เพื่อท้องต่อได้อย่างมีคุณภาพ และทำให้การคลอดมีความปลอดภัย ทารกออกมาอย่างสมบูรณ์ การฝากครรภ์มีความสำคัญมาก สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์และเด็กในท้อง โดยแพทย์จะตรวจสุขภาพร่างกายฉีดวัคซีน รับยาบำรุง ติดตามดูความก้าวหน้าของการตั้งครรภ์ พูดคุยถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อดูแลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การฝากครรภ์นี้จะดูแลผู้หญิงไปจนถึงการคลอด เอกสารที่ต้องเตรียมไว้เสนอเมื่อไปฝากครรภ์ คือ บัตรประชาชน และบัตรผู้รับบริการโรงพยาบาลที่ได้จากการไปรับบริการครั้งแรก

ควรมารับบริการตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อตรวจความก้าวหน้าและความผิดปกติของการตั้งครรภ์ โดยให้ปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลเพื่อเตรียมการคลอดที่ปลอดภัย

สามารถใช้สิทธิฝากครรภ์ และคลอดได้ที่โรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนหลักประกันสุขภาพ หรือประกันสังคมได้ การเข้ารับบริการทุกครั้งให้นำบัตรประชาชนติดตัวไว้เพื่อแสดงในการตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล

**กรณีไม่ต้องการฝากครรภ์ หรือคลอดบุตรที่สถานบริการใกล้บ้าน เนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม
การเข้ารับบริการ ให้แยกเป็นการฝากท้องและการคลอด ตามสิทธิที่ตนเองมี ดังนี้**


ฝากท้อง

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

  • สามารถฝากท้องได้ในโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ใดก็ได้

ประกันสังคม

  • สามารถฝากท้องและคลอดที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ โดยนำเอกสารการชำระเงินมาเบิกกับสำนักงานประกันสังคมแบบเหมาจ่าย 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง

 

การคลอด

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

  • ต้องใช้บริการคลอดบุตรที่โรงพยาบาลที่ตนเองมีสิทธิ หากไม่ประสงค์จะคลอดที่นั่นก็สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลได้โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้าน* หากไม่ได้ดำเนินการย้ายสิทธิไปที่โรงพยาบาลที่ต้องการคลอดบุตร ก็สามารถรับบริการโดยชำระค่าบริการเอง

ประกันสังคม

  • สามารถฝากท้องและคลอดบุตรที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ โดยนำเอกสารการชำระเงินมาเบิกกับสำนักงานประกันสังคมแบบเหมาจ่าย 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง**


*
 การย้ายสิทธิ ต้องทราบว่าสิทธิของตัวเองอยู่ที่โรงพยาบาลไหน ทั้งโรงพยาบาลหลัก และโรงพยาบาลรอง (สามารถโทรสอบถามได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 และทำเรื่องขอย้ายสถานบริการที่โรงพยาบาลที่ตนเองฝากครรภ์ได้เลย หลักฐานที่ใช้คือ  1) บัตรประชาชน  และ 2) เอกสารยืนยันการพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เช่น บิลค่าน้ำ บิลค่าไฟฟ้า (ที่เป็นปัจจุบัน) เป็นต้น โดยสามารถใช้สิทธิการย้ายสถานบริการได้ตลอดทั้งปี

**อัตรานี้เริ่มใช้ วันที่ 1 มกราคม 2554 – ปัจจุบัน ทั้งนี้ โรงพยาบาลบางแห่งอาจไม่สามารถปฎิบัติตามแนวทางนี้ได้ เพราะอาจมีผู้ฝากท้องและคลอดบุตรจำนวนมากเกินกำลังของโรงพยาบาล จึงควรสอบถามก่อนเข้ารับบริการทุกครั้ง

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 5 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 1

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้