“การทำแท้ง” หรือ “การยุติการตั้งครรภ์” อยู่คู่กับประวัติศาสตร์มายาวนาน เดิมประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติความผิดฐานทำให้แท้งลูกโดยตรง ต่อมามีการพัฒนาบทบัญญัติลงโทษผู้อื่นที่ทำให้หญิงแท้งลูก แต่ไม่ครอบคลุมการที่หญิงทำให้ตนเองแท้งลูกแต่อย่างใด

เจตนารมณ์ของการมีกฎหมายคือมุ่งเน้นการคุ้มครองชีวิตที่จะเกิดมาเป็นหลัก สภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา กฎหมายจึงได้ยกเว้นเรื่องเหตุผลทางการแพทย์เพื่อสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ ต่อมาเมื่อผู้หญิงตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศเพิ่มขึ้น กฎหมายจึงได้เพิ่มเติมทำแท้งจากความผิดทางเพศด้วย ซึ่งคือสาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้งลูก มาตรา 301-305 ใช้กันมาตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันคือ การที่หญิงตั้งครรภ์มีความจำเป็นหลายด้านที่อาจต้องทำแท้งเนื่องจากปัญหาครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และความคาดหวังต่อชีวิตในอนาคต แต่กฎหมายมีข้อยกเว้นเพียงสองส่วนเท่านั้น ทำให้เกิดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต อันเนื่องมาจากความจำเป็นด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในกฎหมาย

กฎหมายไทย ทำแท้งได้ในกรณีไหนบ้าง ? คลิกที่นี่ : https://rsathai.org/contents/16544

ร่วมติดดาวให้เนื้อหาที่ท่านชื่นชอบ

คลิกที่ดาวเพื่อติดดาวให้เนื้อหานี้

จำนวนดาวเฉลี่ย 4.8 / 5. จากการติดดาวทั้งหมด 20

ยังไม่มีการติดดาวให้กับเนื้อหานี้... เป็นคนแรกติดดาวให้เนื้อหานี้