กฎหมายอาญามาตรา 301 กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิง
กฎหมายอาญามาตรา 301 "หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" เป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นธรรมกับผู้หญิงเลย เพราะว่า กฎหมายนี้ เอาผิดกับผู้หญิงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่การท้องได้ต้องเกิดจากผู้หญิงและชายร่วมกัน กฎหมายนี้ ส่งผลให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมต้องหลบซ่อนไม่กล้าปรึกษาขอความช่วยเหลือ แล้วอาจไปลงเอยที่การทำแท้งเถื่อน กฎหมายนี้ ซ้ำเติมผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์ ช่วงที่ชีวิตเปราะบางและอ่อนแอที่สุดให้เลวร้ายลงไปอีก
เรื่องจริงของความไม่ยุติธรรมนั้น คลิกอ่านได้ที่นี่ เรื่องของดา : https://rsathai.org/contents/13887เรื่องของพร : https://rsathai.org/contents/13838เรื่องของหนู : https://rsathai.org/contents/13912ขอบคุณเรื่องจากชีวิตจริงที่ทำให้สังคมออนไลน์ตื่นขึ้นจากความไม่เท่าเทียม
เครือข่ายอาสา RSA เครือข่ายท้องไม่พร้อม ชวนร่วม #BalanceforBetter เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2562
นานาชาติกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล ประเด็นหลักในการรณรงค์ปีนี้คือ #BalanceforBetter “สร้างสมดุลหญิงชายเพื่อก้าวไกล” การรณรงค์ในบางประเทศ เช่น แคนาดา มีการปรับคำให้ชัดเจนขึ้นโดยใช้คำว่า Getting to Equal คือ ให้มีความเท่าเทียมระหว่างหญิงชายในทุกมิติ สำหรับประเทศไทย เครือข่ายอาสา RSA และ เครือข่ายท้องไม่พร้อม ร่วมกันเรียกร้องให้มี#BalanceforBetter เนื่องในวันสตรีสากล...
โครงการตลาดนัดสุขภาวะเยาวชน “การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จังหวัดตาก
โครงการตลาดนัดสุขภาวะเยวชน “การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จังหวัดตาก
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก จัดโครงการตลาดนัดสุขภาวะเยาวชน “การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จังหวัดตาก โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ หอประชุมกาญจนาภิเษก (ชั้น 2) โรงเรียนตากพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดตาก เพื่อสร้างกระแสสื่อสารด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่่น และส่งเสริมให้วัยรุ่นได้แสดงศักยภาพความรู้ความสามารถ การมีส่วนร่วมของวัยรุ่นในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
โดยได้รับเกียรติจาก นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์...
ชวนวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยเรื่องการทำแท้ง
ชวนวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยเรื่องการทำแท้ง มาตรา 302 จากเรื่องจริง
กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องการทำแท้ง มาตรา 302 กล่าวว่า ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ มาวิเคราะห์กฎหมายข้อนี้จากเรื่องจริง...
สา (ชื่อสมมุติ) อายุ 24 ปี ตั้งท้องกับแฟนที่เลิกกันไปแล้ว เพราะแฟนใช้สารเสพติดและทำร้ายร่างกาย สาทนไม่ไหวจึงตัดสินใจหนีจากมา หลังจากนั้นก็ขาดการติดต่อกันไปเลย สาเคยมีลูกแล้ว...
“..ไม่อยากให้แม่กับยายต้องลำบาก..” เรื่องจริงของหนู
หนู (ชื่อสมมุติ) กำลังเรียน ปวช. ปีสุดท้าย เหลือฝึกงานก็จะเรียนจบแล้ว หนูมีแฟนหนุ่มที่คบกันมาสองปี เมื่อตรวจปัสสาวะพบว่าตัวเองท้องจึงปรึกษาแฟน แต่เค้าก็ดูเหมือนไม่รับผิดชอบ หลังจากนั้นก็ติดต่อไม่ได้เพราะบล็อกไลน์ บล็อกโทรศัพท์ แม้แต่ทางเฟซบุ๊กก็ปิด เมื่อเป็นเช่นนี้หนูก็เลยคิดถึงการไม่ท้องต่อเพราะว่าเมนส์ไม่มาแค่เดือนเดียว หนูอยากเรียนให้จบไม่อยากให้แม่ผิดหวัง ถ้าท้องต่อตัวเองและแม่คงต้องลำบาก ชีวิตของหนูอาศัยอยู่กับแม่และยาย พ่อกับแม่แยกทางกันตั้งแต่เล็ก อาชีพของแม่คือทำนา ยายแก่แล้วช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ฐานะทางบ้านจึงยากจน หนูต้องทำงานพิเศษหาเงินไปด้วยระหว่างเรียน การไม่ท้องต่อจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด...
