ยงเด็กของสถานสงเคราะห์ทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งสถานสงเคราะห์ยังมีบริการประสานกับพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เพื่อจัดบริการครอบครัวบุญธรรมให้กับเด็กต่อไป ซึ่งกรณีนี้เป็นการยกสิทธิการเลี้ยงดูบุตรให้ผู้อื่น หรือหน่วยงานอื่น เป็นผู้เลี้ยงดูและมีสิทธิในตัวเด็กแทนมารดา โดยมีข้อกฎหมายผูกผันรองรับ โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ

  • ส่งเข้าสถานสงเคราะห์ถาวร : เด็กจะได้รับการดูแลในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน จนกระทั่งมีผู้มาขอรับเป็นบุตรบุญธรรม กรณีนี้หลังจากยกเด็กให้แล้ว ไม่สามารถขอเด็กคืนกลับมาเลี้ยงดูเองได้เช่นเดียวกับการฝากเลี้ยงชั่วคราว

  • ยกบุตรให้ผู้ต้องการอุปการะเลี้ยงดู : ซึ่งต้องทำตามขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม การไม่ผ่านขั้นตอนที่ถูกต้องเด็กอาจถูกนำไปขายต่อในขบวนการค้ามนุษย์ได้ ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ในการเตรียมเอกสารเพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของเด็กในระยะยาว เพราะแม้จะไม่สามารถเลี้ยงดูเองได้ ก็ขอให้ส่งเด็กไปในที่ๆ ดีและปลอดภัย

การดูแลปัญหาอื่นๆ

  • สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ต่อ หากเป็นกรณีที่เป็นคดี เช่น ถูกใช้ความรุนแรง ถูกล่วงละเมิด เป็นต้น ขอรับบริการเพื่อช่วยสนับสนุนหรือติดตามความคืบหน้าของคดีในกระบวนการยุติธรรม จากหน่วยงานที่ให้การดูแลเรื่องนี้ เช่น ศูนย์พึ่งได้ของโรงพยาบาล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด บ้านพักเด็กและครอบครัว เป็นต้น
  • สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ต่อ หลังจากคลอดแล้วยังอยู่ในภาวะยากลำบาก เช่น ยังพึ่งพาตนเองไม่ได้ ขาดคนดูแล มีปัญหาที่พัก ควรได้รับความช่วยเหลือด้าน “บ้านพักหลังคลอด” ให้ได้พักอาศัย จนกว่าจะมีความพร้อมมากพอในการดูแลตนเอง  หน่วยงานที่ให้บริการเรื่องนี้ได้ คือ บ้านพักเด็กและครอบครัวประจำจังหวัด หรือหน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ ที่ให้บริการในด้านนี้

บ้านพักรอคลอด หลังคลอด

บ้านพักรอคลอด หลังคลอด คือ สถานที่พักพิงเพื่อรอคลอดและพักฟื้นหลังคลอด ผู้หญิงท้องไม่พร้อมที่ตัดสินใจท้องต่อ สามารถเข้าสู่ระบบบริการของบ้านพักรอคลอด เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะได้มีโอกาสทบทวนค้นหาสาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตในอนาคต ได้มีโอกาสประเมินถึงปัจจัยที่จะให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ เช่น ประเมินศักยภาพของตนเองในการเลี้ยงดูลูก ประเมินความพร้อมในการทำหน้าที่แม่เลี้ยงเดี่ยว ประเมินความพร้อมและการยอมรับของครอบครัวและชุมชนที่มีต่อลูก ผ่านการให้คำปรึกษา ทั้งก่อนคลอด และหลังคลอด เพื่อให้หลุดพ้นจากภาวะสับสน และการลงโทษตนเองจากเรื่องที่เกิดขึ้น

นอกจากการให้การปรึกษาแล้วกิจกรรมระหว่างที่ได้เข้าร่วมระหว่างที่พักในบ้านพักเป็นสิ่งสำคัญ เพราะกิจกรรมจะช่วยเสริมคุณค่าในตัวเอง ค้นพบศักยภาพในตนเองที่จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตหลังออกจากบ้านพักได้ดีขึ้น

ปัจจุบัน บ้านพักรอคลอดในประเทศไทยมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งหลายแห่งยังมีประเด็นในด้านคุณภาพของการจัดบริการ สภาพแวดล้อม และกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพ รวมทั้งบุคลากรที่มีทัศนคติที่เข้าใจต่อปัญหา