คำประกาศเจตนารมย์ การเดินทางอันยาวไกลจากรุ่นสู่รุ่น : พันธกิจที่ต้องสานต่อเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้หญิงท้องไม่พร้อม
(2517 - 2540)
กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว..เราไม่เคยรู้ว่าผู้หญิงคนไหนท้องแล้วไม่มีทางออก แต่สิ่งที่เราพอรับรู้กันได้ คือ มีผู้ทำแท้ง บาดเจ็บ ตกเลือดและสูญเสียชีวิตจำนวนมากและ..ยังมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่ต้องเลี้ยงดูลูกที่เกิดมาด้วยความยากลำบากเพียงลำพัง ผู้คนในสังคมต่างพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า นี่คงเป็นผลแห่งเวรเป็นกรรมที่ทำกันมาในชาติก่อนกระมังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นมาพยายามแก้กฎระเบียบบ้านเมืองนี้ เพื่อให้ผู้หญิงทำแท้งได้ปลอดภัยมากขึ้นแต่...ความพยายามเพื่อรักษาชีวิตของผู้หญิงนั้น กลับคืบหน้าไปได้แค่คืบเท่านั้นเป็นไปได้หรือนี่ ที่ชีวิตผู้หญิงที่ตายจากไปนั้น ช่างไร้คุณค่าความหมายเสียเหลือเกิน..แต่แล้วในวันหนึ่ง...เราปรับแนวทางในการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของผู้หญิงด้วยวาทกรรม “ท้องไม่พร้อม” และ “สิทธิในการตัดสินใจทางเลือก”
(2540-2563)
กาลครั้งหนึ่ง ไม่นานเท่าไร..
การขับเคลื่อนได้มุ่งเป้ามาที่ “สิทธิของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม”สิทธิที่ผู้หญิงควรมีความชอบธรรมในการตัดสินใจด้วยตัวเองการตัดสินใจที่สอดคล้องกับเงื่อนไขและบริบทชีวิตของตนเองเพราะในทุก ๆ สถานการณ์ไม่ได้มีเพียงทางเลือกเดียวเราร่วมกับทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการผลักดันให้ทุกทางเลือกเป็นจริงได้ในสังคมไทยไม่ว่าทางเลือกนั้นจะเป็น “การทำแท้งที่ปลอดภัย”หรือจะเป็น...
การเสวนาและรณรงค์ ชีวิตและสิทธิของหญิงท้องไม่พร้อม : ความสำเร็จและพันธกิจที่ต้องสานต่อ และ การแถลงข่าว ‘ความสำเร็จของโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม’
กรมอนามัย ร่วมกับเครือข่าย วางเป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิตและสิทธิของหญิงท้องไม่พร้อม
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) จัดเสวนาและรณรงค์ชีวิตและสิทธิของหญิงท้องไม่พร้อม เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงท้องไม่พร้อมเข้าถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย
วันนี้ (18 กันยายน 2563) นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานแถลงข่าวความสำเร็จของโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และนายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ...
เสวนาและรณรงค์ (ProVoice#7) ชีวิตและสิทธิของหญิงท้องไม่พร้อม : ความสำเร็จและพันธกิจที่ต้องสานต่อ เนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล เดือนกันยายน 2563
หลักการและเหตุผลโครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม มีเป้าหมายในการพัฒนาเครือข่ายบริการทั้งตั้งครรภ์ต่อและยุติการตั้งครรภ์ให้มีความเข้มแข็ง เข้าถึงได้ ปลอดภัยและเป็นมิตร รวมทั้งการแสวงหาความต่อเนื่องในการดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนในระบบต่อไป โครงการมีวัตถุประสงค์ 4 ข้อคือ 1) พัฒนาความเข้มแข็งและเครือข่ายหน่วยบริการที่ดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ต่อ 2) ขยายบริการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่ปลอดภัยอย่างทั่วถึงด้วยการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของเครือข่าย RSA 3) สร้างความเข้าใจสาธารณะต่อสิทธิในทางเลือกของวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์ การรณรงค์ และเวทีเสวนาต่างๆ 4) จัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและผลักดันข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โครงการได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)...
จดหมายเปิดผนึกถึงประธานคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301-305
จดหมายเปิดผนึกเรื่อง1. ขอให้รับฟังข้อเสนอยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และแก้ไขมาตรา 305 ของภาคประชาสังคม2. ขอคำชี้แจงต่อกรณีปัญหาของระบบรับแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายของเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จนทำให้ประชาชนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ควรขยายเวลาในการรับฟังความเห็นออกไปจนกว่าระบบจะใช้งานได้จริง
เสนอโดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และองค์กรภาคีรวม 61 องค์กรและประชาชนผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนรวม 20,695 รายชื่อ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563
จดหมายเปิดผนึกถึงกฤษฎีกา_ปรับแก้-6-กย.63ดาวน์โหลด
ถึงเวลาถอดบทเรียนเครือข่ายท้องไม่พร้อมฯ (Choices) และเครือข่าย RSA
ชวนรับชมย้อนหลัง Live : ถึงเวลาถอดบทเรียนเครือข่ายท้องไม่พร้อมฯ (Choices) และเครือข่าย RSA วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 12.30 น. เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนเครือข่ายบริการทางเลือกท้องไม่พร้อมเพื่อการตั้งครรภ์ต่ออย่างมีคุณภาพและการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย จัดโดยเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ถ่ายทอดสดจากโรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพฯ
กำหนดการ
กล่าวต้อนรับและแนะนำตัว และรายงานผลการเคลื่อนไหวสำคัญๆในรอบ 2...
Webcast Women’s health online ครั้งที่ 6
https://www.youtube.com/watch?v=9RFyx16-CII&feature=youtu.be
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ร่วมกับบริษัท MSD (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมให้ความรู้ Webcast Women’s health online ครั้งที่ 6
โดยมีหัวข้อการบรรยาย ดังนี้
1) บรรยายพิเศษ : สถานการ์ณมาตรการและแนวทางการในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย นพ.พีรยุทธ สานุกูล ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย...
การทำแท้งในสังคม หลักคิดและปัญหาทางกฎหมาย โดย นายแพทย์นิธิวัชร์ แสงเรือง
https://youtu.be/8zMDq6qz_po
การทำแท้งในสังคม หลักคิดและปัญหาทางกฎหมาย ? โดย นายแพทย์นิธิวัชร์ แสงเรือง เครือข่ายอาสารับส่งต่อเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (RSA : Referral System for Safe Abortion) : สภากาแฟเวทีชาวบ้าน (ช่วงที่ 2) ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563
ที่มา คลิป /ภาพประกอบ...
5 ข้อเรียกร้อง เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ในช่วงโควิด-19
วันนี้ ศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2563 เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม (ไทยและต่างประเทศ) 55 องค์กร และผู้ร่วมลงช่ือสนับสนุนในเว็บไซต์ Change.org และลงช่ือกับกลุ่มทำทางรวม 569 รายช่ือ ยื่นหนังสือข้อเรียกร้อง ต่อกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ขอให้พิจารณาออกมาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการให้บริการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ซึ่งเป็นบริการสุขภาพที่มีความสำคัญ และจำเป็นบริการหนึ่งซึ่งไม่สามารถจะหยุดดำเนินการ หรือชะลอการดำเนินการได้ โดยสถานบริการสุขภาพ...
3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำแท้ง ยุติการตั้งครรภ์
จากการเสวนาเชิงนโยบาย “ผ่าทางตันกฎหมายทำแท้งไทย!: การทำแท้งมิใช่ความอาญา แต่คือบริการสุขภาพ!” จัดโดย โครงการพัฒนาเครือข่ายบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร สำหรับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ร่วมกับ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ ห้องสานใจ ชั้น 6 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา...
มิติ 3 ด้านที่น่ากลัว เศรษฐกิจ ท้องไม่พร้อม คุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจ : ข้อมูลล่าสุด!! จากข้อมูลสรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (เดือน มีนาคม พ.ศ. 2563) โดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่า จากการรวบรวมข้อมูล 1-12 มีนาคม พ.ศ. 2563 ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 56.77 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 38.21...