การตัดสินใจทำแท้ง ทำให้หนูเสี่ยงกับความผิดทางอาญามาตรา 301...
ความเป็นธรรมของกฎหมายอยู่ที่ไหน ?
การทำแท้งในประเทศไทยเป็นหนึ่งในบริการสุขภาพที่อยู่ภายใต้กฎหมายอาญา ในขณะที่ 74 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งจีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป การทำแท้งในประเทศไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 - 305 อธิบายโดยย่อให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ได้ดังต่อไปนี้
มาตรา 301 ผู้หญิงทำให้ตัวเองหรือให้คนอื่นทำให้แท้ง จะติดคุกถึงสามปี และ/หรือปรับถึงหกหมื่นบาท มาตรา 302 ใครไปทำให้แท้งโดยผู้หญิงยินยอม...
ทำไมต้องแก้กฎหมายเกี่ยวกับทำแท้ง ?
มาทำความเข้าใจกันก่อนนะ คือในโลกนี้มี 74 ประเทศที่การทำแท้งเป็นบริการสุขภาพ เหมือนการรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไป จึงไม่ต้องมีกฎหมายใดๆ มารองรับ ส่วนใหญ่คือประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจคือ จีน มองโกเลีย เนปาล เวียดนาม และกัมพูชา ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ส่วนไทยไม่ใช่หนึ่งในนั้นแน่นอน
เดิมบ้านเราก็ไม่มีกฎหมายทำแท้งนะ ผู้หญิงไทยแต่โบราณทำแท้งได้โดยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ ประมาณว่า การตัดสินใจว่าจะท้องต่อหรือไม่ท้องต่อนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่พอประเทศเรามาเริ่มพัฒนากฎหมายเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน ก็เลยเขียนกฎหมายนี้ตามประเทศเยอรมัน ให้การทำแท้งผิดกฎหมายอาญาทุกกรณี...
Webcast Women’s health online ครั้งที่ 2
บันทึกการบรรยายเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ถ่ายทอดสดจากห้องประชุมนรพัฒน์ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เวลา 12.00 - 13.00 น.
โดยมีหัวข้อการบรรยาย ดังนี้1. บรรยายกฏกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2562 โดย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย
2. Contraceptive management in women...
หมอประสานเสียง วอนเปลี่ยนมุมคิด ท้องไม่พร้อมมีสิทธิทำแท้ง
หมอสูติฯ-หมอเด็ก ประสานเสียงขอสังคมเปลี่ยนมุมคิด หญิงท้องไม่พร้อมคือผู้ป่วย ขอแพทย์-รพ.เปิดทางเลือก เข้าถึงการยุติครรภ์ที่ปลอดภัย กฎหมายเอื้อทำตามข้อบ่งชี้ไม่ผิด สถิติชี้หญิงทำแท้งเถื่อนสุดอันตราย อัตราตาย 300 คน ต่อแสนประชากร ด้าน สสส. หนุนการเข้าถึงบริการทางเลือกที่ปลอดภัยและเป็นมิตร โดยเครือข่ายอาสาส่งต่อยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย
นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวในการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 3...
การคุมกำเนิดกึ่งถาวร : สิทธิที่ยังเข้าไม่ถึง ? และอะไรคือช่องว่างที่ต้องการพัฒนา
ในขณะที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการคุมกำเนิด โดยพบว่า อัตราการเจริญพันธุ์รวมของสตรีไทย มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2561 เฉลี่ยสตรี 1 คน มีบุตร 1.5 คน แต่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยยังพบปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ร้อยละ 10.8 ในปี 2560 การช่วยชะลอการตั้งครรภ์ และลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นจะได้ผลดีนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอว่าควรให้วัยรุ่นคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด แต่การเข้าถึงยาคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรยังมีข้อจำกัด
วัยรุ่นไม่ทราบสิทธิ์ตนเอง...