Webcast Women’s health online ครั้งที่ 5
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ร่วมกับบริษัท MSD (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมให้ความรู้ โดยมีหัวข้อการบรรยาย ดังนี้
(1) สถานการณ์และนโยบายด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ เพื่อการป้องกันควบคุมการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในสตรี วิทยากรโดย นายแพทย์พีระยุทธ สานุกูล ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์...
ข้อจำกัดของ “วงสาธารณะ” : การตัดสินเชิงศีลธรรมและการตีตราประณาม – ท้องไม่พร้อม
ปรากฏการณ์ท้องไม่พร้อมและการเลือกยุติการตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่คนเผชิญสถานการณ์หรือมีประสบการณ์มาก่อนเลือกที่จะไม่พูดถึง หรือเปิดเผยกับคนทั่วไป ทัศนัย ขันตยาภรณ์ กล่าวถึงแนวโน้มของคนที่จะไม่พูดถึงประสบการณ์นี้ว่า
"เรื่องนี้มันเป็นเรื่องไม่พูดกัน...ส่งผลทำให้คนมีโอกาสที่จะแสวงหาองค์ความรู้เรื่องนั้นน้อย เพราะฉะนั้น (คนที่ไม่เคยเชิญสถานการณ์) พูดบนข้อจำกัดของตัวเอง ในส่วนที่ตัวเองรับรู้มา..กรอบหนึ่งมันเป็นกรอบเรื่องของกฎหมาย อย่างที่ว่า ถ้าคนไม่รู้จริงเรื่องกฎหมาย ก็จะคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ผิดหมดเลยเรื่องแบบนี้…ผู้หญิงที่ประสบปัญหาตรงนี้เขาไม่ลุกมาพูด เพราะมันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว จบก็ต้องการให้มันจบ จบแบบไม่มีใครรู้ด้วย.. เลยไม่ได้เกิดการพูดต่อเนื่องไป…ตัวของผู้ที่ประสมปัญหาเองก็ไม่ต้องการที่จะทำให้เป็นเรื่องสาธารณะด้วย ก็ไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นเรียนรู้ชีวิตของคนที่ประสบมาด้วย จะต่างจากเอตส์ (ที่ผู้ติดเชื้อได้นำเสนอหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้คนอื่นๆ ในสังคมได้รับรู้)" *(ทัศนัย ขันยาภรณ์ ,...
Live ท้องไม่พร้อมต้องพร้อมเข้าใจ – นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์
https://www.youtube.com/watch?v=gVUPsRITDgw&t=1s
"ปัญหาทุกปัญหาให้คิดก่อนว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และวิธีที่จะแก้ไขง่ายที่สุดคือการแก้ที่ตัวเอง คนอื่นไม่เข้าใจไม่เป็นไร…ขอให้เข้าใจและทำความเข้าใจตัวเองว่าทำเพื่ออะไร เมื่อเกิดการเข้าใจตัวเองจึงสื่อสารความตั้งใจสู่คนอื่น แม้การที่เราส่งข้อมูลไป เขาอาจเข้าใจ/ไม่เข้าใจ อย่าโกรธคนที่เห็นไม่ตรงกับเรา เพราะเขาอาจมีมุมมอง ทัศนคติ ความเชื่อ ที่ต่างจากเรา"โดย นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี และประธานคณะอนุกรรมการการศึกษา ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=gVUPsRITDgw ท้องไม่พร้อม ต้องพร้อมเข้าใจ การประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคกลาง...
ผู้ใหญ่-เยาวชน ใส่ใจ และลงมือทำ : บทเรียนทำงานป้องกันตั้งครรภ์วัยรุ่นในพื้นที่ (2)
ในส่วนที่สามคือการทำงานของเยาวชน ที่จังหวัดภูเก็ตพบว่า เยาวชนหรือวัยรุ่นที่อยู่ในสถานการณ์การตั้งครรภ์อยากพูดคุยและปรึกษากับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันมากกว่าอยากคุยกับผู้ใหญ่ จังหวัดจึงได้พัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาเรื่องตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยให้แกนนำเยาวชนเป็นที่ปรึกษา หรือช่วยเหลือเพื่อนที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งภายหลังพบว่าแนวทางดังกล่าวช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในพื้นที่ได้จริง
นอกจากนี้ ในการทำงานของสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งมีทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ ได้ให้ความสำคัญและขับเคลื่อนประเด็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นด้วย ดังการทำงานของในสภาเด็กและเยาวชน ต.บางสีทอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ที่เน้นการทำกิจกรรมร่วมกันของเยาวชนในทุกๆ เดือน นำไปสู่การมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ช่วยลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์เพราะมีกิจกรรมร่วมกันสม่ำเสมอ ส่วนที่สภาเด็กและเยาวชน อ.ศรีนครินทร์...
การประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคอีสาน
เมื่อวันที่ 14 – 15 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดการประชุมเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA) ภาคอีสาน ณ โรงแรมริเวอร์ ซิตี้มุกดาหาร โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม
โดยมีเป้าหมายให้การดำเนินงานเครือข่ายอาสา RSA (Referral system...
ผู้ใหญ่-เยาวชน ใส่ใจ และลงมือทำ : บทเรียนทำงานป้องกันตั้งครรภ์วัยรุ่นในพื้นที่ (1)
พระราชบัญญัติป้องกันแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙ มีสาระสำคัญให้กระทรวงหลัก ๕ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกันทำงานแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น โดยมีหลักการอยู่บนฐานของการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีของวัยรุ่น กล่าวคือวัยรุ่นต้องได้รับการปกปิดข้อมูลส่วนตัวและการรับบริการเป็นความลับ สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง ได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ และเข้าถึงการรับบริการโดยมีสวัสดิการของรัฐรองรับ
การประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนการทำงานเรื่องการแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์วัยรุ่น เพราะทำให้หลายๆ หน่วยงานในพื้นที่ เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด...
เปิดรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงในภาวะวิกฤตจากความรุนแรงทางเพศและตั้งครรภ์ไม่พร้อม เพื่อระดมทุนนำรายได้ทั้งหมดเข้ากองทุนช่วยเหลือผู้หญิง
ลิงค์สำหรับ ร่วมบริจาคเพื่อสั่งซื้อเสื้อยืดรณรงค์ RSA ออนไลน์ https://rsathai.org/campaign-aug2019
โครงการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงในภาวะวิกฤด จากความรุนแรงทางเพศและตั้งครรภ์ไม่พร้อมภายใต้เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม
ในช่วง 5 ปีแรกของการดำเนินงานเครือข่ายฯ ส่วนใหญ่เข้าถึงผู้หญิงที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมผ่านศูนย์พึ่งได้ และองค์กรสมาชิกเครือข่ายฯ จำนวนผู้หญิงที่เครือข่ายฯ ให้การสนับสนุนช่วยเหลือจึงมีไม่มากนัก แต่เมื่อมีองค์กรสมาชิกที่เปิดให้บริการสายด่วนเพื่อรับปรึกษาเรื่องท้องไม่พร้อมทางโทรศัพท์เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มทำทาง สายด่วน 1663 และสายด่วน 1300 ช่วยเหลือสังคม ทำให้เครือข่ายฯ ได้รับการประสานเพื่อส่งต่อผู้หญิงท้องไม่พร้อมจำนวนปีละหลายร้อยราย โดยมีผู้หญิงจำนวนหนึ่งอยู่ในภาวะยากลำบาก ยากจน...
เธอถูกยิงด้วยปืนที่ท้อง แต่กลับโดนจำคุก 20 ปี #ผู้หญิงไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการสืบพันธุ์
หลังจากที่ 7 รัฐในอเมริกา ได้ออกฎหมายห้ามมิให้ยุติการตั้งครรภ์ หากตัวอ่อนในครรภ์มีสัญญาณชีพจรที่สามารถตรวจพบได้ (อายุครรภ์ราว 6 สัปดาห์) ก็มีผลการตัดสินคดีที่น่าสนใจหนึ่งในรัฐอลาบามา หนึ่งในรัฐที่เริ่มใช้กฎหมายนี้..
ผู้หญิงอายุ 27 ปี (โจนส์) ตั้งครรภ์ 5 เดือน ถูกยิงด้วยปีนที่ท้อง โดยผู้หญิงอายุ 23 ปี (เจมิสัน) ด้วยเหตุทะเลาะวิวาทกัน โจนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล เธอปลอดภัย...
สปสช. จัดสรรงบเพิ่มยายุติการตั้งครรภ์
“สปสช. จัดสรรงบเพิ่มยายุติการตั้งครรภ์” อ่านแล้วสงสัยไหม? ขอขยายความแบบนี้นะ… ยายุติการตั้งครรภ์ (Medabon) ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2557 และกระจายไปใช้ในโรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนการใช้ยากับกรมอนามัย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานว่า อัตราการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลพบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยลดลง 12 ล้านบาทในปี 2558 และลดต่อเนื่องในปี 2559 ถึง 20 ล้านบาท สรุปคือ...
รู้หรือไม่ .. ประชากรไทยปี 2562 มีจำนวนเท่าไหร่ ?
11 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันประชากรโลก (World Population Day)” ถูกกำหนดขึ้นโดย คณะมนตรีประศาสน์การของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาเมื่อปี 2532 เพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความตระหนักในประเด็นปัญหาของประชากรโลก
แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรในโลกใบนี้ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 3 พันล้านคน ในปี 2504 ขยับเป็น 4 พันล้านคน ในปี 2518 และเพิ่มขึ้น จนมีจำนวนครบ...